กระดานข่าว
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 2/66 มั่นใจเศรษฐกิจไทยฟื้นตัว
01 มีนาคม 2566
ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย-จีน ไตรมาส 2/66 มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัว นักท่องเที่ยวจีน 7-8 ล้านคน จะมาเยือนไทยในปีนี้ จำเป็นต้องเร่งปรับปรุงให้บริการการเข้าเมืองและอำนวยความสะดวกที่สนามบินเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างไทย-จีน
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น จาก คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร และกรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวนประมาณ 300 คน ระหว่างวันที่ 16 – 20 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปี 2566 ได้ดังนี้
การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยจีนครั้งนี้เป็นครั้งแรกสำหรับปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการ หลังจากที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ได้คลี่คลายลง ให้มีการเปิดประเทศและนักท่องเที่ยวจีนสามารถเดินทางไปยังต่างประเทศ ได้ทั้งแบบรายบุคคลและแบบที่เป็นกลุ่มผ่านบริษัททัวร์ มีประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่ได้รับโอกาส การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนดังกล่าวย่อมมีผลดีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว
ก่อนสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 นักท่องเที่ยวจีนมาเยือนประเทศไทยปีละประมาณ 11 ล้านคน การเปิดประเทศของจีนในครั้งนี้ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประมาณการว่า จะมีนักท่องเที่ยวจีนกลับมาเยือนไทย 7 ล้านคน ในปี 2566 แต่การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยพบว่าผู้ตอบการสำรวจร้อยละ 49.3 และร้อยละ 41.8 คาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะมาเยือนไทยระหว่าง 7 – 8 ล้านคน และมากกว่า 8 ล้านคนตามลำดับ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนน่าจะเกินเป้ากว่าที่ทางการคาดไว้
จากการสำรวจยังพบว่าไทยจะต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนในหลายด้าน เพื่อรองรับและดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน โดยมีประเด็นหลักที่ต้องเร่งแก้ไข 5 ประการ มีความสำคัญตามลำดับดังต่อไปนี้ คือ 2 ประการแรกที่ผู้ตอบการสำรวจให้ความสำคัญสูง ประกอบด้วย การปรับปรุงการให้บริการการเข้าเมืองและอำนวยความสะดวกที่สนามบิน และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างไทยและจีน ส่วนอีก 3 ประการที่ได้รับความสำคัญที่พอๆกันมาเป็นลำดับรอง คือ การจัดทำมาตรการทางด้านความสะอาดและความปลอดภัยในการเดินทางในประเทศ การจัดเตรียมความพร้อมของโรงแรมและระบบการขนส่งให้คล่องตัวมากขึ้น และการจัดให้มีศูนย์ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาให้กับนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะ เช่น สามารถสื่อสารและให้ข้อมูลเป็นภาษาจีนได้
การสำรวจยังได้ถามถึงโอกาสที่นักธุรกิจจากหอการค้าไทยจีนจะเดินทางไปติดต่อธุรกิจในจีน พบว่าร้อยละ 23.2 จะเดินทางไปติดต่อธุรกิจภายในเดือนมีนาคม ร้อยละ 30.7 จะเดินทางไปในไตรมาสที่สอง และร้อยละ 11.1 จะเดินทางไปยังครึ่งปีหลังของปีนี้ กล่าวได้ว่าร้อยละ 67 ได้วางแผนที่จะเดินทางไปติดต่อธุรกิจในจีนเป็นที่เรียบร้อยในปีนี้
การสำรวจได้ถามถึงความมั่นใจในเศรษฐกิจไทยที่จะฟื้นก่อนสิ้นปี 2566 เกือบทุกคน (ร้อยละ 91.8) มีความมั่นใจในการฟื้นตัวในปีนี้ โดยพบว่าร้อยละ 34.6 มีความมั่นใจมาก ร้อยละ 8.6 มีความมั่นใจมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 48.6 มีความมั่นใจมากพอควร จึงมีคำถามต่อเนื่องถึงแผนการลงทุนและจ้างงานในปี 2566 พบว่าร้อยละ 30 จะมีการลงทุนใหม่และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.3 จะมีการลงทุนใหม่แต่ยังไม่เพิ่มจำนวนการจ้างงาน และอีกร้อยละ 28.6 ยังประกอบกิจการเช่นเดิมและมีการจ้างงานจำนวนเดิม
อย่างไรก็ตามการสำรวจได้สอบถามถึงปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจในปี 2566 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มาจากในประเทศคือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อค่าครองชีพ หนี้สินของครัวเรือนและหนี้เสียของสถาบันการเงินมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงานและอัตราค่าจ้างแรงงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศคือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการชะลอตัวของการส่งออกเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย
