Wealth Sharing

เม็ดเงินใหญ่หนุนหุ้นไทย ดีเดย์ 16-20 ก.ย. จองซื้อ “กองทุนวายุภักษ์ 1” โบรกฯ คาดระดมทุนได้กว่า 1.5 แสนลบ.


06 กันยายน 2567

กองทุนวายุภักษ์ 1 เป็นอีกหนึ่งกองทุนรวมที่นักลงทุนไทยได้ให้ความสนใจ นับตั้งแต่ที่มีกระแสข่าวดังกล่าว ซึ่งความคืบหน้าในปัจจุบันจะเริ่มเปิดให้นักลงทุนทั่วไปจองซื้อได้ในวันที่ 16-20 ก.ย.นี้ และด้วยความสนใจที่ล้นหลามก็มีโอกาสที่จะดึงเม็ดเงินเข้าตลาดทุนได้สูง แต่จะมากน้อยเพียงใดไปดูมุมมองจากนักวิเคราะห์กัน

เม็ดเงินใหญ่หนุนหุ้นไทย WS (เว็บ)_0.jpg

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่ากระทรวงการคลังมีแผนนําเปิดขายกองทุนวายุภักษ์ ให้กับนักลงทุนทั่วไป (นักลงทุนประเภท ก.) อีกครั้ง วันที่ 16-20 ก.ย.นี้ และนักลงทุนสถาบันวันที่ 18-20 ก.ย.นี้ ซึ่งกองทุนวายุภักษ์มีกลไกคุ้มครองเงินลงทุนของนักลงทุนประเภท ก. ที่มีสิทธิรับชําระคืนเงินต้นก่อนผู้ถือหน่อยลงทุนประเภท ข. 

ขณะเดียวกันด้วยความสามารถในการสร้างผลตอบแทนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 5.5% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหุ้นไทย ทําให้มีโอกาสจะระดมทุนได้สูง 1.5 แสนล้านบาท

สำหรับกองทุนวายุภักษ์มีระยะเวลาลงทุน 10 ปี โดยเกณฑ์ใหม่เปิดให้สามารถลงทุนกลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็ก พื้นฐานดี ที่มี ESG Rating สูงได้ด้วย จากเดิมที่จํากัดให้ลงทุนในหุ้น SET100 โดยถ้าประเมินจากกลุ่มหุ้นที่มี ESG Rating ทั้งหมด 176 ตัว มีมูลค่าตลาดประมาณ 12 ล้านล้านบาท 

ถ้าคิดเฉพาะส่วนที่สามารถลงทุนได้ปรับตาม Free Float จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท เท่านั้น ซึ่งเม็ดเงินลงทุนกองทุนวายุภักษ์ 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 2.7% ของกลุ่มหุ้นที่มี ESG Rating สูง และถ้ารวมกับเม็ดเงินจากกองทุนประหยัดภาษี TESG อีก 1.0-1.5 หมื่นล้านบาท 

หมายความว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในกลุ่มหุ้น ESG จากทั้งกองทุนวายุภักษ์ และ TESG รวม 1.65 แสนล้านบาท หรือเกือบ 3% ของ Free Float Adjusted Market Cap ทีเดียว

ทั้งนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง หนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และราคาสินทรัพย์ที่ปรับลดลงไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคารถยนต์ส่งผลต่อความมั่งคั่งของคนไทย (Wealth Effect) และส่งผลต่อไปที่การบริโภคที่ชะลอตัวลง 

แต่การใช้กองทุนวายุภักษ์ กองทุน TESG จะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่ม Wealth Effect ซึ่งเมื่อใช้ควบคู่ไปกับ Digital Wallet ที่ช่วยเพิ่มกําลังซื้อผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง 

รวมถึงโอกาสที่ ธปท.จะลดดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ยิ่งเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจให้เร่งตัวไปจนถึงช่วงครึ่งปีแรกปี 2568 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง SET มักจะปรับสูงขึ้นไปพร้อมกับจีดีพี โดยให้เป้าหมาย Bottom-Up สิ้นปี 1,450 จุด และในกรณี Blue Sky เรามอง SET อาจขึ้นไปได้ถึง 1,480 จุด เทียบกับค่าเฉลี่ย Earnings Yield Gap 10 ปี 4.14% จากปัจจุบันที่ 5.05%

ดังนั้น แนะนํา “ซื้อ” หุ้นใหญ่ พื้นฐานดี ที่มี ESG Score สูง A ขึ้นไป เป็นเป้าหมายการเข้าซื้อของกองทุนวายุภักษ์ และกองทุน TESG รวมถึงได้รับผลบวกจากการบริโภค-การลงทุนภาครัฐฯ ที่เร่งตัวปลายปีนี้นี้ได้แก่ AOT, AMATA, CPALL, CPN, CBG, CENTEL, CK, GPSC, KBANK, KTB, MTC และ WHA

ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ให้มุมมองเพิ่มเติมว่า หุ้นขนาดใหญ่ที่ยัง Laggard รวมถึง หุ้นขนาดกลาง-เล็กที่ให้เงินปันผลสูงกว่า 4% ต่อปีและมี SET ESG Rating ระดับสูง ยังมีโอกาสถูกเก็งกำไรดักแรงซื้อจากกองทุนวายภักษ์ล่วงหน้า 

โดยหุ้นขนาดใหญ่ที่ปันผลสูงกว่า 3% และราคาหุ้นยัง Laggard คือ LH, BJC, OSP,OR ส่วนหุ้นขนาดเล็ก ปันผลสูง และได้SET ESG Rating ระดับ AAA คือ BPP, SABINA,WHAUP

