AH ฟอร์มดีงบปี 2565 ทำนิวไฮทั้งรายได้และกำไร รายได้ 28,348 ล้านบาท กำไรหลักสุทธิ 1,761 ล้านบาท โต 119% หลังธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์-โชว์รูมรถยนต์โตดี ยอดขายพุ่ง ชูบริษัทลูกโปรตุเกส พลิกมีกำไรแล้ว พร้อมรับผลบวกเต็มในปีนี้ ส่องแนวโน้มไตรมาส 1 รับไฮซีซั่นออเดอร์เพิ่ม ตั้งเป้ารายได้รวมปี 2566 โตต่อ 10-15% แตะ 31,000 ล้านบาท บอร์ดไฟเขียวจ่ายปันผลอัตราหุ้นละ 0.96 บาท สำหรับผลประกอบการงวด 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2565
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และศูนย์บริการหลังการขาย และธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ และ IoT (Internet of Things) เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,824 ล้านบาท เติบโต 78% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 1,024 ล้านบาท และมีรายได้รวมอยู่ที่ 28,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,381 ล้านบาท เติบโต 35% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีรายได้ 20,967 ล้านบาท ส่วนกำไรหลักสุทธิอยู่ที่ 1,761 ล้านบาท เติบโต 119% จากปีก่อน
ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 4/2565 บริษัทมีรายได้รวม 7,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,029 ล้านบาท หรือเติบโต 35% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 5,849 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 411 ล้านบาท หรือเติบโต 220% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำไว้ 129 ล้านบาท
ทั้งนี้ผลประกอบการทั้งปี 2565 ที่เติบโตอย่างโดดเด่นทำนิวไฮทั้งรายได้และกำไร มีปัจจัยสนับสนุนมาจากยอดสั่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใหม่ (OEM) เพิ่มมากขึ้น ตามสถานการณ์ขาดแคลนชิปที่คลี่คลายลง และค่ายรถยนต์และรถอเนกประสงค์ เริ่มทยอยเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV Car) ควบคู่กับการเปิดตัวรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ประกอบกับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีตามอุตสาหกรรมยานยนต์ และภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวรอบใหม่
โดยเห็นได้จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2566 อยู่ที่ 1,950,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% จากปี 2565 ที่ผลิตได้ 1,883,515 คัน แบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออก 1,050,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อนอยู่ที่ 1,037,317 คัน และเป็นยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 6.4% จากปีก่อนอยู่ที่ 846,198 คัน เนื่องจากปัจจัยบวกจากการส่งออก จีนเปิดประเทศ ทำให้การค้าและท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงไทยจะฟื้นตัว ปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เริ่มคลี่คลาย และเศรษฐกิจไทยยังเติบโตระดับ 3%
ด้านธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทยยังขยายตัวได้ดี จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และรายได้จากโชว์รูมใหม่มีการรับรู้รายได้เต็มปีในปี 2566 นี้ ประกอบกับการเปิดตัวโชว์รูมรถยนต์ PROTON ที่มาเลเซียในไตรมาส 4/2565 จึงทำให้คาดว่ายอดขายในมาเลเซียสำหรับปี 2566 นี้ ยังคงเติบโตจากปี 2565 ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันบริษัทย่อยที่โปรตุเกส ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วน ได้ผ่านจุดคุ้มทุนในไตรมาส 3/2565 ซึ่งพลิกกลับมามีกำไรตั้งแต่ไตรมาส 4/2565 และจะรับผลบวกเต็มในปี 2566 หลังจากบริษัทปรับราคาขาย และมีรายได้เพิ่มจากการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ ชิ้นส่วนที่ใช้ในธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม ชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์กีฬา รวมถึงชิ้นส่วนสำหรับรางรถไฟ เป็นต้น ทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายเย็บ ซู ชวน กล่าวต่อว่า แนวโน้มภาพรวมธุรกิจในไตรมาส 1/2566 เป็นไฮซีซั่นของปีตามปกติ เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นมีการปิดงวดงบการเงินในเดือนมีนาคม ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทมองว่ารายได้รวมทั้งปี 2566 จะทำนิวไฮต่อเนื่องและเติบโตดีที่สุด โดยตั้งเป้าเติบโต 10-15% จากปี 2565 มาอยู่ที่ระดับ 31,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการได้คำสั่งซื้อใหม่เป็นโมเดล Global Market และธุรกิจ OEM ในประเทศถือเป็นช่วงเปลี่ยนโมเดลสำหรับรถกระบะใหม่ รวมถึงกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ของบริษัท ด้วยวิธีการปรับตัวและแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมองหาโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.96 บาท โดยคิดเป็นการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ที่ 1.54 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) วันที่ 15 มีนาคม 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 อย่างไรก็ดี การจ่ายเงินปันผลจะต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566
