Smart Investment

“ประกันสังคม” ลุยซื้อหุ้น 3 แบงก์เจ้าใหญ่เดือน ก.ย. ตุน BBL- SCB- KBANK เพียบ!


05 ตุลาคม 2567

ในเดือนกันยายน 2567 ดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนราว 6.60% นักลงทุนต่างชาติ เริ่มหันกลับมาซื้อหุ้นไทยมากขึ้น โดยเมื่อพิจารณาการลงทุนแยกรายกลุ่มนักลงทุนเฉพาะเดือนที่ผ่านมา พบว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 29,177.98 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันในประเทศมียอดขายสุทธิ 1,717.32 ล้านบาท ส่วนนักลงทุนภายในประเทศมียอดขายสุทธิ 31,461.76 ล้านบาท 

“ประกันสังคม” ลุยซื้อหุ้น_S2T (เว็บ).jpg

ทั้งนี้จากการสำรวจโครงสร้างผู้ถือหุ้นของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ซึ่งได้ปิดสมุดทะเบียนรายชื่อผู้ถือหุ้นล่าสุดเดือนกันยายน พบว่า สำนักงานประกันสังคม(สปส.) ได้เพิ่มสัดส่วนการถือครองหุ้นของ 3 แบงก์รายใหญ่ ประกอบด้วย

หุ้น BBL ล่าสุดถือหุ้น จำนวน 76,198,200 หุ้น คิดเป็น 3.99% จากเดิมที่เคยถือหุ้น  65,557,000 หุ้น คิดเป็น 3.43 % หรือเพิ่มขึ้น 10,641,200 หุ้น

SCB  ถือหุ้นจำนวน 100,695,600 หุ้น คิดเป็น 2.99% จากเดิมที่เคยถือหุ้น  81,114,300 หุ้น คิดเป็น    2.41 %หรือเพิ่มขึ้น19,581,300 หุ้น

KBANK ถือหุ้นจำนวน 78,524,100 หุ้น คิดเป็น 3.31% จากเดิมที่เคยถือหุ้น 71,879,400 หุ้น คิดเป็น 3.03 %หรือเพิ่มขึ้น6,644,700 หุ้น 

ขณะที่หุ้น TISCO ถือหุ้น จำนวน 8,322,830หุ้น คิดเป็น 1.04% ซึ่งเป็นสัดส่วนเท่าเดิมกับครั้งก่อน 

บล.กรุงศรี ระบุว่า แนะนำ Neutral หุ้น SCB  ที่ TP 110 บาท โดยเรามีมุมมอง Slightly Positive ต่อข่าวการปิดการเจรจาซื้อขาย Robinhood ของบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด เพราะ SCB จะรับรู้ค่าใช้จ่ายด้วยค่าสินทรัพย์ (Impairment Asset) น้อยลง 400 ลบ. ส่งผลให้ประมาณประมาณการกำไรสุทธิ 3Q24F ของเราคาดที่ 9.70 พันลบ. เพิ่มขึ้นเป็น 1.01 หมื่นลบ. ภาพรวมเรายังคงคาด dividend yield ของ SCB อยู่ที่ประมาณ 8-9% ต่อปี ซึ่งสูงสุดในกลุ่มธนาคาร

บล.ดาโอ (ประเทศไทย) ประเมินว่า SCBX ปิดดีลขาย Robinhood SCBX มีมติอนุมัติให้บริษัทขายหุ้นทั้งหมดในบริษัท เพอร์เพิล เวนเจอร์ส จำกัด (PPV) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชัน Robinhood ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บริษัทถือหุ้นทางตรงในสัดส่วน 100% โดยบริษัทได้ขายหุ้นทั้งหมดที่บริษัทถืออยู่ใน PPV เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 30 ก.ย. 24 มีมูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท ประกอบด้วย มูลค่าเบื้องต้นชำระทันที 400 ล้านบาท และส่วนเพิ่มตามผลประกอบการสูงสุดไม่เกิน 1,600 ล้านบาท โดยกลุ่มผู้ลงทุน ซึ่งประกอบด้วย

