เกาะติดสถานการณ์การลงทุนประจำเดือนกันยายน 2567 เมื่อปัจจัยการเมืองผ่อนคลาย นักวิเคราะห์แนะติดตามนโยบายรัฐบาล รวมทั้งเสถียรภาพรัฐบาลมากขึ้น แต่การลงทุนในเดือนนี้จะมีกลยุทธ์อย่างไร บทความนี้มีคำตอบแล้ว
โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความเห็นว่า คาดตลาดหุ้นไทยเดือน ก.ย. น่าจะเริ่มมี Upside ที่เริ่มจำกัด แม้จะมีความคาดหวังเชิงบวกต่อเนื่องช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่คาดว่าจะเผชิญแรงขายทำกำไร sell on fact การปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และ ECB รวมทั้งการเมืองในประเทศที่จะกลับมาให้น้ำหนักความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายและเสถียรภาพรัฐบาลมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มตลาดน่าจะยังอยู่บนความคาดหวังเชิงบวกทั้งจากปัจจัย 1.ภายในประเทศ ที่รัฐบาลใหม่มีกำหนดแถลงนโยบายวันที่ 11 ก.ย. และประชุม ครม. ครั้งแรกในวันที่ 17 ก.ย.
และ 2.ต่างประเทศ ทิศทางดอกเบี้ยโลกน่าจะเข้าสู่วรจรขาลงอย่างเป็นทางการ โดย Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 0.25% ในการประชุม 18-19 ก.ย. ส่วน ECB จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สองอีก 0.25% ในการประชุม 12 ก.ย. นี้
อย่างไรก็ตามทิศทางตลาดหลังจากนั้นน่าจะเริ่มมี Upside ที่จำกัดจากทั้ง 1. แรงขายทำกำไร sell on fact และ 2.มุมมองตลาดที่จะหันมาให้น้ำหนักด้านความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายและเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่มากขึ้น ดังนั้น การเลือกหุ้นเชิงกลยุทธ์จึงมองไปที่หุ้นที่ราคายัง Laggard ในขณะเดียวกันมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว
หุ้น Top Picks เดือนกันยายน BCP ( เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 62.00 บาท) ปี 68-70 ได้แรงหนุนหลักจากเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) จะสร้างกำไร 2.6-4.1 พันล้านาทต่อปี หรือคิดเป็น 20-30% ส่วนกำไรครึ่งปีหลัง 67 คาดว่าฟื้นตัวตาม GRM ที่ปรับตัวดีขึ้นตามผลของฤดูกาล ขณะที่ราคา Crude Premium ลดลงจะช่วยหนุนต่ออัตราทำกำไรดีขึ้น
BBIK (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 46.00 บาท) คาดกำไรหลักปี 67-69 เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 28% จากส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้เปรียบด้านต้นทุนและตลาดซอฟต์แวร์องค์กรในประเทศยังมีขนาดเล็ก
ขณะที่การเซ็นสัญญาโครงการใน มิ.ย. 67 ทำให้ backlog ณ สิ้นไตรมาส 2/67 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 905 ล้านบาท โดย 506 ล้านบาทจะรับรู้เป็นรายได้ครึ่งปีหลัง 67 ขณะที่การชนะประมูลโครงการยังแข็งแกร่งในเดือน ก.ค-ส.ค. คาดกำไรหลักไตรมาส 3/67 ที่ 83 ล้านบาท เติบโต 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโต 83% จากไตรมาสก่อน
SAK ( เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 6.50 บาท) คาดกำไรหลัก 67 จะเติบโต 14% จากปีก่อน โดยรายได้เติบโต ผสานการควบคุมต้นทุนที่ดี ยังมีโอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยฯในปีนี้ ซึ่ง SAK จะได้ประโยชน์จากสัดส่วนที่สูงถึง 95% ของเงินกู้มาจากการกู้ยืมธนาคารซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย (ทุกๆ 0.25% ที่ปรับลดดอกเบี้ยฯ จะเป็น Upside ต่อประมาณการ 2% ในปี 67/68)
เปิด 3 ปัจจัยกดดันหุ้นไทย
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มีความเห็นว่า ภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายน ประเมิน SET Index มีโอกาสผันผวนอิงทางลง โดยเฉพาะในชวงครึ่งเดือนหลัง เนื่องมาจาก 3 สาเหตุหลัก 1.การหมดช่วงข่าวดีทางการเมืองภายในระยะสั้น โดยหลังจากที่เริมเห็นความชดเจนเกี่ยวกับโผครม.ชุดใหม่แล้ว
โดยมองว่าข่าวดีทางการเมืองสุดท้ายที่รออยู่น่าจะเป็นการแถลงนโยบายของท่านนายกฯ ต่อสภา ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 15 ก.ย.นี้ เมื่อถึงตรงนั้น มองว่านักลงทุนในตลาดจะเลือกหันมาพิจารณาภาพความเป็นจริงหรือพื้นฐานกําไรของบจ.กันมากขึ้น ซึ่งล่าสุดยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นแต่อย่างใด
