Smart Investment
หุ้นโบรกฯไหนน่าคบ...ราคาต่ำบุ๊ก รับเม็ดเงินใหม่วายุภักษ์1-1.15 แสนลบ. ปลุกผีตลาดหุ้น ดันวอลุ่มทะลัก
15 กันยายน 2567
Mr.Data
สัปดาห์นี้ Mr.Data พามาสแกนหุ้นกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ประเทศไทย (SET) รับสัญญาณมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์กลับมาคึกคัก หลังกองทุนวายุภักษ์1 เตรียมขายหน่วยลงทุนประเภท ก. แก่ผู้ลงทุนทั่วไปมูลค่ารวม 1-1.5 แสนล้านบาท ระหว่างวันที่ 16-20 กันยายน 2567 และคาดว่าจะนำหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 นี้
กระแสตอบรับกองทุนวายุภักษ์ที่เตรียมเข้าเทรดในเดือนตุลาคม ส่งสัญญาณเชิงบวกกับมูลค่าการซื้อขายหุ้น เห็นได้จากวอลุ่มในวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ทะลุ 1.07 แสนล้านบาท สูงสุดในรอบ 1 ปี 7 เดือน หนุน SET Index ทะลุ 1,400 จุด
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงที่เหลือของปีนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น มองเป้าหมาย SET Index ปลายปี 2567 ที่ 1,500-1,530 จุด จากเดิมมองไว้ที่ 1,360-1,450 จุด โดยให้แนวรับสำคัญใหม่ที่ 1,270 จุด ซึ่งเคยเป็นจุดต่ำสุดเดิม
การปรับเป้าหมายใหม่ของ SET Index ปลายปีนี้อยู่บนสมมุติฐานกำไรของบริษัทจดทะเบียน (EPS) ที่ 90 บาท/ห้น P/E 15 เท่า ได้รับปัจจัยบวกทั้งนโยบายรัฐบาล เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว เม็ดเงินก้อนใหม่จากกองทุนวายุภักษ์
ความชัดเจนการเสนอขายหน่วยลงทุนใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ 1-1.5 แสนล้านบาท เป็นวงเงินค่อนข้างใหญ่ และสามารถมาชดเชยกับการที่ต่างชาติขายหุ้นไทยออกไป (Net Sell) ราว 1.2 แสนล้านบาท
เม็ดเงินใหม่ที่ไหลเข้าตลาดหุ้น และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น จากความหวังตลาดหุ้นไทยผ่านจุดต่ำสุด แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับธุรกิจหลักทรัพย์ ที่ส่วนหนึ่งของรายได้มาจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์
โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ASP) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (FNS) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KGI) และ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด (มหาชน) (TNITY) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากมูลค่าการซื้อขายที่ชะลอตัว กดดันผลประกอบการชะลอตัว
ส่งผลให้หุ้นบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งราคาหุ้นที่เทรดในกระดาน ยังต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นจากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯพบว่า มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ฯเฉลี่ยต่อวัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 44,404 ลบ. ลดลงจากปี 2566 อยู่ที่ 53,331 ล้านบาท/วัน ปี 2565 อยู่ที่ 76,773.22 ล้านบาท/วัน และในปี 2564 อยู่ที่ 93,845.64 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สัญญาณการ “ฟื้นตัว” ของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนสิงหาคม ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 46,028 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.1% จากเดือนกรกฎาคม และทะลุ 1 แสนล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี 7 เดือน ในวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อเม็ดเงินใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ และแนวโน้มฟันด์โฟลว์ที่คาดว่าจะไหลบ่ากลับตลาดหุ้นไทย จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ทำให้มีเงินโยกเข้าลงทุน
แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับมูลค่าการซื้อขายหุ้น และเป็นปัจจัยบวกกับธุรกิจหลักทรัพย์ ที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รอวันฟื้นตัว ไปพร้อมๆกับตลาดหุ้นไทย รับการขยับปีกของกองทุนวายุภักษ์ 1
