Wealth Sharing
สรุปไทม์ไลน์ TIDLOR ปรับโครงการเป็น “Holding Company” หวังสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจยั่งยืน
06 กันยายน 2567
นายปิยะศักดิ์ อุกฤษฎฺนุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด(มหาชน) หรือ TIDLOR เปิดเผยว่า สถานะของการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทเป็น Holdind Company ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการยื่นขออนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามกำหนดการที่วางไว้
โดยคาดว่า ติดล้อ โฮลดิ้งส์ จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท หรือ Tender Offer จากผู้ถือหุ้นเดิม โดยวิธีการแลกหุ้นที่อัตรา 1:1 ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ และ คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/67
ทั้งนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารเรื่องแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการโดยได้มีการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดแห่งใหม่ คือ บริษัท ติดล้อ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (“ติดล้อ โฮลดิ้งส์”) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุน (Holding Company) เพื่อเป็นบริษัทใหญ่ของกลุ่มบริษัท
ภายหลังการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ จะสามารถลดความสับสนของนักลงทุนจากการจ่ายหุ้นปันผล โดยจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินปันผลในรูปแบบเงินสด
รวมถึงการลดความสับสนของนักลงทุนเกี่ยวกับราคาหุ้น (Dilution) และกำไรต่อหุ้น (EPS) ซึ่งถือเป็นการสร้างความมั่นใจในศักยภาพของบริษัทฯ ให้กับนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันจะช่วยสร้างการเติบโตในระยะยาว เนื่องจากจะเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจทั้งด้านสินเชื่อและนายหน้าประกัน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการหรือการร่วมลงทุน
สำหรับโครงสร้างแบบ Holding Company จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มบริษัทในระยะยาว โดยจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการหรือการร่วมลงทุน
ขณะเดียวในปีนี้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ไม่ให้เกินระดับ 2% และคาดว่าภาพของการขยายตัวในธุรกิจสินเชื่อจะอยู่ในช่วงรับ 10-15%
นอกจากนี้บริษัทยังคงแผนที่จะรุกตลาดธุรกิจสินเชื่อในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีจำนวนประชากรในระดับสูงเช่นเวียดนาม และอินโดนีเซีย
สำหรับ ภาพรวมธุรกิจนายหน้าประกันในประเทศไทยมีสัดส่วนการซื้อประกันผ่านช่องทางนายหน้าสูงถึง 73% เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ และยังมีจำนวนนายหน้าประกันอิสระในประเทศไทยมากกว่า 80,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายหน้ารูปแบบดั้งเดิมที่อาจมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยมียอดเบี้ยประกันรวมในตลาดมูลค่ากว่า 285,000 ล้านบาท แต่บริษัทนายหน้าประกันเจ้าหลัก 10 อันดับแรก มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันเพียง 29% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนายหน้าประกันยังไม่มีผู้ครอบครองหลัก
นอกจากนี้ ข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนในประเทศไทยมีจำนวน 19.8 ล้านคัน แต่มากกว่า 46% ยังไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของตลาดได้อีกมาก ผนวกเข้ากับความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันของบริษัทฯ จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการขยายและสร้างการเติบโต รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่ยังมีอยู่อีกมากในอนาคต
จากผลการดำเนินงานของธุรกิจใหม่จากแบรนด์ “อารีเกเตอร์” (Areegator) และแบรนด์ “เฮ้กู๊ดดี้” (heygoody) ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น บริษัทฯ วางแผน จะปรับโครงสร้างพร้อมจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจนายหน้าประกัน มุ่งสู่ผู้นำด้าน InsurTech Platform ที่จะเข้ามาเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการเติมเต็ม TIDLOR Ecosystem เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านการเงินและประกันภัยที่แข็งแกร่งให้กับภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ด้วยเป้าหมายสูงสุดในการเป็นที่พึ่งทางด้านการเงินและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองด้านประกันภัยได้ทั่วถึง ควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
