Wealth Sharing
BAM ตั้งเป้าปี66 ผลเรียกเก็บอยู่ที่ 17,800 ลบ. หลังโชว์ผลงานปี65 กำไรสุทธิ 2,725 ลบ.เพิ่มขึ้น 5%
01 มีนาคม 2566
นายบัณฑิต อนันตมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BAM กล่าวว่า ผลการดำเนินงานในปี 2565 ที่ผ่านมา ถือว่า BAM ทำได้ในระดับที่น่าพอใจแม้สภาวะเศรษฐกิจยังคงชะลอตัวโดยมีกำไรสุทธิ 2,725 ล้านบาท สูงกว่าปี 2564 ที่มีกำไรอยู่ที่ 2,600 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5%
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการสร้างผลเรียกเก็บได้ 16,951 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของเป้าหมายที่ 17,488 ล้านบาท เทียบกับปี 2564 มีผลเรียกเก็บ 15,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% พร้อมทั้งยังสามารถรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) เข้ามาบริหารจัดการกว่า 16,000 ล้านบาท โดยการประมูลซื้อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ และการขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี โดยในปี 2566 ตั้งเป้าหมายผลเรียกเก็บไว้ที่ 17,800 ล้านบาท รวมทั้งการรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในระดับเดียวกับช่วงปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน BAM มี NPL อยู่ในความดูแล คิดเป็นภาระหนี้รวม 467,080 ล้านบาท และ NPA รวมมูลค่ากว่า 67,231 ล้านบาท
ด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ในปี 2565 ที่ผ่านมา BAM สร้างผลเรียกเก็บอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มฐานลูกหนี้ TDR ผ่อนชำระจำนวน 2,423 ราย รวมทั้งการอนุมัติโครงการเพื่อสร้างโอกาสในการประนอมหนี้ เช่น โครงการสุขใจได้บ้านคืน โครงการ BAM ช่วยฟื้นคืนธุรกิจ และโครงการ BAM ช่วยลดเพื่อปลดหนี้เกษตรกร อีกทั้งยังเร่งผลเรียกเก็บจากการขายทอดตลาดด้วยการเร่งให้มีการประกาศขายทอดตลาดและติดตามเงินรอรับจากการขายทอดตลาด
ในขณะที่การบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) BAM ได้เร่งการขายเพื่อลดระยะเวลาการถือครองด้วยการขายทรัพย์ให้นักลงทุนรายย่อยรวม 1,029 ล้านบาท และขายทรัพย์ราคาพิเศษจำนวน 1,192 รายการ คิดเป็นยอดเงิน 2,262 ล้านบาท พร้อมทั้งส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญ โปรโมชั่นและการจัดงานต่างๆ อาทิ BAM Summer Sale, คอนโดราคามหาชน, BAM Super Grand Sale และบ้านดี สี่ดาว รวมทั้งยังเพิ่มฐานลูกค้าผ่อนชำระเป็นจำนวน 522 ราย ในขณะเดียวกันยังทำการ Renovate ทรัพย์ให้พร้อมขาย โดยมีทรัพย์ Renovate ที่พร้อมขายจำนวน 2,791 รายการ
นายบัณฑิต กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2566 ว่า BAM ยังคงทำธุรกิจเชิงรุกอย่างต่อเนื่องด้วย กลยุทธ์การบริหารจัดการ NPL ที่ประกอบด้วยการสร้างโอกาสประนอมหนี้ผ่านโครงการต่างๆ การเพิ่มลูกหนี้ TDR แบบผ่อนชำระ 3,000 ราย การเร่งรัดการขายทอดตลาด การบริหารหนี้ Clean Loanส่วนการบริหารจัดการ NPA วางแผนเพิ่มฐานลูกค้าผ่อนชำระ 1,000 ราย การจัดการทรัพย์ให้พร้อมขาย/ให้เช่า การส่งเสริมและสนับสนุนการขาย เช่น การเพิ่มจำนวนนักลงทุนรายย่อยและการจับมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างเครือข่ายและเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
