ค่าเงินบาทอยู่จุดไหนเหมาะสม? หลังแข็งค่าไปแล้วกว่า 10% อาจกระทบส่งออกสูงถึง 1.3 แสนลบ.
เงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด กลุ่มงานตลาดการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินค่าเงินบาทวันนี้เคลื่อนไหวในกรอบ 32.85-33.05 บาท/ดอลลาร์
ด้านดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐและ US Treasury yields เคลื่อนไหว Sideways หลังเลข PMI ภาคการผลิต สหรัฐฯ ออกมาแย่กว่าคาด แต่ภาคบริการดีกว่าคาดเล็กน้อย
ขณะที่หอการค้าไทยและภาคเอกชน เรียกร้องให้ กนง. ปรับลดดอกเบี้ยเพื่อลดผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่าถึง 10% ใน 3 เดือน ซึ่งกระทบกับส่งออกและ ท่องเที่ยวไทย ซ้ำทำให้ต้นทุนการผลิตสูงและความสามารถในการแข่งขัน ไทย-ตลาดโลกต่ำลง มองอัตราแลกเปลี่ยนที่เหมาะสมอยู่ที่ 34 บาท/ดอลลาร์
โดยนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ประเมิน ค่าเงินบาททยอยแข็งค่าเร็วและแรง ตามกลไกของ DOLLAR INDEX ที่อ่อนค่า ตั้งแต่ต้นไตรมาส ค่าเงินบาท แข็งค่ากว่า 10.3%(QTD) ซึ่งหากค่าเงินบาทแข็งค่าอยู่ระดับ
ดังกล่าว จนถึงสิ้นปีอาจกระทบต่อภาคการส่งออกสูงถึง 1.3 แสนล้านบาท (ตามการคาดการณ์ของตลาดฯ)
ทั้งนี้จากข้อมูลในอดีต เวลาเงินบาทแข็งค่า มักกดดันให้สัดส่วน “มูลค่าส่งออก/GDP ลดลง” โดยมีค่า CORRELATION ระหว่างกันสูงถึง 0.7
ดังนั้นลุ้น กนง. ลดดอกเบี้ยภายในปีนี้ เพื่อพยุงภาคส่งออก และการท่องเที่ยวที่มีสัดส่วนสูงถึง 65-70% ของมูลค่า GDP ไทย และช่วยพยุงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าไปมากกว่านี้ ซึ่งหากมีการลดดอกเบี้ยจริง จะช่วยหนุน UPSIDE ของ TARGET SET ปีนี้ราว 60 จุด