Talk of The Town
หุ้นกลุ่มแบงก์ใหญ่ เผชิญแรงเทขายไม่หยุด รับวัฎจักรดอกเบี้ยขาลง กดดัน NIM
19 กันยายน 2567
รายงานความเคลื่อนไหวราคาหุ้น 3 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ในช่วงบ่ายนี้ ประกอบไปธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ปรับตัวลดลง 0.32% ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK ปรับตัวลดลง 0.32% และ บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ปรับตัวลดลง 1.33% ด้านโบรกคาดเจอแรงเทขาย กังวลวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงกระทบ NIM
โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า กลุ่มธนาคารที่ถูกขาย เพื่อลดความเสี่ยงการปรับลดดอกเบี้ยออกมาก่อน แต่มีโอกาสเห็น Buy on Facts แม้ว่าวงจรดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงจะกระทบ NIM แต่จะถูกชดเชยด้วยการเติบโตของสินเชื่อและค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น การบริหารเงินทุน และความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำลง ผสาน ROE สูงเฉลี่ย 9% และ Valuation Discount หนุนคาดเห็นแรงซื้อกลับ เน้น KBANK, KTB, BBL
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ให้มุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดนโยบายอัตราดอกเบี้ยลง เป็นตัวสะท้อนจุดเริ่มต้นของวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงอย่างเป็นทางการ และอาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในระยะถัดไป (การประชุมกนง. ครั้งถัดไป วันที่ 16 ต.ค. 67 และ 18 ธ.ค. 67)
ในกรณีที่ กนง. มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม ประเมินช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก คาดการณ์หนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคแต่ละประเทศในทางอ้อมช่วงถัดไป ซึ่งทางทฤษฎีเชื่อกันว่าการส่งผ่านนโยบายการเงินจะมีผลต่อเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
พร้อมกับองค์ประกอบรวมมองว่าช่วยลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกไทย และหนุนต่อภาคท่องเที่ยวไทย ตามทิศทางนักท่องเที่ยวต่างชาติออกเดินทาง เป็นแรงขับเคลื่อนจีดีพีไทยปีหน้า
ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้ยังไม่ได้ส่งผลต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากนัก ยกเว้น BBL ที่มีพอร์ตสินเชื่อสกุลเงินต่างประเทศราว 26% ของพอร์ตสินเชื่อ (สัดส่วนราว 10% ของพอร์ตสินเชื่ออยู่ในอินโดฯ ผ่าน ธนาคาร Permata ที่ BBL ถือหุ้นอยู่ราว 89%) โดยจะรับผลกระทบจากการลงดอกเบี้ยเร็วกว่ากลุ่ม
อย่างไรก็ดี BBL มีช่องทางในการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบ ผ่านต้นทุนเงินฝากออมทรัพย์หลังปัจจุบันอยู่ที่ 0.45% - 0.55% ประกอบกับระดับการตั้งสำรองสูงในช่วงที่ผานมาช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถบริหารจัดการผ่าน ECL อีกทั้ง Non – NII ที่มีพัฒนาการตาม capital market (รวมถึงธนาคารอื่นๆ) เป็นปัจจัยลดแรงปะทะต่อประมาณการ
ทั้งนี้ ประมาณการกำไรกลุ่ม (8 ธนาคาร) ปี 2567 – 68 อยู่บนสมมติฐานการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย 1 ครั้ง จึงคงประมาณการเดิม
