Wealth Sharing
ASIAN ประเมินกำลังซื้อครึ่งปีหลังฟื้น หนุนธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงโตเกิน 15% ทุ่มงบลงทุน 1,371 ลบ.
02 มีนาคม 2566
นายเอกกมล ประสพผลสุจริต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินบริษัท เอเชี่ยนซี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ASIAN ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่เยือกแข็ง อาหารสัตว์น้ำ ทูน่า และอาหารสัตว์เลี้ยงภายใต้เครื่องหมายการค้าของลูกค้าและของตนเอง เปิดเผยว่า ผลประกอบการปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้อยู่ที่ 11,164 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.7% จากปีก่อนที่ 9,488 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่มาจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและปลาป่นที่เติบโตถึง 46% และธุรกิจทูน่าที่สูงขึ้น 21% ขณะที่ธุรกิจอาหารสัตว์น้ำรายได้ลดลง 27% และธุรกิจอาหารแช่แข็งลดลงเล็กน้อยที่ 3%
ขณะที่กำไรสุทธิส่วนของบริษัทอยู่ที่ 979 ล้านบาท ลดลง 6% จากปีก่อนอยู่ที่ 1,044 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.2 บาท/หุ้น เทียบกับปี 2564 ที่ 1.28 บาท/หุ้น ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นลดลงมาอยู่ที่ 18.2% จากปีก่อนที่ 19.7% เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณการขายอาหารสัตว์น้ำที่ลดลง โดยทั้งปี 2565 บริษัทฯ มีปริมาณการขาย 84,597 ตัน ลดลง 8% จากปีก่อนที่ 91,665 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่ลดลงจากปริมาณการขายอาหารสัตว์น้ำที่ลดลงถึง 32% แต่บริษัทฯ พยายามชดเชยปริมาณการขายอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน โดยสัดส่วนการขายสูงสุดยังคงเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา 37% รองลงมาคือตลาดประเทศอิตาลีที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 29%
“ปี 2565 เป็นปีที่ดีของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ทางกลุ่มได้แยกธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและปลาป่น อีกทั้งธุรกิจทูน่าออกไป โดยดำเนินการภายใต้บริษัทลูก บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 65 ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนงานขยายกำลังการผลิตอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพราะคาดว่าความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงทั้งในตลาดกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศและตลาดเอเชียจะเติบโตได้อีกมาก อีกทั้งบริษัทฯ ได้เริ่มการสร้างแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงเอง คือ ‘มองชู’ และ ‘ฮาจิโกะ’ ” นายเอกกมล กล่าว
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2565 มีรายได้ที่ 2,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตสูง แต่ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งลดลงเพราะความต้องการสินค้ามีการชะลอตัว ประกอบกับตลาดสหรัฐอเมริกายังคงมีสต็อกสินค้ารอการระบายอยู่มาก และรายได้จากธุรกิจทูน่าในตะวันออกกลางลดลง
กำไรสุทธิในส่วนของบริษัท สำหรับไตรมาส 4 ทำได้อยู่ที่ 223 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณการขายอาหารทะเลแช่แข็ง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าของทอดแช่เยือกแข็ง (Pre-fried) ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงจากการที่สินค้าที่นำเข้ามีระยะเวลารอคอย (Lead time) กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้มีปริมาณสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น และความต้องการสินค้าจากกลุ่มประเทศยุโรปก็ลดลงจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกดดันราคาพลังงาน อาหารและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แต่ปริมาณขายอาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทเพิ่มขึ้นมาชดเชยได้บางส่วน ทำให้ปริมาณการขายโดยรวมอยู่ที่ 19,432 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณการขายอยู่ที่ 20,866 ตัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติกำหนดจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.40 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับปันผลวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 เมษายน ที่จะถึงนี้
สำหรับเป้าหมายปี 2566 มองว่า ผลประกอบการยังคงการเติบโตได้ แม้ว่าสัญญาณชะลอตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี จากการที่กำลังซื้อทั่วโลกจะยังได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรปยังคงเป็นตลาดหลักของบริษัท และบริษัทคาดว่ากำลังซื้อจะเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้นภายในครึ่งปีหลัง 2566
อย่างไรก็ดี หากมองการเติบโตของรายได้แบ่งตามประเภทธุรกิจ คาดว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจะเติบโตได้มากกว่า 15% จากปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกยังมีการเติบโตต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจทูน่าที่คาดว่าจะโตได้ 12% จากปีก่อน แม้ต้นทุนจะมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ความต้องการยังมีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากตลาดประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง
สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์น้ำคาดว่ารายได้ปีนี้จะสามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับปี 2564 ได้ จากการปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์น้ำและคาดการณ์ผลการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น ขณะที่มองว่าธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีแนวโน้มอ่อนตัวจากปีก่อน 10% จากที่คาดว่าตลาดสหรัฐอเมริกายังไม่มีการฟื้นตัวภายในปีนี้