สัปดาห์นี้ Mr.Data พามาสแกนหุ้นกลุ่มธุรกิจหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ประเทศไทย (SET) รับสัญญาณมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์กลับมาคึกคัก หลังกองทุนวายุภักษ์1 เตรียมขายหน่วยลงทุนประเภท ก. แก่ผู้ลงทุนทั่วไปมูลค่ารวม 1-1.5 แสนล้านบาท ระหว่างวันที่ 16-20 กันยายน 2567 และคาดว่าจะนำหน่วยลงทุนประเภท ก. เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2567 นี้
กระแสตอบรับกองทุนวายุภักษ์ที่เตรียมเข้าเทรดในเดือนตุลาคม ส่งสัญญาณเชิงบวกกับมูลค่าการซื้อขายหุ้น เห็นได้จากวอลุ่มในวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ทะลุ 1.07 แสนล้านบาท สูงสุดในรอบ 1 ปี 7 เดือน หนุน SET Index ทะลุ 1,400 จุด
ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์ อเบอร์ดีน (ประเทศไทย) ประเมินแนวโน้มตลาดหุ้นไทยช่วงที่เหลือของปีนี้อยู่ในช่วงขาขึ้น มองเป้าหมาย SET Index ปลายปี 2567 ที่ 1,500-1,530 จุด จากเดิมมองไว้ที่ 1,360-1,450 จุด โดยให้แนวรับสำคัญใหม่ที่ 1,270 จุด ซึ่งเคยเป็นจุดต่ำสุดเดิม
การปรับเป้าหมายใหม่ของ SET Index ปลายปีนี้อยู่บนสมมุติฐานกำไรของบริษัทจดทะเบียน (EPS) ที่ 90 บาท/ห้น P/E 15 เท่า ได้รับปัจจัยบวกทั้งนโยบายรัฐบาล เศรษฐกิจไทยฟื้นตัว เม็ดเงินก้อนใหม่จากกองทุนวายุภักษ์
ความชัดเจนการเสนอขายหน่วยลงทุนใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ 1-1.5 แสนล้านบาท เป็นวงเงินค่อนข้างใหญ่ และสามารถมาชดเชยกับการที่ต่างชาติขายหุ้นไทยออกไป (Net Sell) ราว 1.2 แสนล้านบาท
เม็ดเงินใหม่ที่ไหลเข้าตลาดหุ้น และความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น จากความหวังตลาดหุ้นไทยผ่านจุดต่ำสุด แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับธุรกิจหลักทรัพย์ ที่ส่วนหนึ่งของรายได้มาจากค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์
โดยบริษัทหลักทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกอบด้วย บริษัท เอเซีย พลัส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ASP) บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) (BYD) บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (FNS) บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (KGI) และ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด (มหาชน) (TNITY) ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากมูลค่าการซื้อขายที่ชะลอตัว กดดันผลประกอบการชะลอตัว
ส่งผลให้หุ้นบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งราคาหุ้นที่เทรดในกระดาน ยังต่ำกว่ามูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นจากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์ฯพบว่า มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ฯเฉลี่ยต่อวัน ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2567 อยู่ที่ 44,404 ลบ. ลดลงจากปี 2566 อยู่ที่ 53,331 ล้านบาท/วัน ปี 2565 อยู่ที่ 76,773.22 ล้านบาท/วัน และในปี 2564 อยู่ที่ 93,845.64 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม สัญญาณการ “ฟื้นตัว” ของมูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในเดือนสิงหาคม ที่ขยับขึ้นมาอยู่ที่ 46,028 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 21.1% จากเดือนกรกฎาคม และทะลุ 1 แสนล้านบาท สร้างสถิติสูงสุดในรอบ 1 ปี 7 เดือน ในวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา จากความเชื่อมั่นของนักลงทุนที่มีต่อเม็ดเงินใหม่ของกองทุนวายุภักษ์ และแนวโน้มฟันด์โฟลว์ที่คาดว่าจะไหลบ่ากลับตลาดหุ้นไทย จากแนวโน้มดอกเบี้ยขาลง ทำให้มีเงินโยกเข้าลงทุน
แน่นอนว่าย่อมส่งผลดีกับมูลค่าการซื้อขายหุ้น และเป็นปัจจัยบวกกับธุรกิจหลักทรัพย์ ที่น่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว รอวันฟื้นตัว ไปพร้อมๆกับตลาดหุ้นไทย รับการขยับปีกของกองทุนวายุภักษ์ 1