2.ความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นจากการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 ก.ย. ไม่ว่าการลดดอกเบี้ยจะลงเอยที่ระดับไหน หากลด 0.25% ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว และอาจทำให้นักลงทุนบางสวนไม่สบายใจว่า Fed อาจลดน้อยเกินไปในสภาวะที่เศรษฐกิจมี่ความเสี่ยงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน หากลด 0.50% ก็จะทำให้นักลงทุน บางสวนกังวลว่า Fed อาจเห็นสัญญาณความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ประเด็น Recession fear กลับเข้ามามีน้ำหนักอีกครั้ง
ทั้งนี้คาดว่า Fed จะเริ่มต้นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% ไปก่อน ซึ่งอาจทำให้เงิน USD ปรับตัวรีบาวด์ ขึ้น จนส่งผลให้ USD carry trade ที่เกิดขึ้นในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ยุติลงชั่วคราว
3.แรงขายของนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นปกติในเดือนกันยายนของทุกปี โดยอาจเป็นการเตรียมเงินสดเพื่อรองรับการไถ่ถอนของกองทุนสำรองเลียงชีพต่างๆ
อย่างไรก็ดี หากในเดือนนี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนรอบใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ อาจจะพอเป็นตัวช่วยประคับประคอง Sentiment ในตลาดหุ้นไทยเอาไว้ได้บ้าง
โดยประเมินกรอบแนวต้านเดือนกันยายนที่ 1,370 และ 1,400 จุด ส่วนแนวรับประเมินที่ 1,320 และ 1,290 จุด ในเชิงกลยุทธ์ แนะนํา Wait & See และรอจังหวะการซื้อหุ้นกลับรอบใหม่ที่บริเวณแนวรับที่ให้ไว้
สำหรับกลุ่มหุ้นทีน่าสนใจประจำเดือนนี้ ได้แก่ 1.กลุ่มสงออกที่มียอดการส่งออกในเดือนล่าสุดออกมาในเกณฑ์ดี และราคาปรับฐานลงมาในระดับหนึ่งแล้ว ได้แก่ GFPT, AAI, ITC, COCOCO, KCE 2.กลุ่มหุ้นบริการทีเตรียมเข้าสู่ High season เลือก BH, MINT
SET มักจะปรับตัวขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลง
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ประเมิน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. 2567 ในขณะที่ ธปท. ส่งสัญญาณเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับการลดดอกเบี้ยในอนาคต การศึกษาพบว่า SET มักจะปรับตัวขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลง
ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยได้รับการแก้ไข หลังการเลือก “แพทองธาร ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจของตลาดและความคาดหวังเกี่ยวกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะมาถึงจาก ครม. ใหม่ มาตรการ Digital Wallet 10,000 บาทจะเริ่มอัดฉีดเงินให้แก่กลุ่ม เปราะบางและผู้พิการ 14.5 ล้านรายเป็นเงินสดก่อนซึ่งเร็วกว่าแผนเดิม อาจเป็น Upside ต่อ GDP ในช่วงไตรมาส 4/67-ปี 2568
นอกจากนี้ GDP ของไทยและกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/67 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวได้ตามคาด น่าจะช่วยจำกัด Downside แก่ประมาณการ EPS ปี 2567
ดังนั้นคงเป้า SET ในปี 2567 ที่ 1,470 จุด พร้อมแนวโน้มที่เป็นบวกมากขึ้นจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่หายไป และคาดดัชนีน่าจะกลับมาเน้นที่แนวโน้มเศรษฐกิจ ในขณะที่การกลับมาของกองทุนวายุภักษ์จะช่วยหนุนดัชนีในไตรมาส 4/67 จากเม็ดเงินใหม่ 1-1.5 แสนล้านบาทเข้ามาสู่ตลาด
โดยยังชอบหุ้น Domestic Play โดย เฉพาะที่มี ESG rating สูง ซึ่งน่าจะกลับมาเคลื่อนไหวได้ดีกว่าหุ้น Global Play หุ้นเด่นเดือนก.ย. ประกอบด้วย BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL
โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีความเห็นว่า คาดตลาดหุ้นไทยเดือน ก.ย. น่าจะเริ่มมี Upside ที่เริ่มจำกัด แม้จะมีความคาดหวังเชิงบวกต่อเนื่องช่วงครึ่งแรกของเดือน แต่คาดว่าจะเผชิญแรงขายทำกำไร sell on fact การปรับลดดอกเบี้ยของ Fed และ ECB รวมทั้งการเมืองในประเทศที่จะกลับมาให้น้ำหนักความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายและเสถียรภาพรัฐบาลมากขึ้น
สำหรับแนวโน้มตลาดน่าจะยังอยู่บนความคาดหวังเชิงบวกทั้งจากปัจจัย 1.ภายในประเทศ ที่รัฐบาลใหม่มีกำหนดแถลงนโยบายวันที่ 11 ก.ย. และประชุม ครม. ครั้งแรกในวันที่ 17 ก.ย.
