รายย่อยรวมตัวร้องผู้บัญชาการสอบสวนกลางและ บก.ปอศ. ตรวจสอบผู้บริหาร ACAP ส่อทุจริต
นักลงทุนหุ้นกู้ ACAP รวมตัวร้องผู้บัญชาการสอบสวนกลาง และบก.ปอศ. ตรวจสอบบริษัท เอเชีย แคปปิ ตอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) หรือ ACAP ส่อทุจริต ทํานักลงทุนเสียหาย หลังยื่นแผนฟื้นฟูกิจการจ่ายคืนหนี้ลงทุน 40% เรียกร้องหน่วยงานทีเกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบธรรมาภิบาล
วันที่ 2 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา นักลงทุนรายย่อย ผู้ถือหุ้นกู้บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (ACAP) จำนวนกว่า 20 ราย ได้รวมตัวกันยื่นคําร้องต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ให้ตรวจสอบการบริหารกิจการ จริยธรรมในการประกอบกิจการ และตรวจสอบความทุจริตในการประกอบกิจการของบริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) หรือ ACAP ที่เตรียมยื่นแผนฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ในวันที่ 18 กันยายน 2567 ซึ่งแผนดังกล่าวมีความไม่โปร่งใส และมีเจตนาไม่สุจริตในการคืนหนี้นักลงทุนบางส่วน 40%
“วันนี้มีนักลงทุนบางส่วน ได้คืนหนี้ไปแล้ว 40% การตัดสินใจรับผลตอบแทนจากการได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วน ถือเป็นผู้เสียหายอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ผู้มีอํานาจจะต้องเข้าไปตรวจสอบ หากไม่ช่วยกันแก้ไขปัญหาจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ที่จะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและทําลายระบบเศรษฐกิจของประเทศ” นครินทร์ วงแหวน ทนายความผู้รับมอบอํานาจจากผู้ถือหุ้นกู้ ACAP ระบุ
นายนัฎฐกร วรธรรมทองดี นักลงทุนหุ้นกู้ ACAP กล่าวว่า วันนี้รู้สึกเสียความรู้สึกมากกับ ACAP ซึ่งเราซื้อหุ้นกู้เพื่อจะได้รับผลตอบแทน 5 -6% ซึ่งไม่ได้สูงมาก แต่กลับมาเจอผู้บริหารที่ไม่มีความโปร่งใส ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ทําให้นักลงทุนเสียหายอยากให้หน่วยงานอย่าง ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ฯ รวมถึงเจ้าหน้าที่ตํารวจเข้ามาตรวจสอบ เพื่อให้ความเป็นธรรมกับนักลงทุน
ทั้งนี้ บริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) (ACAP) เข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการ โดยบริษัทลูก แคปปิตอล โอเค ได้เข้ามาซื้อหนี้ผู้ถือหุ้น โดยจ่ายคืนหนี้ในสัดส่วนเพียง 40% รวมทั้งแผนฟื้นฟูกิจการ ยังมีความไม่ชอบมาพากล และมีข้อพิรุธหลายจุด ดังนี้
-
การชําระหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการ สําหรับเจ้าหนี้กลุ่ม 2 คือเจ้าหนี้หุ้นกู้ จะถูกชําระภายใน 8 ปี ขณะที่แผนฟื้นฟูกิจการมีระยะเวลาดําเนินการ 5 ปี ซึ่งผลสําเร็จของแผนไม่ได้อยู่ที่การชําระหนี้คืนให้แก่เจ้าหนี้ครบทุกราย แต่อยู่ที่การทําให้สถานะของบริษัทสามารถดําเนินธุรกิจต่อได้ ไม่สามารถการันตีได้ว่าเจ้าหนี้จะได้หนี้คืนจนครบ
-
กรณีผิดนัดชําระหนี้ บริษัทฯสามารถแก้ไขเหตุผิดนัดได้ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่เกิดเหตุผิดนัดและให้ถือว่าบริษัทมิได้ผิดนัด
-
นอกจากนี้ ยังมีการโอนสิทธิการเช่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่เป็นCommunity Mall อ่อนนุช ให้กับบริษัท โอเค แคส จํากัด ซึ่งเป็นในเครือและพวกพ้อง ทั้งที่ควรเป็นหลักทรัพย์คํ้าประกันที่ควรจะอยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการ เพื่อนํารายได้มาเฉลี่ยชําระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ได้
-
กรณี ACAP ยังให้บริษัทลูก แคปปิตอล โอเค และพวกไปซื้อหนี้จากเจ้าหนี้หุ้นกู้และรายย่อยที่ถือหุ้นกู้ ราคา 40% ของเงินต้นที่ลงทุน ไม่รวมดอกเบี้ยและนําไปขอรับชําระหนี้จากเจ้าหน้าที่พิทักษ์ทรัพย์เต็มมูลหนี้ 100% พร้อมดอกเบี้ย ทําให้ผู้ถือหุ้นกู้เสียเปรียบ เป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นกู้รายย่อย
“เราอยากเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบกรรมการและผู้บริหารบริษัท เอเชีย แคปปิตอล กรุ๊ป จํากัด (มหาชน) ทั้งในด้านการบริหารกิจการ จริยธรรมในการประกอบกิจการ และตรวจสอบความทุจริตที่เกิดขึ้น เนื่องจากพบว่ากรรมการและผู้บริหารมีเจตนาไม่สุจริตในการแก้ปัญหาหนี้ และซื้อหนี้ เอื้อผลประโยชน์ ให้กับพวกพ้องและบริษัทในเครือ ทําให้นักลงทุนเสียประโยชน์ หากนักลงทุนท่านใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีนี้ ให้ติดต่อมาที่บริษัทจีไนน์ หรือโบรกเกอร์ที่ท่านเป็นลูกค้าอยู่ได้เลย” นครินทร์กล่าว
ACAP เป็นอีกหนึ่งคดีที่สร้างความเสียหายให้กับนักลงทุนรายย่อย หลังพบพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบของผู้บริหารในช่วงระหว่างปี 2561 – 2562 ส่งผลให้สํานักงานคณะกรรมการกํากับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษอดีตกรรมการและผู้บริหาร พร้อมพวกรวม 6 รายในกรณีทุจริต สร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะการผิดนัดชําระหนี้หุ้นกู้รวม 7 รุ่น รวมเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดมูลค่ารวมกว่า 4,000 ล้านบาท
ทั้งนี้นักลงทุนและประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน ถูกเอาเปรียบจากการทุจริตและฉ้อฉลครั้งนี้ มั่นใจได้รับการปกป้องคุ้มครองดูแลจากผู้บัญชาการสอบสวนกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเร็ว