Smart Investment

เปิดผลตอบแทนไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ ผ่านมา 6 ปี พ่ายเงินเฟ้อ-ขายในตลาดขาดทุน


29 กันยายน 2567

Mr.Data 

สัปดาห์ที่ผ่านมา Mr.Data พาไปทำความรู้จักกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรืออินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์ เปรียบเทียบจุดเด่น-จุดด้อยของกองทุน เพื่อพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน สอดคล้องกับความคาดหวังผลตอบแทน และระยะเวลาการลงทุน

เห็นแล้วอึ้ง! ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์_S2T (เว็บ.jpg

หลังรัฐบาลแพทองธาร มีแนวคิดจัดตั้งกองทุนอินฟราฟันด์ เพื่อระดมทุนรองรับแผนเข้าซื้อคืนรถไฟฟ้าจากภาคเอกชนคืนกลับมาเป็นของรัฐบาล และกำหนดค่าโดยสาร 20 บาทตลอดสาย

อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวอยู่ระหว่างการหารือระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงคมนาคม 

ย้อนหลังกลับไป 6 ปีที่ผ่านมา (2561) ในช่วงรัฐบาลลุงตู่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นั่งตำแหน่งนายกฯ ได้มีการจัดตั้ง “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF)”ทุนจดทะเบียน 45,700 ล้านบาท 

TFFIF มีนโยบายเข้าลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานครั้งแรกคือ สิทธิในรายได้ที่โอนจำนวน 45% ของค่าผ่านทางที่เรียกเก็บได้จริงจากผู้ใช้ทางพิเศษฉลองรัชและทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นระยะเวลา 30 ปี เข้าเทรด ในตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2561 โดยมีบลจ.เอ็มเอฟซี และบลจ.กรุงไทย เป็นผู้จัดการกองทุน

นับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมีการจ่ายเงินปันผลไปแล้ว 23 ครั้ง (จนถึงเดือนส.ค.67) รวมเป็นเงิน 1.4261 บาท/หน่วย ขณะที่ราคาในกระดาน (วันที่ 26 ก.ย.) อยู่ที่ 7 บาท/หน่วย เทียบราคาไอพีโออยู่ที่ 10 บาท/หน่วย 

กองทุนมีนโยบายจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหน่วยลงทุนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาจะได้รับยกเว้นการจัดเก็บภาษีจากเงินปันผลที่ได้รับจากกองทุนเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานของกองทุน TFFIF ในปี 2566 กองทุนมีรายได้จากการลงทุนสุทธิ 1,887 ล้านบาท หรือคิดเป็น 95.% ของรายได้รวม เพิ่มขึ้น 12.40%  เมื่อเทียบกับปี 2565 เนื่องจากปริมาณการจราจรได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การกลับเข้าทำงานของพนักงานออฟฟิศที่มีมากขึ้น 

รวมทั้งการเติบโตของภาคการท่องเที่ยว ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กองทุนมีการประเมินมูลค่ายุติธรรมของเงินลงทุนใน สัญญาโอนและรับโอนสิทธิรายได้ โดยผู้ประเมินราคาอิสระได้ปรับมูลค่าเงินลงทุนเป็นราคา ยุติธรรมใหม่เป็นมูลค่า 60,620.30 ล้านบาท ทำให้มีกำไรจากการเปลี่ยนแปลงในมูลค่า ยุติธรรมของเงินลงทุนเป็นจำนวน 7,571 ล้านบาท ส่งผลให้มีการเพิ่มขึ้น ในสินทรัพย์สุทธิจากการดำเนินงานในปี 2566 จำนวน 9,458 ล้านบาท  

ณ วันที่ 30 กันยายน 2566 กองทุนมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิเป็นจำนวนเงิน 61,115 ล้านบาท หรือคิดเป็นมูลค่าสินทรัพย์สุทธิต่อหน่วยเท่ากับ 13.3731 บาทต่อหน่วย โดยกองทุน มีกำไรสะสมเป็นจำนวนเงิน 15,612 ล้านบาท

เห็นผลตอบแทนจากเงินปันผลของ TFFIF ที่แลกมาด้วยการลงทุนยาว ต้องย้อนกลับไปถามตัวเองว่าคุ้มหรือไม่คุ้ม เพราะถ้าเทียบเงินเฟ้อแล้ว แพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกตัว แต่ถ้าจะตัดสินใจขายหน่วยลงทุน ก็ต้องบอกอีกทีว่า คงทำใจลำบาก หากเทียบราคาขายไอพีโอที่ 10 บาท/หน่วย

ใครที่คิดจะลงทุนอินฟราสตรัคเจอร์ฟันด์...ต้องคิดให้ดี!!! 

เห็นแล้วอึ้ง! ไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์_S2T (เพจ) c.jpg