1) กลุ่มยิบอินซอย 50% (บริษัท ยิบอินซอย จำกัด ที่ 30% ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีระดับสูง และ บริษัท มีศิริ จำกัด ที่ 20% ประกอบธุรกจอสังหาฯในเครือ ยิบอินซอย)

 2) บริษัท บรุ๊คเคอร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (BTC) ที่ 30% ให้บริการด้านข้อมูลหรือคำปรึกษาด้านธุรกิจและการเงิน การลงทุน รวมทั้งเป็นที่ปรึกษาอิสระให้แก่องค์กรชั้นนำของภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3) บริษัท เอสซีที เรนทอล คาร์ จำกัด ที่ 10% ประกอบธุรกิจให้เช่ารถยนต์ในเครือกลุ่มอีซูซุสงวนไทย

4) บริษัท ล็อกซ์บิท จำกัด (มหาชน) ที่ 10% ประกอบธุรกิจให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครบวงจร (ที่มา: SET)

มองเป็นบวกเล็กน้อย โดยเราประเมินว่า SCB จะมีการบันทึก impairment loss ที่ลดลงใน 3Q24E จากเดิมที่ -1,000 ล้านบาท เหลือที่ -600 ล้านบาท เพราะได้เงินจากการปิดดีลขาย Robinhood ทันทีที่ +400 ล้านบาท (คิดเป็น upside ต่อประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ที่ +1%) ขณะที่ส่วนต่างอีก +1,600 ล้านบาท (มูลค่ารวมสูงสุด 2,000 ล้านบาท) ถือว่าเป็นสัญญา Management Agreement จะรับรู้เป็นกำไรให้กับ SCB ได้ก็ต่อเมื่อ Robinhood มีกำไร

ขณะที่เราไม่ทราบว่ากำไร 1,600 ล้านบาท บริษัทที่ซื้อไปจะต้องจ่ายให้ SCB ภายในกี่ปี และไม่ทราบว่าสัดส่วนการแบ่งกำไรให้กับ SCB เป็นเท่าไร อย่างไรก็ดี ตั้งแต่ 4Q24E เป็นต้นไป ทาง SCB ไม่ต้องแบกผลขาดทุนจาก Robinhood อีกต่อไป (ปี 2023 มีผลขาดทุนสุทธิราว -2.2 พันล้านบาท) ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกในระยะยาว คงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E, คาด 3Q24E เพิ่มขึ้น YoY แต่ลดลง QoQ เรายังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 2024E ที่ 3.96 หมื่นล้านบาท ลดลง -9% YoY จากการตั้งสำรองฯและ OPEX ที่เพิ่มขึ้น

ขณะที่คาดกำไรสุทธิ 3Q24E จะเพิ่มขึ้น YoY จากสำรองฯที่ลดลง แต่จะทรงตัว QoQ เพราะมีขาย Robinhood ได้เงินทันทีที่ 400 ล้านบาท ขณะที่ NPL ยังอยู่ในทิศทางขาขึ้นจากสินเชื่อรายย่อย แนะนำ “ถือ” ราคาเป้าหมาย 110.00 บาท อิง 2025E PBV ที่ 0.70x (-1.25SD below 10-yr average PBV)

ด้าน Valuation ซื้อขายที่ PBV ที่ 0.80x (-1.00SD below 10-yr average PBV) แพงกว่า KBANK ที่ 0.65x PBV (-1.25SD below 10-yr average PBV) และกลุ่มที่ 0.70x PBV (-1.00SD below 10-yr average PBV) แต่ยังมี Dividend yield สูงที่ราว 9% จึงแนะนำ “ถือ”

“ประกันสังคม”-ลุยซื้อหุ้น.jpg