นายเย็บ ซู ชวน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาปิโก ไฮเทค จำกัด (มหาชน) หรือ AH ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ธุรกิจตัวแทนจำหน่ายรถยนต์และศูนย์บริการหลังการขาย และธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ และ IoT (Internet of Things) เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 1,824 ล้านบาท เติบโต 78% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิ 1,024 ล้านบาท และมีรายได้รวมอยู่ที่ 28,348 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7,381 ล้านบาท เติบโต 35% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่มีรายได้ 20,967 ล้านบาท ส่วนกำไรหลักสุทธิอยู่ที่ 1,761 ล้านบาท เติบโต 119% จากปีก่อน
ขณะที่ผลประกอบการไตรมาส 4/2565 บริษัทมีรายได้รวม 7,878 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,029 ล้านบาท หรือเติบโต 35% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ที่มีรายได้รวมอยู่ที่ 5,849 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 411 ล้านบาท หรือเติบโต 220% จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ทำไว้ 129 ล้านบาท
ทั้งนี้ผลประกอบการทั้งปี 2565 ที่เติบโตอย่างโดดเด่นทำนิวไฮทั้งรายได้และกำไร มีปัจจัยสนับสนุนมาจากยอดสั่งผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ใหม่ (OEM) เพิ่มมากขึ้น ตามสถานการณ์ขาดแคลนชิปที่คลี่คลายลง และค่ายรถยนต์และรถอเนกประสงค์ เริ่มทยอยเปิดตัวรถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV Car) ควบคู่กับการเปิดตัวรถยนต์เครื่องยนต์สันดาป ประกอบกับธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์มีแนวโน้มที่ดีตามอุตสาหกรรมยานยนต์ และภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัวรอบใหม่
โดยเห็นได้จากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประมาณการยอดผลิตรถยนต์ปี 2566 อยู่ที่ 1,950,000 คัน เพิ่มขึ้น 3.5% จากปี 2565 ที่ผลิตได้ 1,883,515 คัน แบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออก 1,050,000 คัน เพิ่มขึ้น 1.2% จากปีก่อนอยู่ที่ 1,037,317 คัน และเป็นยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 900,000 คัน เพิ่มขึ้น 6.4% จากปีก่อนอยู่ที่ 846,198 คัน เนื่องจากปัจจัยบวกจากการส่งออก จีนเปิดประเทศ ทำให้การค้าและท่องเที่ยวทั่วโลก รวมถึงไทยจะฟื้นตัว ปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) เริ่มคลี่คลาย และเศรษฐกิจไทยยังเติบโตระดับ 3%
ด้านธุรกิจตัวแทนจำหน่ายและศูนย์บริการรถยนต์ในประเทศไทยยังขยายตัวได้ดี จากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และรายได้จากโชว์รูมใหม่มีการรับรู้รายได้เต็มปีในปี 2566 นี้ ประกอบกับการเปิดตัวโชว์รูมรถยนต์ PROTON ที่มาเลเซียในไตรมาส 4/2565 จึงทำให้คาดว่ายอดขายในมาเลเซียสำหรับปี 2566 นี้ ยังคงเติบโตจากปี 2565 ที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันบริษัทย่อยที่โปรตุเกส ดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วน ได้ผ่านจุดคุ้มทุนในไตรมาส 3/2565 ซึ่งพลิกกลับมามีกำไรตั้งแต่ไตรมาส 4/2565 และจะรับผลบวกเต็มในปี 2566 หลังจากบริษัทปรับราคาขาย และมีรายได้เพิ่มจากการกระจายผลิตภัณฑ์ไปยังธุรกิจที่นอกเหนือจากธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ได้แก่ ชิ้นส่วนที่ใช้ในธุรกิจโซลาร์ฟาร์ม ชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์กีฬา รวมถึงชิ้นส่วนสำหรับรางรถไฟ เป็นต้น ทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นายเย็บ ซู ชวน กล่าวต่อว่า แนวโน้มภาพรวมธุรกิจในไตรมาส 1/2566 เป็นไฮซีซั่นของปีตามปกติ เนื่องจากผู้ประกอบการรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นมีการปิดงวดงบการเงินในเดือนมีนาคม ทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัทมองว่ารายได้รวมทั้งปี 2566 จะทำนิวไฮต่อเนื่องและเติบโตดีที่สุด โดยตั้งเป้าเติบโต 10-15% จากปี 2565 มาอยู่ที่ระดับ 31,000 ล้านบาท ซึ่งเติบโตมากกว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ จากการได้คำสั่งซื้อใหม่เป็นโมเดล Global Market และธุรกิจ OEM ในประเทศถือเป็นช่วงเปลี่ยนโมเดลสำหรับรถกระบะใหม่ รวมถึงกลยุทธ์เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานท่ามกลางวิกฤตต่างๆ ของบริษัท ด้วยวิธีการปรับตัวและแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งมองหาโอกาสเพื่อต่อยอดธุรกิจอยู่เสมอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติจ่ายเงินปันผลเป็นเงินสด สำหรับผลการดำเนินงานระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.96 บาท โดยคิดเป็นการจ่ายเงินปันผลสำหรับปี 2565 ที่ 1.54 บาทต่อหุ้น โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) วันที่ 15 มีนาคม 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 อย่างไรก็ดี การจ่ายเงินปันผลจะต้องผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566