รวมทั้งการดำเนินกลยุทธ์ที่สำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและบริหารภาษี การซื้อทรัพย์ NPL และ NPA แบบ Selective การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT (BAM Digital Enterprise) การขยายขอบเขตธุรกิจและธุรกรรม รวมทั้งการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ESG โดยสนับสนุนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มภายใต้แนวคิด 5 ดี ประกอบด้วย ดีต่อประเทศ ดีต่อสังคม ดีต่อลูกค้าหรือลูกหนี้ ดีต่อผู้ถือหุ้น และดีต่อพนักงาน เพื่อสร้างการเติบโตในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการสร้างผลเรียกเก็บได้ 16,951 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของเป้าหมายที่ 17,488 ล้านบาท เทียบกับปี 2564 มีผลเรียกเก็บ 15,996 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6% พร้อมทั้งยังสามารถรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) และทรัพย์สินรอการขาย (NPA) เข้ามาบริหารจัดการกว่า 16,000 ล้านบาท โดยการประมูลซื้อจากสถาบันการเงินต่าง ๆ และการขายทอดตลาดที่กรมบังคับคดี โดยในปี 2566 ตั้งเป้าหมายผลเรียกเก็บไว้ที่ 17,800 ล้านบาท รวมทั้งการรับซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเข้ามาบริหารในระดับเดียวกับช่วงปีที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน BAM มี NPL อยู่ในความดูแล คิดเป็นภาระหนี้รวม 467,080 ล้านบาท และ NPA รวมมูลค่ากว่า 67,231 ล้านบาท
ด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ในปี 2565 ที่ผ่านมา BAM สร้างผลเรียกเก็บอย่างยั่งยืนด้วยการเพิ่มฐานลูกหนี้ TDR ผ่อนชำระจำนวน 2,423 ราย รวมทั้งการอนุมัติโครงการเพื่อสร้างโอกาสในการประนอมหนี้ เช่น โครงการสุขใจได้บ้านคืน โครงการ BAM ช่วยฟื้นคืนธุรกิจ และโครงการ BAM ช่วยลดเพื่อปลดหนี้เกษตรกร อีกทั้งยังเร่งผลเรียกเก็บจากการขายทอดตลาดด้วยการเร่งให้มีการประกาศขายทอดตลาดและติดตามเงินรอรับจากการขายทอดตลาด
ในขณะที่การบริหารจัดการทรัพย์สินรอการขาย (NPA) BAM ได้เร่งการขายเพื่อลดระยะเวลาการถือครองด้วยการขายทรัพย์ให้นักลงทุนรายย่อยรวม 1,029 ล้านบาท และขายทรัพย์ราคาพิเศษจำนวน 1,192 รายการ คิดเป็นยอดเงิน 2,262 ล้านบาท พร้อมทั้งส่งเสริมการขายผ่านแคมเปญ โปรโมชั่นและการจัดงานต่างๆ อาทิ BAM Summer Sale, คอนโดราคามหาชน, BAM Super Grand Sale และบ้านดี สี่ดาว รวมทั้งยังเพิ่มฐานลูกค้าผ่อนชำระเป็นจำนวน 522 ราย ในขณะเดียวกันยังทำการ Renovate ทรัพย์ให้พร้อมขาย โดยมีทรัพย์ Renovate ที่พร้อมขายจำนวน 2,791 รายการ
นายบัณฑิต กล่าวถึงทิศทางการดำเนินธุรกิจปี 2566 ว่า BAM ยังคงทำธุรกิจเชิงรุกอย่างต่อเนื่องด้วย กลยุทธ์การบริหารจัดการ NPL ที่ประกอบด้วยการสร้างโอกาสประนอมหนี้ผ่านโครงการต่างๆ การเพิ่มลูกหนี้ TDR แบบผ่อนชำระ 3,000 ราย การเร่งรัดการขายทอดตลาด การบริหารหนี้ Clean Loanส่วนการบริหารจัดการ NPA วางแผนเพิ่มฐานลูกค้าผ่อนชำระ 1,000 ราย การจัดการทรัพย์ให้พร้อมขาย/ให้เช่า การส่งเสริมและสนับสนุนการขาย เช่น การเพิ่มจำนวนนักลงทุนรายย่อยและการจับมือกับพันธมิตร เพื่อสร้างเครือข่ายและเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างยั่งยืน
รวมทั้งการดำเนินกลยุทธ์ที่สำคัญอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและบริหารภาษี การซื้อทรัพย์ NPL และ NPA แบบ Selective การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT (BAM Digital Enterprise) การขยายขอบเขตธุรกิจและธุรกรรม รวมทั้งการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน ESG โดยสนับสนุนผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มภายใต้แนวคิด 5 ดี ประกอบด้วย ดีต่อประเทศ ดีต่อสังคม ดีต่อลูกค้าหรือลูกหนี้ ดีต่อผู้ถือหุ้น และดีต่อพนักงาน เพื่อสร้างการเติบโตในทุกมิติที่เกี่ยวข้อง