Talk of The Town
สรุป! พฤติกรรมสุดแสบ ก๊วนอดีตกรรมการ-ผู้บริหาร NUSA ไซฟ่อนเงิน-แจ้งข้อมูลเท็จ-ตกแต่งบัญชี
23 กันยายน 2567
กลายเป็นประเด็นร้อนในตลาดหุ้นไทยอีกแล้ว เมื่อเหล่าอดีตกรรมการและผู้บริหารของ บริษัท ณุศาศิริ จำกัด (มหาชน) หรือ NUSA สร้างเรื่องที่ผิดหลักธรรมภิบาลที่ขัดต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดหุ้นไทยทั้งของก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์
โดยพฤติกรรมสุดแสบของเหล่าอดีตผู้บริหาร และกรรมการของ NUSA ได้แก่
1. กรณีธุรกรรมการเข้าลงทุนซื้อโรงแรมที่ต่างประเทศในราคาไม่สมเหตุสมผลอย่างมีนัยสำคัญ
2. ธุรกรรมการขายห้องชุดของ NUSA ในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน 3.การผ่องถ่ายเงินจาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด
และกรณีการแสดงเอกสารและข้อมูลเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ/หรือ ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี พร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
สำหรับกลุ่มก๊วนอดีตกรรมการ และผู้บริหารสุดแสบประกอบไปด้วย ได้แก่ 1.นางศิริญา เทพเจริญ 2.นายวิษณุ เทพเจริญ 3. นายสมพิจิตร ชัยชนะจารักษ์ และ 4.นายนนทวัชร์ ธนสุวิวัฒน์
โดยทั้ง 4 คนได้ร่วมกันกระทำการโดยทุจริตลงทุนซื้อโรงแรม Panacee Grand Hotel Roemerbad ที่ประเทศเยอรมนี (Panacee) ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมินที่ประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach) อย่างไม่สมเหตุสมผลและร่วมกันกระทำการโดยทุจริตขายห้องชุดซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ของ NUSA ในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน รวมทั้งผ่องถ่ายเงินออกจาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จนทำให้ NUSA ได้รับความเสียหาย
โดยมี นางสาววรินภร จันทรโรจน์วานิช ซึ่งเป็นผู้ขายโรงแรม Panacee และนางโฉมสุดา รุ่งเรืองเนาวรัตน์ กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทผู้ซื้อห้องชุดจาก NUSA เป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือการกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. ได้พบว่า เงินมัดจำค่าซื้อโรงแรมที่ NUSA ชำระให้แก่นางสาววรินภร ผู้ขายโรงแรม ไม่ได้ถูกนำเข้าบัญชีของผู้ขาย แต่กลับเข้าบัญชีกลุ่มกรรมการและผู้บริหาร NUSA ได้แก่ นางศิริญา นายวิษณุ และนายนนทวัชร์ รวมถึงบุคคลใกล้ชิดเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของเงินขายโรงแรมดังกล่าว
และพฤติกรรมสุดแสบอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในชั้นการทำคำชี้แจงต่อ ก.ล.ต. ในกรณีข้างต้น กรรมการและผู้บริหารของ NUSA ในขณะกระทำผิดทั้ง 4 ราย ได้นำส่งพยานหลักฐานเอกสารและข้อมูลอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต. โดยได้นำส่งรายงานของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเป็นเท็จ เพื่อลวงไม่ให้ ก.ล.ต. ทราบมูลค่าที่แท้จริงตามบัญชีของโรงแรมดังกล่าว
อีกทั้งก.ล.ต. ยังพบว่า ได้ทำการตกแต่งบัญชีเพื่อลวงผู้สอบบัญชีของบริษัทให้เชื่อว่า NUSA ได้รับชำระหนี้ค่าห้องชุดครบถ้วนจากบริษัทผู้ซื้อแล้ว เพื่อไม่ให้ผู้สอบบัญชีมีข้อสงสัยในการบันทึกบัญชีของธุรกรรมนี้
กรณีการกระทำทุจริตที่ผิดหลักธรรมาภิบาลในตลาดหุ้นไทยยังคงมีให้เห็นกันอยู่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานก.ล.ต.จะพยายามสร้างความเชื่อมั่น แต่สุดท้ายแล้วก็ยังมีผู้ที่คอยทำลายอยู่ดี
โดยพฤติกรรมสุดแสบของเหล่าอดีตผู้บริหาร และกรรมการของ NUSA ได้แก่
1. กรณีธุรกรรมการเข้าลงทุนซื้อโรงแรมที่ต่างประเทศในราคาไม่สมเหตุสมผลอย่างมีนัยสำคัญ
2. ธุรกรรมการขายห้องชุดของ NUSA ในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน 3.การผ่องถ่ายเงินจาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด
และกรณีการแสดงเอกสารและข้อมูลเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และ/หรือ ก.ล.ต. และผู้สอบบัญชี พร้อมกันนี้ได้ส่งเรื่องต่อไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.)