กองทุนวายุภักษ์ 1 เป็นอีกหนึ่งกองทุนรวมที่นักลงทุนไทยได้ให้ความสนใจ นับตั้งแต่ที่มีกระแสข่าวดังกล่าว ซึ่งความคืบหน้าในปัจจุบันจะเริ่มเปิดให้นักลงทุนทั่วไปจองซื้อได้ในวันที่ 16-20 ก.ย.นี้ และด้วยความสนใจที่ล้นหลามก็มีโอกาสที่จะดึงเม็ดเงินเข้าตลาดทุนได้สูง แต่จะมากน้อยเพียงใดไปดูมุมมองจากนักวิเคราะห์กัน

โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่ากระทรวงการคลังมีแผนนําเปิดขายกองทุนวายุภักษ์ ให้กับนักลงทุนทั่วไป (นักลงทุนประเภท ก.) อีกครั้ง วันที่ 16-20 ก.ย.นี้ และนักลงทุนสถาบันวันที่ 18-20 ก.ย.นี้ ซึ่งกองทุนวายุภักษ์มีกลไกคุ้มครองเงินลงทุนของนักลงทุนประเภท ก. ที่มีสิทธิรับชําระคืนเงินต้นก่อนผู้ถือหน่อยลงทุนประเภท ข. 

ขณะเดียวกันด้วยความสามารถในการสร้างผลตอบแทนในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา 5.5% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของดัชนีตลาดหุ้นไทย ทําให้มีโอกาสจะระดมทุนได้สูง 1.5 แสนล้านบาท

สำหรับกองทุนวายุภักษ์มีระยะเวลาลงทุน 10 ปี โดยเกณฑ์ใหม่เปิดให้สามารถลงทุนกลุ่มหุ้นขนาดกลางและเล็ก พื้นฐานดี ที่มี ESG Rating สูงได้ด้วย จากเดิมที่จํากัดให้ลงทุนในหุ้น SET100 โดยถ้าประเมินจากกลุ่มหุ้นที่มี ESG Rating ทั้งหมด 176 ตัว มีมูลค่าตลาดประมาณ 12 ล้านล้านบาท 

ถ้าคิดเฉพาะส่วนที่สามารถลงทุนได้ปรับตาม Free Float จะมีมูลค่าตลาดประมาณ 5.6 ล้านล้านบาท เท่านั้น ซึ่งเม็ดเงินลงทุนกองทุนวายุภักษ์ 1.5 แสนล้านบาท คิดเป็นประมาณ 2.7% ของกลุ่มหุ้นที่มี ESG Rating สูง และถ้ารวมกับเม็ดเงินจากกองทุนประหยัดภาษี TESG อีก 1.0-1.5 หมื่นล้านบาท 

หมายความว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนในกลุ่มหุ้น ESG จากทั้งกองทุนวายุภักษ์ และ TESG รวม 1.65 แสนล้านบาท หรือเกือบ 3% ของ Free Float Adjusted Market Cap ทีเดียว

ทั้งนี้ ด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับสูง หนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น และราคาสินทรัพย์ที่ปรับลดลงไม่ว่าจะเป็นราคาหุ้น ราคารถยนต์ส่งผลต่อความมั่งคั่งของคนไทย (Wealth Effect) และส่งผลต่อไปที่การบริโภคที่ชะลอตัวลง 

แต่การใช้กองทุนวายุภักษ์ กองทุน TESG จะเป็นเครื่องมือช่วยเพิ่ม Wealth Effect ซึ่งเมื่อใช้ควบคู่ไปกับ Digital Wallet ที่ช่วยเพิ่มกําลังซื้อผู้บริโภคกลุ่มเปราะบาง 

รวมถึงโอกาสที่ ธปท.จะลดดอกเบี้ยภายในสิ้นปีนี้ยิ่งเป็นตัวหนุนเศรษฐกิจให้เร่งตัวไปจนถึงช่วงครึ่งปีแรกปี 2568 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง SET มักจะปรับสูงขึ้นไปพร้อมกับจีดีพี โดยให้เป้าหมาย Bottom-Up สิ้นปี 1,450 จุด และในกรณี Blue Sky เรามอง SET อาจขึ้นไปได้ถึง 1,480 จุด เทียบกับค่าเฉลี่ย Earnings Yield Gap 10 ปี 4.14% จากปัจจุบันที่ 5.05%

ดังนั้น แนะนํา “ซื้อ” หุ้นใหญ่ พื้นฐานดี ที่มี ESG Score สูง A ขึ้นไป เป็นเป้าหมายการเข้าซื้อของกองทุนวายุภักษ์ และกองทุน TESG รวมถึงได้รับผลบวกจากการบริโภค-การลงทุนภาครัฐฯ ที่เร่งตัวปลายปีนี้นี้ได้แก่ AOT, AMATA, CPALL, CPN, CBG, CENTEL, CK, GPSC, KBANK, KTB, MTC และ WHA

ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ให้มุมมองเพิ่มเติมว่า หุ้นขนาดใหญ่ที่ยัง Laggard รวมถึง หุ้นขนาดกลาง-เล็กที่ให้เงินปันผลสูงกว่า 4% ต่อปีและมี SET ESG Rating ระดับสูง ยังมีโอกาสถูกเก็งกำไรดักแรงซื้อจากกองทุนวายภักษ์ล่วงหน้า 

โดยหุ้นขนาดใหญ่ที่ปันผลสูงกว่า 3% และราคาหุ้นยัง Laggard คือ LH, BJC, OSP,OR ส่วนหุ้นขนาดเล็ก ปันผลสูง และได้SET ESG Rating ระดับ AAA คือ BPP, SABINA,WHAUP