นักธุรกิจหอการค้าไทยจีนมัความเห็นว่า ในปี 2566 รัฐบาลควรมีมาตรการทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจไทย จากการสำรวจพบว่ามี 4 มาตรการ เรียงตามลำดับดังนี้ (1) มาตรการแก้ไขการขาดแคลนแรงงาน และการดึงคนไทยให้กลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงาน (2) มาตรการสนับสนุนการสร้างธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (3) มาตรการที่ควบคุมราคาสินค้าและบริการ เพื่อดูแลค่าครองชีพและรวมถึงการเพิ่มสวัสดิการที่ภาครัฐจัดให้ประชาชน และ (4) มาตรการใหม่ๆเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
การสำรวจความเชื่อมั่นในระยะสั้นของไตรมาสหน้า
ผลการสำรวจ การคาดการณ์ในไตรมาสที่สองโดยเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ ร้อยละ 60.4 สมาชิกหอการค้าไทยจีนและสมาพันธ์หอการค้าไทยจีนลงความเห็นว่าเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของจีนดีขึ้น และร้อยละ 62.1 มีความเห็นว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 63.6 คาดว่าจะมีการลงทุนจากจีนในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์เศรษฐกิจจีนที่เริ่มกลับมาดี ขณะเดียวกันร้อยละ 65 คาดว่าไทยจะนำสินค้าจากจีนเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนนั้นยังมีความแนบแน่นอย่างใกล้ชิด
ในการสำรวจความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองเมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบการสำรวจ มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 29.3 คิดว่าเศรษฐกิจไทยยังทรงๆเช่นเดิม จากแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าวร้อยละ 49.3 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 35.7 คิดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อได้สอบถามเรื่องความคิดเห็นกับอัตราแลกเปลี่ยนนั้นพบว่าผู้ตอบการสำรวจลงความเห็นที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถสรุปผลได้ว่าการคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด
นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการ หอการค้าไทย-จีน เปิดเผยว่า หอการค้าไทย-จีน และคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่น จาก คณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คณะกรรมการบริหาร และสมาชิกหอการค้าไทยจีน และประธาน ผู้บริหาร และกรรมการสมาพันธ์หอการค้าไทยจีน และกลุ่มนักธุรกิจรุ่นใหม่หอการค้าไทยจีน จำนวนประมาณ 300 คน ระหว่างวันที่ 16 – 20 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 2 ของปี 2566 ได้ดังนี้
การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยจีนครั้งนี้เป็นครั้งแรกสำหรับปี พ.ศ. 2566 ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายหลายประการ หลังจากที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ได้คลี่คลายลง ให้มีการเปิดประเทศและนักท่องเที่ยวจีนสามารถเดินทางไปยังต่างประเทศ ได้ทั้งแบบรายบุคคลและแบบที่เป็นกลุ่มผ่านบริษัททัวร์ มีประเทศไทยเป็นชาติหนึ่งที่ได้รับโอกาส การกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนดังกล่าวย่อมมีผลดีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว
ก่อนสถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 นักท่องเที่ยวจีนมาเยือนประเทศไทยปีละประมาณ 11 ล้านคน การเปิดประเทศของจีนในครั้งนี้ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวประมาณการว่า จะมีนักท่องเที่ยวจีนกลับมาเยือนไทย 7 ล้านคน ในปี 2566 แต่การสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยพบว่าผู้ตอบการสำรวจร้อยละ 49.3 และร้อยละ 41.8 คาดว่านักท่องเที่ยวจีนจะมาเยือนไทยระหว่าง 7 – 8 ล้านคน และมากกว่า 8 ล้านคนตามลำดับ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวจากจีนน่าจะเกินเป้ากว่าที่ทางการคาดไว้
