Wealth Sharing
ฝ่ายวิจัยธ.กรุงศรี เผยน้ำท่วม ปี 67 หากเกิดกรณีที่เสียหายมากที่สุด อาจส่งผลมูลค่าความเสียหาย 5.95 หมื่นลบ.
13 กันยายน 2567
วิจัยกรุงศรีธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ในช่วงครึ่งหลังของปี 2567 ซึ่งเป็นช่วงฤดูฝนของประเทศไทย มีความเสี่ยงสูงขึ้นที่บางพื้นที่จะเผชิญกับอุทกภัยที่มีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น โดยมีสัญญาณสำคัญ
อาทิ 1) ดัชนี ONI ที่ลดลงสู่ระดับปกติ (Neutral) และกำลังลดลงต่อเนื่องสู่ระดับลานีญา ที่ทำให้คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าระดับปกติ
2) อิทธิพลจากพายุประจำปี 3) ดัชนี PDO และ IOD ที่มีทิศทางลดลงหรืออยู่ใน Negative Phase (ต่ำกว่า -0.5) ทำให้ไทยมีแนวโน้มได้รับอิทธิพลของพายุชัดเจนขึ้น
4) ดัชนีมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศรอบๆ ประเทศในระยะสั้นมีค่าใกล้เคียงระดับปกติ ซึ่งเอื้อต่อการเกิดฝนตกในพื้นที่รอบข้างของประเทศไทย
โดยวิจัยกรุงศรีประเมินว่าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคใต้ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างซึ่งเป็นทางน้ำผ่าน และภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำและเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ ครัวเรือน โรงงาน เครื่องจักร สินค้าเกษตร
ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคได้ ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาดว่าพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในปี 2567 นี้จะอยู่ที่ 8.6 ล้านไร่ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินราว 3.1 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าสินค้าเกษตรเสียหาย 43.4 พันล้านบาท (กรณีฐาน) ทำให้ความเสียหายจากน้ำท่วมรวมกันอยู่ที่ 46.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็น -0.27% ของ GDP
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีได้ประเมินพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งปี 2567 ภายใต้การจำลองสถานการณ์ 3 ฉากทัศน์และประเมินผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนี้
กรณีดีที่สุด (Best case) หรือกรณีที่เกิดความเสียหายน้อยสุด จะมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 6.2 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 2.2 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 31.2 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 33.4 พันล้านบาท หรือราว -0.19% ของ GDP
กรณีฐาน (Base case) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8.6 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 3.1 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 43.4 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 46.5 พันล้านบาท หรือราว -0.27% ของ GDP
กรณีเสียหายมากสุด (Worst case) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11.0 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 4.0 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 55.5 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 59.5 พันล้านบาท หรือราว -0.34% ของ GDP
อาทิ 1) ดัชนี ONI ที่ลดลงสู่ระดับปกติ (Neutral) และกำลังลดลงต่อเนื่องสู่ระดับลานีญา ที่ทำให้คาดว่าปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าระดับปกติ
2) อิทธิพลจากพายุประจำปี 3) ดัชนี PDO และ IOD ที่มีทิศทางลดลงหรืออยู่ใน Negative Phase (ต่ำกว่า -0.5) ทำให้ไทยมีแนวโน้มได้รับอิทธิพลของพายุชัดเจนขึ้น
4) ดัชนีมรสุมที่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศรอบๆ ประเทศในระยะสั้นมีค่าใกล้เคียงระดับปกติ ซึ่งเอื้อต่อการเกิดฝนตกในพื้นที่รอบข้างของประเทศไทย
โดยวิจัยกรุงศรีประเมินว่าพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยได้แก่ บริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบางส่วนของภาคใต้ โดยเฉพาะภาคเหนือตอนล่างซึ่งเป็นทางน้ำผ่าน และภาคกลางซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำและเป็นพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ อาทิ ครัวเรือน โรงงาน เครื่องจักร สินค้าเกษตร
ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคได้ ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีคาดว่าพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยในปี 2567 นี้จะอยู่ที่ 8.6 ล้านไร่ สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินราว 3.1 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าสินค้าเกษตรเสียหาย 43.4 พันล้านบาท (กรณีฐาน) ทำให้ความเสียหายจากน้ำท่วมรวมกันอยู่ที่ 46.5 พันล้านบาท หรือคิดเป็น -0.27% ของ GDP
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีได้ประเมินพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากอุทกภัยทั้งปี 2567 ภายใต้การจำลองสถานการณ์ 3 ฉากทัศน์และประเมินผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ดังนี้
กรณีดีที่สุด (Best case) หรือกรณีที่เกิดความเสียหายน้อยสุด จะมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 6.2 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 2.2 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 31.2 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 33.4 พันล้านบาท หรือราว -0.19% ของ GDP
กรณีฐาน (Base case) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 8.6 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 3.1 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 43.4 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 46.5 พันล้านบาท หรือราว -0.27% ของ GDP
กรณีเสียหายมากสุด (Worst case) มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 11.0 ล้านไร่ มูลค่าทรัพย์สินเสียหาย 4.0 พันล้านบาท ขณะที่มูลค่าผลผลิตทางการเกษตรเสียหาย 55.5 พันล้านบาท คิดเป็นความเสียหายรวม 59.5 พันล้านบาท หรือราว -0.34% ของ GDP