ด้าน SETBANK จากต้นปีมาถึงปัจจุบันเพิ่ม 5.5% เทียบ SET บวก 1.4% ทำให้ราคาหุ้นอัพไซด์จำกัดต่อมูลค่าเหมาะสมในปี 2567 จึงมองว่าการขายทำกำไรบางส่วนช่วงสั้นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เชื่อว่าหลังอัพไซด์ต่อราคาหุ้นเริ่มเปิดในระดับ 5% - 10% หรือมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดขั้น จะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นช่วงถัดไป ยังเลือก KBANK และ KTB เป็น Top pick กลุ่มฯ จากการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ
โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ให้มุมมองว่า กลุ่มธนาคารที่ถูกขาย เพื่อลดความเสี่ยงการปรับลดดอกเบี้ยออกมาก่อน แต่มีโอกาสเห็น Buy on Facts แม้ว่าวงจรดอกเบี้ยเข้าสู่ขาลงจะกระทบ NIM แต่จะถูกชดเชยด้วยการเติบโตของสินเชื่อและค่าธรรมเนียมที่สูงขึ้น การบริหารเงินทุน และความเสี่ยงด้านเครดิตที่ต่ำลง ผสาน ROE สูงเฉลี่ย 9% และ Valuation Discount หนุนคาดเห็นแรงซื้อกลับ เน้น KBANK, KTB, BBL
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ให้มุมมองว่าธนาคารกลางสหรัฐฯปรับลดนโยบายอัตราดอกเบี้ยลง เป็นตัวสะท้อนจุดเริ่มต้นของวัฎจักรดอกเบี้ยขาลงอย่างเป็นทางการ และอาจส่งผลต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยในระยะถัดไป (การประชุมกนง. ครั้งถัดไป วันที่ 16 ต.ค. 67 และ 18 ธ.ค. 67)
ในกรณีที่ กนง. มีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายตาม ประเมินช่วยให้ค่าเงินบาทมีเสถียรภาพมากขึ้น ในขณะที่วัฎจักรดอกเบี้ยขาลงที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก คาดการณ์หนุนกำลังซื้อของผู้บริโภคแต่ละประเทศในทางอ้อมช่วงถัดไป ซึ่งทางทฤษฎีเชื่อกันว่าการส่งผ่านนโยบายการเงินจะมีผลต่อเศรษฐกิจในอีก 6 เดือนข้างหน้า
พร้อมกับองค์ประกอบรวมมองว่าช่วยลดแรงกดดันต่อภาคส่งออกไทย และหนุนต่อภาคท่องเที่ยวไทย ตามทิศทางนักท่องเที่ยวต่างชาติออกเดินทาง เป็นแรงขับเคลื่อนจีดีพีไทยปีหน้า
ส่วนการลดอัตราดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้ยังไม่ได้ส่งผลต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์มากนัก ยกเว้น BBL ที่มีพอร์ตสินเชื่อสกุลเงินต่างประเทศราว 26% ของพอร์ตสินเชื่อ (สัดส่วนราว 10% ของพอร์ตสินเชื่ออยู่ในอินโดฯ ผ่าน ธนาคาร Permata ที่ BBL ถือหุ้นอยู่ราว 89%) โดยจะรับผลกระทบจากการลงดอกเบี้ยเร็วกว่ากลุ่ม
อย่างไรก็ดี BBL มีช่องทางในการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบ ผ่านต้นทุนเงินฝากออมทรัพย์หลังปัจจุบันอยู่ที่ 0.45% - 0.55% ประกอบกับระดับการตั้งสำรองสูงในช่วงที่ผานมาช่วยให้ธนาคารพาณิชย์สามารถบริหารจัดการผ่าน ECL อีกทั้ง Non – NII ที่มีพัฒนาการตาม capital market (รวมถึงธนาคารอื่นๆ) เป็นปัจจัยลดแรงปะทะต่อประมาณการ
ทั้งนี้ ประมาณการกำไรกลุ่ม (8 ธนาคาร) ปี 2567 – 68 อยู่บนสมมติฐานการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายไทย 1 ครั้ง จึงคงประมาณการเดิม
ด้าน SETBANK จากต้นปีมาถึงปัจจุบันเพิ่ม 5.5% เทียบ SET บวก 1.4% ทำให้ราคาหุ้นอัพไซด์จำกัดต่อมูลค่าเหมาะสมในปี 2567 จึงมองว่าการขายทำกำไรบางส่วนช่วงสั้นเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เชื่อว่าหลังอัพไซด์ต่อราคาหุ้นเริ่มเปิดในระดับ 5% - 10% หรือมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ชัดขั้น จะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นช่วงถัดไป ยังเลือก KBANK และ KTB เป็น Top pick กลุ่มฯ จากการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ทำได้ดีกว่ากลุ่มฯ