ทั้งนี้ ปี 2566 บริษัทฯ ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 1,371 ล้านบาท สำหรับใช้ 3 โครงการคือ งบผูกพันสำหรับขยายกำลังการผลิตและคลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 ในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจำนวน 1,173 ล้านบาท และลงทุนสายการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ดและเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler) ใหม่จำนวน 54 ล้านบาท และใช้ลงทุนในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 144 ล้านบาท
ขณะที่กำไรสุทธิส่วนของบริษัทอยู่ที่ 979 ล้านบาท ลดลง 6% จากปีก่อนอยู่ที่ 1,044 ล้านบาท และกำไรสุทธิต่อหุ้น 1.2 บาท/หุ้น เทียบกับปี 2564 ที่ 1.28 บาท/หุ้น ส่วนอัตรากำไรขั้นต้นลดลงมาอยู่ที่ 18.2% จากปีก่อนที่ 19.7% เนื่องจากราคาต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ขณะที่ปริมาณการขายอาหารสัตว์น้ำที่ลดลง โดยทั้งปี 2565 บริษัทฯ มีปริมาณการขาย 84,597 ตัน ลดลง 8% จากปีก่อนที่ 91,665 ตัน ซึ่งส่วนใหญ่ลดลงจากปริมาณการขายอาหารสัตว์น้ำที่ลดลงถึง 32% แต่บริษัทฯ พยายามชดเชยปริมาณการขายอาหารสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อน โดยสัดส่วนการขายสูงสุดยังคงเป็นตลาดสหรัฐอเมริกา 37% รองลงมาคือตลาดประเทศอิตาลีที่มีสัดส่วนอยู่ที่ 29%
“ปี 2565 เป็นปีที่ดีของธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยง ทางกลุ่มได้แยกธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงและปลาป่น อีกทั้งธุรกิจทูน่าออกไป โดยดำเนินการภายใต้บริษัทลูก บริษัท เอเชี่ยน อะไลอันซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ที่เพิ่งจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 65 ที่ผ่านมา เนื่องจากบริษัทฯ มีแผนงานขยายกำลังการผลิตอีก 3-4 ปีข้างหน้า เพราะคาดว่าความต้องการอาหารสัตว์เลี้ยงทั้งในตลาดกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ในประเทศและตลาดเอเชียจะเติบโตได้อีกมาก อีกทั้งบริษัทฯ ได้เริ่มการสร้างแบรนด์อาหารสัตว์เลี้ยงเอง คือ ‘มองชู’ และ ‘ฮาจิโกะ’ ” นายเอกกมล กล่าว
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 4 ปี 2565 มีรายได้ที่ 2,520 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมาจากธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงเติบโตสูง แต่ธุรกิจอาหารทะเลแช่แข็งลดลงเพราะความต้องการสินค้ามีการชะลอตัว ประกอบกับตลาดสหรัฐอเมริกายังคงมีสต็อกสินค้ารอการระบายอยู่มาก และรายได้จากธุรกิจทูน่าในตะวันออกกลางลดลง
กำไรสุทธิในส่วนของบริษัท สำหรับไตรมาส 4 ทำได้อยู่ที่ 223 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากปริมาณการขายอาหารทะเลแช่แข็ง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าของทอดแช่เยือกแข็ง (Pre-fried) ที่ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาลดลงจากการที่สินค้าที่นำเข้ามีระยะเวลารอคอย (Lead time) กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้มีปริมาณสินค้าออกสู่ตลาดมากขึ้น และความต้องการสินค้าจากกลุ่มประเทศยุโรปก็ลดลงจากปัญหาทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนยังคงทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงกดดันราคาพลังงาน อาหารและสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ แต่ปริมาณขายอาหารสัตว์เลี้ยงของบริษัทเพิ่มขึ้นมาชดเชยได้บางส่วน ทำให้ปริมาณการขายโดยรวมอยู่ที่ 19,432 ตัน ลดลง 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณการขายอยู่ที่ 20,866 ตัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 มีมติกำหนดจ่ายเงินปันผลในอัตรา 0.40 บาทต่อหุ้น ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2566 โดยกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิรับปันผลวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และกำหนดวันประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 27 เมษายน ที่จะถึงนี้
สำหรับเป้าหมายปี 2566 มองว่า ผลประกอบการยังคงการเติบโตได้ แม้ว่าสัญญาณชะลอตัวในช่วงไตรมาสแรกของปี จากการที่กำลังซื้อทั่วโลกจะยังได้รับผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ ตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดยุโรปยังคงเป็นตลาดหลักของบริษัท และบริษัทคาดว่ากำลังซื้อจะเริ่มมีการฟื้นตัวดีขึ้นภายในครึ่งปีหลัง 2566
อย่างไรก็ดี หากมองการเติบโตของรายได้แบ่งตามประเภทธุรกิจ คาดว่า ธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจะเติบโตได้มากกว่า 15% จากปีก่อน เนื่องจากความต้องการของตลาดโลกยังมีการเติบโตต่อเนื่อง เช่นเดียวกับธุรกิจทูน่าที่คาดว่าจะโตได้ 12% จากปีก่อน แม้ต้นทุนจะมีการปรับตัวสูงขึ้น แต่ความต้องการยังมีต่อเนื่องโดยเฉพาะจากตลาดประเทศกลุ่มตะวันออกกลาง
สำหรับธุรกิจอาหารสัตว์น้ำคาดว่ารายได้ปีนี้จะสามารถกลับไปอยู่ในระดับเดียวกับปี 2564 ได้ จากการปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์น้ำและคาดการณ์ผลการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น ขณะที่มองว่าธุรกิจอาหารทะเลแช่เยือกแข็งมีแนวโน้มอ่อนตัวจากปีก่อน 10% จากที่คาดว่าตลาดสหรัฐอเมริกายังไม่มีการฟื้นตัวภายในปีนี้
ทั้งนี้ ปี 2566 บริษัทฯ ตั้งงบลงทุนไว้ที่ 1,371 ล้านบาท สำหรับใช้ 3 โครงการคือ งบผูกพันสำหรับขยายกำลังการผลิตและคลังสินค้าอัตโนมัติแห่งที่ 2 ในธุรกิจอาหารสัตว์เลี้ยงจำนวน 1,173 ล้านบาท และลงทุนสายการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยงแบบเม็ดและเปลี่ยนเครื่องกำเนิดไอน้ำ (Boiler) ใหม่จำนวน 54 ล้านบาท และใช้ลงทุนในโครงการผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 144 ล้านบาท