กระดานข่าว

อินโดรามา เวนเจอร์ส เผยกลยุทธ์การรับมือต่อสภาพภูมิอากาศ ในงาน SX 2024 พร้อมนำเสนอแผนการปรับตัวและความต่อเนื่องทางธุรกิจ


03 ตุลาคม 2567

IMG_0337_11zon.jpg

บริษัท อินโดรามา เวนเจอร์ส จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำระดับโลกที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เปิดกลยุทธ์ความพร้อมในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในงาน Sustainability Expo (SX) 2024 ที่กรุงเทพฯ โดยแบ่งปันความมุ่งมั่นในการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้างอนาคตที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น

อินโดรามา เวนเจอร์ส ได้นำเสนอการจัดการความเสี่ยงขั้นสูง และแผนการปรับตัวที่แข็งแกร่ง เพื่อรักษาความต่อเนื่องในการดำเนินงาน ลดผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศ และขับเคลื่อนเส้นทางสู่ความยั่งยืนของบริษัทฯ ท่ามกลางความถี่ที่เพิ่มขึ้นของภัยพิบัติทางธรรมชาติและสภาพอากาศเลวร้ายที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

รายงานของ Nature Conservancy ระบุว่า ในช่วงทศวรรษ 1980  เกิดเหตุการณ์สภาพอากาศที่ก่อความเสียหายมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในทุกๆ สี่เดือนโดยเฉลี่ย ในขณะที่ทศวรรษที่ผ่านมา โลกเผชิญกับเหตุการณ์เหล่านี้ทุกๆ สามสัปดาห์ ในช่วงเวลาดังกล่าว อินโดรามา เวนเจอร์ส ต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินงานอย่างมากจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ อาทิ พายุทอร์นาโด พายุเฮอริเคน น้ำท่วม การขาดแคลนน้ำ และไฟป่า เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ บริษัทฯ ได้พัฒนาแผนการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ (Climate Adaptation Plan) เพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการดำเนินงานทั่วโลกของบริษัทฯ และเพื่อให้แน่ใจว่า บริษัทฯ ได้เตรียมพร้อมรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นอย่างดี โดยแผนการปรับตัวของอินโดรามา เวนเจอร์ส นี้ อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการการบริหารความเสี่ยงและการจัดการด้านความยั่งยืน (Sustainability Risk and Management Committee: SRMC) และถูกนำไปปฎิบัติในทุกฐานการผลิตของอินโดรามา เวนเจอร์ส ทั่วโลก

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าการจัดสรรเงินทุนเพื่อการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศทั้งหมดจะหลั่งไหลไปยังประเทศกำลังพัฒนา ในช่วงปี 2564 - 2578 อยู่ที่ประมาณ 840,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (อ้างอิงจากปี 2564-2565) อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลของ Climate Policy Initiative พบว่า ความต้องการเงินทุนเพื่อการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่แท้จริงสำหรับช่วงเวลาดังกล่าวสูงถึง 3.3 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงช่องว่างด้านการจัดหาเงินทุนอย่างมาก อินโดรามา เวนเจอร์ส ตระหนักถึงความท้าทายนี้จึงได้ผนวกการจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเข้ากับกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยตรง เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานจะดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในขณะที่ลดความเสี่ยงทางการเงิน เช่น ค่าเบี้ยประกันที่เพิ่มขึ้น และการหยุดชะงักของการดำเนินงาน

แอนโนี เอ็ม วาตานาเบ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านความยั่งยืนของอินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวว่า “เส้นทางความยั่งยืนของเราไม่ได้จำกัดอยู่แค่การจัดการดูแลเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการสร้างความยืดหยุ่น เพื่อให้เราสามารถส่งมอบเคมีภัณฑ์ที่ขาดไม่ได้ (Indispensable Chemistry) ได้อย่างต่อเนื่อง และอยู่แถวหน้าของการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนมากขึ้น ผ่านแผนการปรับตัวของเรา ซึ่งกำลังสร้างมาตรฐานอุตสาหกรรมในการจัดการความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศและการรักษาความต่อเนื่องทางธุรกิจ นอกจากนี้ เรายังมุ่งมั่นในการเสริมสร้างความรู้และทักษะให้แก่พนักงานของเราเกี่ยวกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ และจัดเตรียมเครื่องมือในการประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ความคิดริเริ่มในการฝึกอบรมเชิงกลยุทธ์นี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่า พนักงานทุกระดับในบริษัทมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการสร้างความยืดหยุ่นต่อสภาพภูมิอากาศในระยะยาว”

การเข้าร่วมงาน SX 2024 ของอินโดรามา เวนเจอร์ส เป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการเสริมสร้างความเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนและการ
รีไซเคิลแบบปิดวงจร จนถึงปัจจุบันบริษัทฯ ได้รีไซเคิลขวด PET ไปแล้วกว่า 126 พันล้านขวดจากโรงงานรีไซเคิล 20 แห่ง บริษัทฯ กำลังลงทุนจำนวน 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรีไซเคิล และให้ความรู้แก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับแนวปฎิบัติในการจัดการขยะอย่างเหมาะสม

นิทรรศการของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในโซน 'Better Living' เน้นย้ำถึงคำมั่นสัญญาของแบรนด์ 'Indispensable Chemistry' และบทบาทสำคัญของ PET โพลีเอสเตอร์ และเคมีภัณฑ์เฉพาะทาง สำหรับการใช้งานที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน ตั้งแต่บรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า สิ่งทอ โซลูชั่นพืชผล และผลิตภัณฑ์ดูแลส่วนบุคคลและครัวเรือน งานแสดงดังกล่าวยังเน้นถึงกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของอินโดรามา เวนเจอร์ส การจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ และโครงการ CSR ของบริษัทฯ อีกด้วย

อินโดรามา เวนเจอร์ส ขอเชิญพันธมิตรและผู้เข้าชมทุกท่าน เยี่ยมชมบูธของเราได้ที่โซน Better Living ฮอลล์ 2 ชั้น G ในงาน SX 2024 และมาร่วมค้นพบว่า 'Indispensable Chemistry' ของเราขับเคลื่อนอนาคตที่ยั่งยืนได้อย่างไร