จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : ติดตั้ง “พลังงานสะอาด” พุ่ง รับมือ ปรับราคาค่าไฟฟ้า


02 มีนาคม 2566
แนวโน้มค่าไฟฟ้าที่ปรับเพิ่มขึ้นในอนาคต เป็นสิ่งที่หลีกหนีไม่ได้  ซึ่งสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) ได้ศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าไฟฟ้าต่อภาคอุตสาหกรรม โดยใช้ข้อมูลจากตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จากการศึกษาพบว่า  
รายงานพิเศษ ติดตั้ง พลังงานสะอาด020323 พุ่ง.jpg
การขึ้นค่าไฟฟ้าที่อัตรา 5.33 บาทต่อหน่วย จะส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้น 12.41% ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมซีเมนต์ เพิ่มขึ้น 9.47% ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพิ่มขึ้น 8.96% ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต เพิ่มขึ้น 8.14% ต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเครื่องแต่งกาย เพิ่มขึ้น 7.98% และต้นทุนการผลิตอุตสาหกรรมเซรามิค เพิ่มขึ้น 6.49%

แนวทางการลดผลกระทบจากการขึ้นค่าไฟฟ้า ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานทดแทนการนำเข้าพลังงาน ได้แก่ การพึ่งพาพลังงานสะอาด และพลังงานทางเลือก เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar cell) พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานไฮโดรเจน เป็นต้น
        
ซึ่งธุรกิจพลังงานแสงอาทิตย์ หรือ โซลาร์เซลล์ ปัจจุบันมีความต้องการและการเติบโตที่สูง   และล่าสุด บมจ.เอเอ็มอาร์ เอเซีย (AMR) บันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือกับ "สปริง เอ็นเนอร์ยี่ 168 โฮลดิ้งส์"             

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AMR “มารุต ศิริโก” ระบุว่า  ความร่วมมือดังกล่าว  เพื่อดำเนินการติดตั้งแผงโซลาร์และจัดจำหน่ายพลังงานจากแสงอาทิตย์ภายในสถานศึกษาและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ  ความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการขยายพื้นที่ให้บริการที่เกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในห่างไกลพร้อมกับเพิ่มรายได้ขึ้นอีก โดยบริษัทมีเป้าหมายจำนวน 100 เมกะวัตต์ ในปีนี้ ซึ่งในช่วงต้นปีที่ผ่านมา บริษัท เทอราวัตต์ เอสพี จำกัด (บริษัทย่อย) ได้เข้าร่วมในโครงการโซลาร์ฟาร์มจำนวน 70 เมกะวัตต์ ไปแล้ว
         
"AMR มุ่งหน้าสู่การดำเนินธุรกิจภายใต้แนวคิดรักษ์โลก โดยความร่วมมือนี้จะเป็นการก้าวเข้าสู่ธุรกิจพลังงานหมุนเวียนอีกหนึ่งก้าว ซึ่งจะเป็นการขยายขอบเขตในพื้นที่เขตสถานศึกษา ทั้งโรงเรียนและวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ต้องการตอบโจทย์นโยบายของภาครัฐในการลดการผลิตคาร์บอนโดยหันมาใช้พลังงานหมุนเวียนจากแสงอาทิตย์แทน ซึ่งธุรกิจธุรกิจพลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในโครงการที่จะเข้ามาเพิ่มรายได้แบบ recurring income อีกทางให้แก่บริษัทฯ" นายมารุต กล่าว
          
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวเสริมอีกว่า AMR ยังสนใจติดตามโครงการอยู่หลายโครงการ และยังเดินหน้ารับงานต่อเนื่องในส่วนของการบำรุงรักษาและดูแลระบบ  อีกทั้งในปีนี้ AMR มีโปรเจ็คต์ที่จะผลักดันทั้งงานโครงการจำหน่ายน้ำดิบ แพลตฟอร์ม MaCharge สถานีสับแบตเตอรรี่จำนวน 300 ตู้ในปีนี้ และ EV Charger ที่จะเปิดตัวภายในครึ่งปีแรกที่พร้อมหนุนรายได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับภาพรวมการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 30-40% โดยจะเน้นรุกขยายธุรกิจใหม่ที่เป็น New S-Curve ของบริษัทฯ โดยเฉพาะในธุรกิจพลังงานหมุนเวียนที่เกี่ยวกับกรีนซิตี้และระบบโซลาร์เซลล์ รวมทั้งจะมีการศึกษาและพัฒนาการลงทุนในการใช้พลังงานในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมอีกด้วย 
          
ขณะที่ธุรกิจกรีนทรานสปอร์ต กลุ่ม EV Bike จะมีการเติบโตมากขึ้น  คาดว่าจะมีการขยายจำนวนสถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Swapping Battery Station) เพิ่มขึ้นอีก 300 ตู้ โดยจะเติบโตไปคู่กับพันธมิตรรายใหญ่ที่มีสถานที่รองรับตู้ทั่วประเทศ ขณะเดียวกันจะมีการร่วมจัดจำหน่ายมอเตอร์ไซค์ระบบไฟฟ้าอีกด้วย
          
ทั้งนี้ บริษัทยังคงใช้ศักยภาพความเป็น SI รับงานการรับเหมาโครงการแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey Project) การให้บริการสัญญาบริหารจัดการและบริการซ่อมบำรุง (Operation and Maintenance) และการรับดำเนินงานแบบสัมปทานระยะยาวอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันมีมูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (backlog) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจากการรับรู้รายได้จากธุรกิจปัจจุบันและธุรกิจใหม่ จะช่วยผลักดันให้ปีนี้สามารถเติบโตตามเป้าหมายที่วางไว้
AMR