จากการสำรวจยังพบว่าไทยจะต้องมีการปรับปรุงอย่างเร่งด่วนในหลายด้าน เพื่อรองรับและดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน โดยมีประเด็นหลักที่ต้องเร่งแก้ไข 5 ประการ มีความสำคัญตามลำดับดังต่อไปนี้ คือ 2 ประการแรกที่ผู้ตอบการสำรวจให้ความสำคัญสูง ประกอบด้วย การปรับปรุงการให้บริการการเข้าเมืองและอำนวยความสะดวกที่สนามบิน และการเพิ่มจำนวนเที่ยวบินระหว่างไทยและจีน ส่วนอีก 3 ประการที่ได้รับความสำคัญที่พอๆกันมาเป็นลำดับรอง คือ การจัดทำมาตรการทางด้านความสะอาดและความปลอดภัยในการเดินทางในประเทศ การจัดเตรียมความพร้อมของโรงแรมและระบบการขนส่งให้คล่องตัวมากขึ้น และการจัดให้มีศูนย์ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกและแก้ปัญหาให้กับนักท่องเที่ยวจีนโดยเฉพาะ เช่น สามารถสื่อสารและให้ข้อมูลเป็นภาษาจีนได้
การสำรวจยังได้ถามถึงโอกาสที่นักธุรกิจจากหอการค้าไทยจีนจะเดินทางไปติดต่อธุรกิจในจีน พบว่าร้อยละ 23.2 จะเดินทางไปติดต่อธุรกิจภายในเดือนมีนาคม ร้อยละ 30.7 จะเดินทางไปในไตรมาสที่สอง และร้อยละ 11.1 จะเดินทางไปยังครึ่งปีหลังของปีนี้ กล่าวได้ว่าร้อยละ 67 ได้วางแผนที่จะเดินทางไปติดต่อธุรกิจในจีนเป็นที่เรียบร้อยในปีนี้
การสำรวจได้ถามถึงความมั่นใจในเศรษฐกิจไทยที่จะฟื้นก่อนสิ้นปี 2566 เกือบทุกคน (ร้อยละ 91.8) มีความมั่นใจในการฟื้นตัวในปีนี้ โดยพบว่าร้อยละ 34.6 มีความมั่นใจมาก ร้อยละ 8.6 มีความมั่นใจมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 48.6 มีความมั่นใจมากพอควร จึงมีคำถามต่อเนื่องถึงแผนการลงทุนและจ้างงานในปี 2566 พบว่าร้อยละ 30 จะมีการลงทุนใหม่และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 39.3 จะมีการลงทุนใหม่แต่ยังไม่เพิ่มจำนวนการจ้างงาน และอีกร้อยละ 28.6 ยังประกอบกิจการเช่นเดิมและมีการจ้างงานจำนวนเดิม
อย่างไรก็ตามการสำรวจได้สอบถามถึงปัจจัยเสี่ยงในการทำธุรกิจในปี 2566 พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่มาจากในประเทศคือ อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผลต่อค่าครองชีพ หนี้สินของครัวเรือนและหนี้เสียของสถาบันการเงินมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนแรงงานและอัตราค่าจ้างแรงงานมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศคือ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการชะลอตัวของการส่งออกเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย
นักธุรกิจหอการค้าไทยจีนมัความเห็นว่า ในปี 2566 รัฐบาลควรมีมาตรการทางเศรษฐกิจเพิ่มเติม เพื่อที่จะฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจไทย จากการสำรวจพบว่ามี 4 มาตรการ เรียงตามลำดับดังนี้ (1) มาตรการแก้ไขการขาดแคลนแรงงาน และการดึงคนไทยให้กลับเข้ามาสู่ตลาดแรงงาน (2) มาตรการสนับสนุนการสร้างธุรกิจใหม่ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (3) มาตรการที่ควบคุมราคาสินค้าและบริการ เพื่อดูแลค่าครองชีพและรวมถึงการเพิ่มสวัสดิการที่ภาครัฐจัดให้ประชาชน และ (4) มาตรการใหม่ๆเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
การสำรวจความเชื่อมั่นในระยะสั้นของไตรมาสหน้า
ผลการสำรวจ การคาดการณ์ในไตรมาสที่สองโดยเปรียบเทียบกับไตรมาสแรกของปีนี้ ร้อยละ 60.4 สมาชิกหอการค้าไทยจีนและสมาพันธ์หอการค้าไทยจีนลงความเห็นว่าเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนโดยรวมของจีนดีขึ้น และร้อยละ 62.1 มีความเห็นว่าการส่งออกของไทยไปยังจีนจะเพิ่มขึ้น และร้อยละ 63.6 คาดว่าจะมีการลงทุนจากจีนในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์เศรษฐกิจจีนที่เริ่มกลับมาดี ขณะเดียวกันร้อยละ 65 คาดว่าไทยจะนำสินค้าจากจีนเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน กล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับจีนนั้นยังมีความแนบแน่นอย่างใกล้ชิด
ในการสำรวจความเชื่อมั่นของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองเมื่อเทียบกับไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ตอบการสำรวจ มีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยจะดีขึ้น และร้อยละ 29.3 คิดว่าเศรษฐกิจไทยยังทรงๆเช่นเดิม จากแนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าวร้อยละ 49.3 คาดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์จะปรับตัวดีขึ้น ในขณะที่ร้อยละ 35.7 คิดว่าดัชนีตลาดหลักทรัพย์ยังไม่เปลี่ยนแปลงไปจากไตรมาสแรกปีนี้ เมื่อได้สอบถามเรื่องความคิดเห็นกับอัตราแลกเปลี่ยนนั้นพบว่าผู้ตอบการสำรวจลงความเห็นที่แตกต่างกัน จึงไม่สามารถสรุปผลได้ว่าการคาดคะเนอัตราแลกเปลี่ยนจะเปลี่ยนไปในทิศทางใด