และ 2.ต่างประเทศ ทิศทางดอกเบี้ยโลกน่าจะเข้าสู่วรจรขาลงอย่างเป็นทางการ โดย Fed จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอย่างน้อย 0.25% ในการประชุม 18-19 ก.ย. ส่วน ECB จะปรับลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่สองอีก 0.25% ในการประชุม 12 ก.ย. นี้
อย่างไรก็ตามทิศทางตลาดหลังจากนั้นน่าจะเริ่มมี Upside ที่จำกัดจากทั้ง 1. แรงขายทำกำไร sell on fact และ 2.มุมมองตลาดที่จะหันมาให้น้ำหนักด้านความเสี่ยงของการดำเนินนโยบายและเสถียรภาพของรัฐบาลชุดใหม่มากขึ้น ดังนั้น การเลือกหุ้นเชิงกลยุทธ์จึงมองไปที่หุ้นที่ราคายัง Laggard ในขณะเดียวกันมีปัจจัยหนุนเฉพาะตัว
หุ้น Top Picks เดือนกันยายน BCP ( เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 62.00 บาท) ปี 68-70 ได้แรงหนุนหลักจากเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน (SAF) จะสร้างกำไร 2.6-4.1 พันล้านาทต่อปี หรือคิดเป็น 20-30% ส่วนกำไรครึ่งปีหลัง 67 คาดว่าฟื้นตัวตาม GRM ที่ปรับตัวดีขึ้นตามผลของฤดูกาล ขณะที่ราคา Crude Premium ลดลงจะช่วยหนุนต่ออัตราทำกำไรดีขึ้น
BBIK (เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 46.00 บาท) คาดกำไรหลักปี 67-69 เติบโตเฉลี่ย (CAGR) 28% จากส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น ได้เปรียบด้านต้นทุนและตลาดซอฟต์แวร์องค์กรในประเทศยังมีขนาดเล็ก
ขณะที่การเซ็นสัญญาโครงการใน มิ.ย. 67 ทำให้ backlog ณ สิ้นไตรมาส 2/67 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 905 ล้านบาท โดย 506 ล้านบาทจะรับรู้เป็นรายได้ครึ่งปีหลัง 67 ขณะที่การชนะประมูลโครงการยังแข็งแกร่งในเดือน ก.ค-ส.ค. คาดกำไรหลักไตรมาส 3/67 ที่ 83 ล้านบาท เติบโต 10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเติบโต 83% จากไตรมาสก่อน
SAK ( เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ 6.50 บาท) คาดกำไรหลัก 67 จะเติบโต 14% จากปีก่อน โดยรายได้เติบโต ผสานการควบคุมต้นทุนที่ดี ยังมีโอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยฯในปีนี้ ซึ่ง SAK จะได้ประโยชน์จากสัดส่วนที่สูงถึง 95% ของเงินกู้มาจากการกู้ยืมธนาคารซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ย (ทุกๆ 0.25% ที่ปรับลดดอกเบี้ยฯ จะเป็น Upside ต่อประมาณการ 2% ในปี 67/68)
เปิด 3 ปัจจัยกดดันหุ้นไทย
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด มีความเห็นว่า ภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกันยายน ประเมิน SET Index มีโอกาสผันผวนอิงทางลง โดยเฉพาะในชวงครึ่งเดือนหลัง เนื่องมาจาก 3 สาเหตุหลัก 1.การหมดช่วงข่าวดีทางการเมืองภายในระยะสั้น โดยหลังจากที่เริมเห็นความชดเจนเกี่ยวกับโผครม.ชุดใหม่แล้ว
โดยมองว่าข่าวดีทางการเมืองสุดท้ายที่รออยู่น่าจะเป็นการแถลงนโยบายของท่านนายกฯ ต่อสภา ซึ่งคาดว่าจะเกิดขึ้นภายในวันที่ 15 ก.ย.นี้ เมื่อถึงตรงนั้น มองว่านักลงทุนในตลาดจะเลือกหันมาพิจารณาภาพความเป็นจริงหรือพื้นฐานกําไรของบจ.กันมากขึ้น ซึ่งล่าสุดยังไม่มีสัญญาณที่ดีขึ้นแต่อย่างใด
2.ความผิดหวังที่อาจเกิดขึ้นจากการประชุม FOMC ในวันที่ 17-18 ก.ย. ไม่ว่าการลดดอกเบี้ยจะลงเอยที่ระดับไหน หากลด 0.25% ก็เป็นสิ่งที่ตลาดคาดการณ์ไว้แล้ว และอาจทำให้นักลงทุนบางสวนไม่สบายใจว่า Fed อาจลดน้อยเกินไปในสภาวะที่เศรษฐกิจมี่ความเสี่ยงมากขึ้น