สำหรับกลุ่มก๊วนอดีตกรรมการ และผู้บริหารสุดแสบประกอบไปด้วย ได้แก่ 1.นางศิริญา เทพเจริญ 2.นายวิษณุ เทพเจริญ 3. นายสมพิจิตร ชัยชนะจารักษ์ และ 4.นายนนทวัชร์ ธนสุวิวัฒน์
โดยทั้ง 4 คนได้ร่วมกันกระทำการโดยทุจริตลงทุนซื้อโรงแรม Panacee Grand Hotel Roemerbad ที่ประเทศเยอรมนี (Panacee) ในราคาที่สูงกว่าราคาประเมินที่ประเมินด้วยวิธีเปรียบเทียบราคาตลาด (Market approach) อย่างไม่สมเหตุสมผลและร่วมกันกระทำการโดยทุจริตขายห้องชุดซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ ของ NUSA ในราคาที่ต่ำกว่าราคาประเมิน รวมทั้งผ่องถ่ายเงินออกจาก NUSA เข้าบัญชีส่วนตัวและบุคคลใกล้ชิด อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น จนทำให้ NUSA ได้รับความเสียหาย
โดยมี นางสาววรินภร จันทรโรจน์วานิช ซึ่งเป็นผู้ขายโรงแรม Panacee และนางโฉมสุดา รุ่งเรืองเนาวรัตน์ กรรมการผู้มีอำนาจในบริษัทผู้ซื้อห้องชุดจาก NUSA เป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือการกระทำความผิดของกลุ่มบุคคลดังกล่าว
ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของ ก.ล.ต. ได้พบว่า เงินมัดจำค่าซื้อโรงแรมที่ NUSA ชำระให้แก่นางสาววรินภร ผู้ขายโรงแรม ไม่ได้ถูกนำเข้าบัญชีของผู้ขาย แต่กลับเข้าบัญชีกลุ่มกรรมการและผู้บริหาร NUSA ได้แก่ นางศิริญา นายวิษณุ และนายนนทวัชร์ รวมถึงบุคคลใกล้ชิดเป็นผู้ได้รับประโยชน์ของเงินขายโรงแรมดังกล่าว
และพฤติกรรมสุดแสบอีกเรื่องหนึ่งก็คือ ในชั้นการทำคำชี้แจงต่อ ก.ล.ต. ในกรณีข้างต้น กรรมการและผู้บริหารของ NUSA ในขณะกระทำผิดทั้ง 4 ราย ได้นำส่งพยานหลักฐานเอกสารและข้อมูลอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของ ก.ล.ต. โดยได้นำส่งรายงานของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระเป็นเท็จ เพื่อลวงไม่ให้ ก.ล.ต. ทราบมูลค่าที่แท้จริงตามบัญชีของโรงแรมดังกล่าว
อีกทั้งก.ล.ต. ยังพบว่า ได้ทำการตกแต่งบัญชีเพื่อลวงผู้สอบบัญชีของบริษัทให้เชื่อว่า NUSA ได้รับชำระหนี้ค่าห้องชุดครบถ้วนจากบริษัทผู้ซื้อแล้ว เพื่อไม่ให้ผู้สอบบัญชีมีข้อสงสัยในการบันทึกบัญชีของธุรกรรมนี้
กรณีการกระทำทุจริตที่ผิดหลักธรรมาภิบาลในตลาดหุ้นไทยยังคงมีให้เห็นกันอยู่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานก.ล.ต.จะพยายามสร้างความเชื่อมั่น แต่สุดท้ายแล้วก็ยังมีผู้ที่คอยทำลายอยู่ดี