ชื่อของพายุแต่ละชื่อนั้น ถูกตั้งขึ้นจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งพายุที่จะได้รับการตั้งชื่อจะต้องเป็นพายุที่เป็นระดับโซนร้อนขึ้นไป
ชื่อของพายุแต่ละชื่อนั้น ถูกตั้งขึ้นจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งพายุที่จะได้รับการตั้งชื่อจะต้องเป็นพายุที่เป็นระดับโซนร้อนขึ้นไป แต่ละประเทศจะมีโอกาสเสนอชื่อพายุประเทศละ 10 ชื่อ โดยจะกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ
สำหรับประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ จะร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐ และเวียดนาม โดยสมาชิกจะต้องส่งรายชื่อมาสมาชิกละ 10 ชื่อ ก็จะมีทั้งหมด 140 ชื่อ
จากนั้นจะมีการแบ่งชื่อพายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ
ชื่อของพายุจะใช้วนจากตารางที่ 1 ซึ่งมีทั้งหมด 28 ชื่อ ใช้ไล่ไปเรื่อย ๆ จนครบทุกตาราง และเมื่อครบตารางที่ 5 แล้วก็จะวนกลับไปใช้ตารางที่ 1 ใหม่ ยกตัวอย่างปีนี้ชื่อของพายุที่เราใช้อยู่ในตารางที่ 1 หลังจากพายุลูกล่าสุดใช้ชื่อ “ซูลิก” ไปแล้วลูกต่อไปก็จะมีชื่อว่าซีมารอน เชบี กระท้อน ไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบทั้ง 5 ตาราง เมื่อใช้จนครบก็จะวนกลับมาใช้ชื่อแรกของตารางที่1 ต่อ และจะวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด 140 ชื่อ
สำหรับชื่อพายุที่ประเทศไทยเสนอไป 10 ชื่อก็มี พระพิรุณ กระท้อน วิภา บัวลอย เมขลา อัสนี นิดา ชบา กุหลาบและขนุน อย่างไรก็ตาม หากพายุลูกไหนที่สร้างความเสียหายมาก ๆ ก็จะมีการถอดถอนชื่อออกโดยคณะกรรมการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/earth/176635/
ชื่อของพายุแต่ละชื่อนั้น ถูกตั้งขึ้นจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งพายุที่จะได้รับการตั้งชื่อจะต้องเป็นพายุที่เป็นระดับโซนร้อนขึ้นไป แต่ละประเทศจะมีโอกาสเสนอชื่อพายุประเทศละ 10 ชื่อ โดยจะกำหนดให้ใช้ภาษาท้องถิ่นของแต่ละประเทศในการตั้งชื่อพายุ
สำหรับประเทศไทย ซึ่งตั้งอยู่ในโซนมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกตอนบนและทะเลจีนใต้ จะร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐ และเวียดนาม โดยสมาชิกจะต้องส่งรายชื่อมาสมาชิกละ 10 ชื่อ ก็จะมีทั้งหมด 140 ชื่อ
จากนั้นจะมีการแบ่งชื่อพายุเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ชื่อ
ชื่อของพายุจะใช้วนจากตารางที่ 1 ซึ่งมีทั้งหมด 28 ชื่อ ใช้ไล่ไปเรื่อย ๆ จนครบทุกตาราง และเมื่อครบตารางที่ 5 แล้วก็จะวนกลับไปใช้ตารางที่ 1 ใหม่ ยกตัวอย่างปีนี้ชื่อของพายุที่เราใช้อยู่ในตารางที่ 1 หลังจากพายุลูกล่าสุดใช้ชื่อ “ซูลิก” ไปแล้วลูกต่อไปก็จะมีชื่อว่าซีมารอน เชบี กระท้อน ไล่ลงไปเรื่อย ๆ จนครบทั้ง 5 ตาราง เมื่อใช้จนครบก็จะวนกลับมาใช้ชื่อแรกของตารางที่1 ต่อ และจะวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทั้งหมด 140 ชื่อ
สำหรับชื่อพายุที่ประเทศไทยเสนอไป 10 ชื่อก็มี พระพิรุณ กระท้อน วิภา บัวลอย เมขลา อัสนี นิดา ชบา กุหลาบและขนุน อย่างไรก็ตาม หากพายุลูกไหนที่สร้างความเสียหายมาก ๆ ก็จะมีการถอดถอนชื่อออกโดยคณะกรรมการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
ที่มา : https://www.tnnthailand.com/news/earth/176635/