โดยคาดว่า ติดล้อ โฮลดิ้งส์ จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท หรือ Tender Offer จากผู้ถือหุ้นเดิม โดยวิธีการแลกหุ้นที่อัตรา 1:1 ในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ และ คาดว่ากระบวนการทั้งหมดจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4/67
ทั้งนี้เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น (EGM) บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารเรื่องแผนการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการโดยได้มีการจัดตั้งบริษัทมหาชนจำกัดแห่งใหม่ คือ บริษัท ติดล้อ โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (“ติดล้อ โฮลดิ้งส์”) ซึ่งเป็นบริษัทลงทุน (Holding Company) เพื่อเป็นบริษัทใหญ่ของกลุ่มบริษัท
ภายหลังการปรับโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ จะสามารถลดความสับสนของนักลงทุนจากการจ่ายหุ้นปันผล โดยจะเพิ่มความยืดหยุ่นในการจ่ายเงินปันผลในรูปแบบเงินสด
รวมถึงการลดความสับสนของนักลงทุนเกี่ยวกับราคาหุ้น (Dilution) และกำไรต่อหุ้น (EPS) ซึ่งถือเป็นการสร้างความมั่นใจในศักยภาพของบริษัทฯ ให้กับนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น
ขณะเดียวกันจะช่วยสร้างการเติบโตในระยะยาว เนื่องจากจะเพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจทั้งด้านสินเชื่อและนายหน้าประกัน เพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการหรือการร่วมลงทุน
สำหรับโครงสร้างแบบ Holding Company จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการเติบโตของกลุ่มบริษัทในระยะยาว โดยจะเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยเพิ่มโอกาสขยายไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการเพิ่มโอกาสในการสร้างพันธมิตรทางธุรกิจผ่านการควบรวมกิจการหรือการร่วมลงทุน
ขณะเดียวในปีนี้บริษัทมั่นใจว่าจะสามารถควบคุมหนี้ที่มิก่อให้เกิดรายได้(NPL) ไม่ให้เกินระดับ 2% และคาดว่าภาพของการขยายตัวในธุรกิจสินเชื่อจะอยู่ในช่วงรับ 10-15%
นอกจากนี้บริษัทยังคงแผนที่จะรุกตลาดธุรกิจสินเชื่อในต่างประเทศ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีจำนวนประชากรในระดับสูงเช่นเวียดนาม และอินโดนีเซีย
สำหรับ ภาพรวมธุรกิจนายหน้าประกันในประเทศไทยมีสัดส่วนการซื้อประกันผ่านช่องทางนายหน้าสูงถึง 73% เมื่อเทียบกับช่องทางอื่นๆ และยังมีจำนวนนายหน้าประกันอิสระในประเทศไทยมากกว่า 80,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายหน้ารูปแบบดั้งเดิมที่อาจมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี
ขณะที่ภาพรวมธุรกิจประกันวินาศภัยมียอดเบี้ยประกันรวมในตลาดมูลค่ากว่า 285,000 ล้านบาท แต่บริษัทนายหน้าประกันเจ้าหลัก 10 อันดับแรก มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันเพียง 29% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่าธุรกิจนายหน้าประกันยังไม่มีผู้ครอบครองหลัก
นอกจากนี้ ข้อมูลรถยนต์จดทะเบียนในประเทศไทยมีจำนวน 19.8 ล้านคัน แต่มากกว่า 46% ยังไม่ได้ทำประกันรถยนต์ภาคสมัครใจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงโอกาสในการขยายตัวของตลาดได้อีกมาก ผนวกเข้ากับความแข็งแกร่งในการดำเนินธุรกิจนายหน้าประกันของบริษัทฯ จากการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนสำคัญในการขยายและสร้างการเติบโต รวมถึงโอกาสทางธุรกิจที่ยังมีอยู่อีกมากในอนาคต
จากผลการดำเนินงานของธุรกิจใหม่จากแบรนด์ “อารีเกเตอร์” (Areegator) และแบรนด์ “เฮ้กู๊ดดี้” (heygoody) ตามที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น บริษัทฯ วางแผน จะปรับโครงสร้างพร้อมจัดตั้งบริษัทใหม่ เพื่อปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจนายหน้าประกัน มุ่งสู่ผู้นำด้าน InsurTech Platform ที่จะเข้ามาเป็นจิ๊กซอว์สำคัญในการเติมเต็ม TIDLOR Ecosystem เพื่อสร้างระบบนิเวศด้านการเงินและประกันภัยที่แข็งแกร่งให้กับภาพรวมการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ด้วยเป้าหมายสูงสุดในการเป็นที่พึ่งทางด้านการเงินและส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงความคุ้มครองด้านประกันภัยได้ทั่วถึง ควบคู่ไปกับการสร้างความแข็งแกร่งให้ภาพรวมธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน