จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : ITNS ปรับกลยุทธ์ลุยรับงานภาคเอกชน ลดความเสี่ยงลูกค้าภาครัฐชะลอตัว
26 กันยายน 2567
การขยายฐานลูกค้า เพื่อลดการพึ่งพาแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งนับเป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันของไทย โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าไอทีที่การลงทุนภาครัฐยังเกิดขึ้นไม่มาก ขณะที่ภาคเอกชนมีความพร้อมในการใช้จ่าย
โดยนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการลงทุน Data Center และ Cloud Service เพื่อรองรับการขยายตัวของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และบริการด้านดิจิทัลต่าง ๆ ที่กำลังเติบโตสูงในภูมิภาค
ปัจจุบันมีโครงการ Data Center และ Cloud Service ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ รวม 37 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 98,539 ล้านบาท ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง โดยมีบริษัทชั้นนำระดับโลกได้เข้ามาลงทุนจัดตั้ง Data Center ในประเทศไทยแล้วหลายราย อาทิ Amazon Web Service (AWS) ที่ประกาศลงทุน Data Center ในไทยกว่า 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2580 โดยในเฟสแรก ได้ลงทุนสร้าง Data Center แล้ว 3 แห่ง เงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท
สำหรับธุรกิจการให้บริการคลาวด์ (Cloud Service) มีบริษัทชั้นนำที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น Alibaba Cloud ลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท และ Huawei Technologies ลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท นอกจากบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศแล้ว ยังมีผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพสูงอีกหลายรายที่ลงทุนในธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ด้วย เช่น บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์, บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย และบริษัท GSA ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Gulf, Singtel และ AIS
นอกจากธุรกิจ Data Center และ Cloud Service แล้ว บีโอไอยังส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจร ทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ดิจิทัลคอนเทนต์ และกิจการสนับสนุนระบบนิเวศด้านดิจิทัล เช่น กิจการ Innovation Park, กิจการ Maker Space หรือ Fabrication Lab และกิจการพัฒนาพื้นที่และระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยที่ผ่านมา มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การสนับสนุนการลงทุนของบีโอไอ ได้ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลดีกับบมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม (ITNS) ผู้ประกอบการในธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร (System Integrator) พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การให้บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการให้เช่าอุปกรณ์ ที่ผู้บริหารได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายที่เป็นภาคเอกชน เพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
และสอดคล้องกับผลงานไตรมาส 2/67 ที่ผ่านมา บริษัทได้รายงานว่า รายได้จากการขายและการให้บริการของบริษัท ส่วนใหญ่มาจากงานโครงการของภาคเอกชน เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่ง จึงวางกลยุทธ์ขยายงานไปยังกลุ่มลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อกระจายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทฯ ต่อไปในอนาคตและลดความเสี่ยงสำหรับลูกค้าภาครัฐที่มีการชะลอตัวในการจัดซื้อ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณที่ล่าช้า
โดยในไตรมาส 2/67 บริษัทมีรายได้จากภาครัฐลดเหลือ 22.88 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.39% ลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 48.37 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน 37.12% ขณะที่รายได้จากภาคเอกชนในไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 60.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 72.61% ซึ่งแม้รายได้จะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่สัดส่วนการสร้างรายได้ให้กับบริษัทกับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 62.88 ล้านบาท
โดยนายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ประเทศไทย เป็นหนึ่งในประเทศเป้าหมายที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ในการลงทุน Data Center และ Cloud Service เพื่อรองรับการขยายตัวของปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI และบริการด้านดิจิทัลต่าง ๆ ที่กำลังเติบโตสูงในภูมิภาค
ปัจจุบันมีโครงการ Data Center และ Cloud Service ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ รวม 37 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 98,539 ล้านบาท ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ชลบุรี และระยอง โดยมีบริษัทชั้นนำระดับโลกได้เข้ามาลงทุนจัดตั้ง Data Center ในประเทศไทยแล้วหลายราย อาทิ Amazon Web Service (AWS) ที่ประกาศลงทุน Data Center ในไทยกว่า 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2580 โดยในเฟสแรก ได้ลงทุนสร้าง Data Center แล้ว 3 แห่ง เงินลงทุนกว่า 25,000 ล้านบาท
สำหรับธุรกิจการให้บริการคลาวด์ (Cloud Service) มีบริษัทชั้นนำที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ เช่น Alibaba Cloud ลงทุนกว่า 4,000 ล้านบาท และ Huawei Technologies ลงทุนกว่า 3,000 ล้านบาท นอกจากบริษัทชั้นนำจากต่างประเทศแล้ว ยังมีผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพสูงอีกหลายรายที่ลงทุนในธุรกิจ Data Center และ Cloud Service ด้วย เช่น บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์, บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย และบริษัท GSA ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่าง Gulf, Singtel และ AIS
นอกจากธุรกิจ Data Center และ Cloud Service แล้ว บีโอไอยังส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัลอย่างครบวงจร ทั้งการพัฒนาซอฟต์แวร์ แพลตฟอร์มเพื่อให้บริการดิจิทัล ดิจิทัลคอนเทนต์ และกิจการสนับสนุนระบบนิเวศด้านดิจิทัล เช่น กิจการ Innovation Park, กิจการ Maker Space หรือ Fabrication Lab และกิจการพัฒนาพื้นที่และระบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) โดยที่ผ่านมา มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การส่งเสริมให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเอื้อต่อการลงทุนในธุรกิจดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การสนับสนุนการลงทุนของบีโอไอ ได้ช่วยกระตุ้นการตัดสินใจลงทุนของภาคเอกชนได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลดีกับบมจ.อินเตอร์เนชั่นแนล เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม (ITNS) ผู้ประกอบการในธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเป็นผู้ออกแบบและติดตั้งระบบเครือข่ายและระบบสื่อสารอย่างครบวงจร (System Integrator) พร้อมทั้งจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในงานเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร การให้บริการซ่อมแซมและบำรุงรักษาอุปกรณ์ และการให้เช่าอุปกรณ์ ที่ผู้บริหารได้ปรับกลยุทธ์โดยเน้นการขยายฐานกลุ่มเป้าหมายที่เป็นภาคเอกชน เพื่อกระจายความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
และสอดคล้องกับผลงานไตรมาส 2/67 ที่ผ่านมา บริษัทได้รายงานว่า รายได้จากการขายและการให้บริการของบริษัท ส่วนใหญ่มาจากงานโครงการของภาคเอกชน เนื่องจากบริษัทฯ ต้องการลดความเสี่ยงจากการพึ่งพิงลูกค้ารายใดรายหนึ่ง จึงวางกลยุทธ์ขยายงานไปยังกลุ่มลูกค้าในหลากหลายอุตสาหกรรม เพื่อกระจายฐานลูกค้าและเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทฯ ต่อไปในอนาคตและลดความเสี่ยงสำหรับลูกค้าภาครัฐที่มีการชะลอตัวในการจัดซื้อ เนื่องจากปัญหาด้านงบประมาณที่ล่าช้า
โดยในไตรมาส 2/67 บริษัทมีรายได้จากภาครัฐลดเหลือ 22.88 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 27.39% ลดลง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 48.37 ล้านบาท หรือมีสัดส่วน 37.12% ขณะที่รายได้จากภาคเอกชนในไตรมาส 2/67 อยู่ที่ 60.64 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 72.61% ซึ่งแม้รายได้จะลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา แต่สัดส่วนการสร้างรายได้ให้กับบริษัทกับเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีสัดส่วน 62.88 ล้านบาท