ขณะเดียวกัน หากลด 0.50% ก็จะทำให้นักลงทุน บางสวนกังวลว่า Fed อาจเห็นสัญญาณความเสี่ยงในระบบเศรษฐกิจมากขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจทำให้ประเด็น Recession fear กลับเข้ามามีน้ำหนักอีกครั้ง
ทั้งนี้คาดว่า Fed จะเริ่มต้นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกเพียง 0.25% ไปก่อน ซึ่งอาจทำให้เงิน USD ปรับตัวรีบาวด์ ขึ้น จนส่งผลให้ USD carry trade ที่เกิดขึ้นในเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ยุติลงชั่วคราว
3.แรงขายของนักลงทุนสถาบันภายในประเทศ ซึ่งมักเกิดขึ้นเป็นปกติในเดือนกันยายนของทุกปี โดยอาจเป็นการเตรียมเงินสดเพื่อรองรับการไถ่ถอนของกองทุนสำรองเลียงชีพต่างๆ
อย่างไรก็ดี หากในเดือนนี้มีความคืบหน้าเกี่ยวกับการเสนอขายหน่วยลงทุนรอบใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ อาจจะพอเป็นตัวช่วยประคับประคอง Sentiment ในตลาดหุ้นไทยเอาไว้ได้บ้าง
โดยประเมินกรอบแนวต้านเดือนกันยายนที่ 1,370 และ 1,400 จุด ส่วนแนวรับประเมินที่ 1,320 และ 1,290 จุด ในเชิงกลยุทธ์ แนะนํา Wait & See และรอจังหวะการซื้อหุ้นกลับรอบใหม่ที่บริเวณแนวรับที่ให้ไว้
สำหรับกลุ่มหุ้นทีน่าสนใจประจำเดือนนี้ ได้แก่ 1.กลุ่มสงออกที่มียอดการส่งออกในเดือนล่าสุดออกมาในเกณฑ์ดี และราคาปรับฐานลงมาในระดับหนึ่งแล้ว ได้แก่ GFPT, AAI, ITC, COCOCO, KCE 2.กลุ่มหุ้นบริการทีเตรียมเข้าสู่ High season เลือก BH, MINT
SET มักจะปรับตัวขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลง
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ประเมิน การปรับลดอัตราดอกเบี้ยของ FED กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ก.ย. 2567 ในขณะที่ ธปท. ส่งสัญญาณเปิดกว้างมากขึ้น สำหรับการลดดอกเบี้ยในอนาคต การศึกษาพบว่า SET มักจะปรับตัวขึ้นในช่วงดอกเบี้ยขาลง
ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยได้รับการแก้ไข หลังการเลือก “แพทองธาร ชินวัตร” เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 31 ซึ่งจะช่วยเสริมความมั่นใจของตลาดและความคาดหวังเกี่ยวกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่กำลังจะมาถึงจาก ครม. ใหม่ มาตรการ Digital Wallet 10,000 บาทจะเริ่มอัดฉีดเงินให้แก่กลุ่ม เปราะบางและผู้พิการ 14.5 ล้านรายเป็นเงินสดก่อนซึ่งเร็วกว่าแผนเดิม อาจเป็น Upside ต่อ GDP ในช่วงไตรมาส 4/67-ปี 2568
นอกจากนี้ GDP ของไทยและกำไรของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาส 2/67 ยังอยู่ในทิศทางฟื้นตัวได้ตามคาด น่าจะช่วยจำกัด Downside แก่ประมาณการ EPS ปี 2567
ดังนั้นคงเป้า SET ในปี 2567 ที่ 1,470 จุด พร้อมแนวโน้มที่เป็นบวกมากขึ้นจากความไม่แน่นอนทางการเมืองที่หายไป และคาดดัชนีน่าจะกลับมาเน้นที่แนวโน้มเศรษฐกิจ ในขณะที่การกลับมาของกองทุนวายุภักษ์จะช่วยหนุนดัชนีในไตรมาส 4/67 จากเม็ดเงินใหม่ 1-1.5 แสนล้านบาทเข้ามาสู่ตลาด
โดยยังชอบหุ้น Domestic Play โดย เฉพาะที่มี ESG rating สูง ซึ่งน่าจะกลับมาเคลื่อนไหวได้ดีกว่าหุ้น Global Play หุ้นเด่นเดือนก.ย. ประกอบด้วย BDMS, CPALL, ICHI, MTC, NSL