ใกล้เข้าสู่ช่วงปลายปีเป็นอีกหนึ่งช่วงที่เม็ดเงินจำนวนมากจะไหลเข้าสู่ตลาดทุน เนื่องจากมีนักลงทุนจำนวนไม่น้อยจะเข้าลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF)และกองทุนรวมเพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว (SSF) เพื่อรับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีนิติบุคคล
แต่สำหรับนักลงทุนคนไหนที่กำลังจะเริ่มต้นลงทุนและยังไม่มีแนวทางการจัดพอร์ตลงทุนว่าจะกระจายการลงทุนอย่างไรบ้าง ในวันนี้ทางเราจึงมีแนวทางการจัดพอร์ตลงทุนที่น่าสนใจโดยลงทุนผ่านกองทุน RMF และกองทุน SSF มาแนะนำให้แก่ผู้อ่าน
สำหรับคำแนะนำการลงทุนในกองทุนทั้ง 7 กอง อ้างอิงจากนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) ภายใต้มุมมองคัดสรรกองทุนลดหย่อนภาษีที่น่าสนใจในปีนี้เพื่อเป็นตัวช่วยสําหรับผู้ที่ต้องการวางแผนภาษี และสามารถลงทุนระยะยาวได้ตามเงื่อนไข เราจึงคัดเลือกกองทุนประหยัดภาษี ที่น่าลงทุนโดยแบ่งตามประเภทสินทรัพย์
โดยเริ่มกันที่กองทุนตราสารหนี้ไทย คือ กองทุนเปิดเค ตราสารหนี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFIRMF) ที่จะลงทุนตราสารหนี้คุณภาพในประเทศ ซึ่งมีความมั่นคงสูงและเป็นตัวช่วยจํากัดความเสี่ยงของพอร์ตลงทุนโดยรวมกองทุนเน้นตราสารหนี้มีความเสี่ยงด้านเครดิตตํ่า โดยมักถือครองตราสารที่ credit rating ตั้งแต่ A- ขึ้นไป เป็นสัดส่วนหลักของพอร์ต, ปัจจุบันเน้นตราสารหนี้ระยะยาวซึ่งได้รับประโยชน์จากวัฏจักรดอกเบี้ยไทยที่ใกล้จะกลับตัวเป็นขาลง โดย duration อยู่ที่ประมาณ 3 ปี 1 เดือน และ yield to maturity อยู่ที่ 3% ต่อปี (ณ 30 ส.ค.)
ต่อมากองทุนตราสารหนี้โลกที่มีให้เลือกระหว่าง 2 กองทุน คือ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ (UGISRMF) และ กองทุนเปิด ยูไนเต็ด โกลบอล อินคัม สตราทีจิค บอนด์ ฟันด์ หน่วยลงทุนชนิดเพื่อการออม (UGIS-SSF)
สำหรับกองทุนข้างต้น จะแสวงหาโอกาสในตราสารหนี้คุณภาพทั่วโลกหลายประเภท ผ่านทีมงานระดับโลกที่มุ่งปรับกลยุทธ์ตามสถานการณ์กองทุนหลัก (Pimco GlS Income) โดยมุ่งปรับกลยุทธ์ให้ยืดหยุ่นเหมาะสมกับสถานการณ์, duration อยู่ที่ประมาณ 3.1 ปี yield to maturity อยู่ที่ 6.8% ต่อปี อันดับเครดิตเฉลี่ยอยู่ที่ AA- (ณ 31 ก.ค.)
ถัดมากับกองทุนหุ้นไทย อย่าง กองทุนเปิดเค Target Net Zero หุ้นไทย-ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน (K-TNZ-ThaiESG) เป็น Passive Fund อิงกับดัชนี SET100 และมีค่าธรรมเนียมรายปีตํ่าเพียง 0.5% ต่อปี, เน้นลงทุนในหุ้นชั้นนําที่มีแผนดําเนินงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาโลกร้อนโดยเอาแนวทาง Implied Temperature Rise ที่คิดค้นโดยบลจ. Lombard Odier มาใช้ในกระบวนการประเมินบริษัท
และอีกหนึ่งกองทุนหุ้นไทย ก็คือ กองทุนเปิดอีสท์สปริง SETESG-ชนิดไทยเพื่อความยั่งยืน สะสมมูลค่า (ES-SETESG-ThaiESG-A) โดยเป็น Passive Fund เช่นเดียวกัน แต่จะลงทุนอิงกับดัชนี SETESG ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นยั่งยืนที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจัดทําขึ้น
ถัดมาเป็นกองทุนหุ้นโลก ธีม Defensive ก็คือ กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ (KFGBRANRMF) และ กรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้ปันผลเพื่อการออม (KFGBRANSSF) ซึ่งมีกองทุนหลักเป็น Morgan Stanley Global Brands
โดยจะคัดสรรบริษัทที่เป็นเจ้าของ Brand สินค้าชั้นนําระดับโลก ซึ่งความได้เปรียบดังกล่าว เป็นเรื่องยากที่คู่แข่งจะลอกเลียนแบบ, เน้นบริษัทที่ทําธุรกิจด้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่จําเป็นต่อชีวิตประจําวัน ซึ่งมีผลประกอบการที่สมํ่าเสมอ-มักไม่ค่อยอ่อนไหวกับเศรษฐกิจมากนัก, มีประวัติการจัดตั้งมายาวนานกว่า 23 ปี สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นบวกถึง 20 ปีปฏิทิน ตั้งแต่จัดตั้ง
ต่อมา หุ้นโลกที่น่าสนใจ กองทุนเปิดเค โกลบอล ซีเล็คท์ หุ้นทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (KGSELECTRMF) โดยมีกองทุนหลักเป็น JPMorgan Global Select Equity ETF เป็นกองทุนประเภท Active ETF ลงทุนในหุ้นคุณภาพทั่วโลกที่มีความได้เปรียบในการแข่งขัน อยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่ดี, มีผลงานโดดเด่น-สร้างผลตอบแทนรายปีเหนือหุ้นโลกสมํ่าเสมอในระยะยาวและมัก outperform ไม่ว่าในช่วงนั้นกลุ่มเติบโตหรือมูลค่าจะเป็นผู้นําตลาดก็ตาม
และสุดท้ายหุ้นโลก อีกหนึ่งกองก็คือ กองทุนเปิดอีสท์สปริง Global Quality Growth เพื่อการเลี้ยงชีพ (ES-GQGRMF) ที่มีกองทุนหลักเป็น Wellington Global Quality Growth มีการกระจายการลงทุนที่ดี ลงทุนหลากหลายอุตสาหกรรม รวมกันประมาณ 60-90 บริษัท จึงมักเคลื่อนไหวสอดคล้องตามทิศทางของหุ้นโลก และผันผวนตํ่ากว่ากองทุนหุ้นโลกทั่วไป,มุ่งลงทุนหุ้นคุณภาพที่มีศักยภาพการเติบโตอย่างยั่งยืนสร้างผลตอบแทนต่อความเสี่ยงที่ดี และมีความทนทานในช่วงตลาดขาลง