Mr.Data
เห็นบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งประกาศแผนเชิงรุก บุกตลาด “คาร์บอนเครดิต” เป็นกระแสมาตั้งแต่ปี 2565 ทำให้ Mr.Data ต้องรีบค้นคว้าหาคำตอบว่า เป็นเพียงแค่กระแส หรือ ตลาดกำลังจะมาจริงดังว่า!
จากรายงานข้อมูลของธนาคารกรุงเทพ เรื่อง “คาร์บอนเครดิต” เครื่องมือการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกมุ่งสู่การทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย ESG ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า การตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว และเริ่มใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ที่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกเกินกำหนด ผู้ประกอบการที่ปล่อยคาร์บอนเกินกำหนด จึงมีความต้องการเข้าซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไป รวมถึงรู้จักกับวิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในลักษณะของ Carbon Emission Trading Schemes (ETS) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุโรปและอีกหลายประเทศ
ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งอาจมีธุรกิจที่บริหารจัดการให้กระบวนการทำธุรกิจสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าเป้าหมายจนคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา ซึ่งมีมูลค่าจนสามารถนำออกขายให้แก่ธุรกิจ หรือหน่วยงานที่ในกระบวนการทำงานยังมีส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าเป้าหมายที่ควบคุม ก็สามารถมาซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยได้
ส่วน ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ที่สามารถทำให้ก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งกลไกตลาดคาร์บอนจะทำให้เกิดความสมดุล โดยทำให้ผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนในปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก
สำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลกมีการเติบโตและขยายตัวสูงมาก เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการน้อยที่สุด และเป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซที่คุ้มค่าที่สุด โดยในปี 2021 ทั่วโลกมีการใช้มาตรการนี้ถึง 45 ประเทศ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกกว่า 65 ประเทศ โดยมีมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสูงถึง 8.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่รายงานจากธนาคารโลก ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีตลาดคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นมากถึง 64 ตลาด มูลค่ารวมของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างกันเกือบ 6,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบันตลาดใหญ่ที่สุดในโลกมีอยู่ 4 แห่งใน 4 ประเทศ คือ สหภาพยุโรป, จีน, ออสเตรเลีย และแคนาดา โดยปี 2021 มีมูลค่าตลาดประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
โดยรายงานของหน่วยวิจัย อีโคซิสเต็ม มาร์เก็ตเพลซ คาดการณ์ว่า ราคาการซื้อขายต่อ 1 เครดิต หรือ 1 เมตริกตัน อาจจะพุ่งสูงขึ้นถึง 88 % หรือประมาณ 67 ดอลลาร์ต่อตัน เมื่อถึงปี 2030
บริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ที่ประกาศชัดในการรุกตลาดขายคาร์บอนเครดิต คงหนีไม่พ้น... บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) หลังครม.มีมติเมื่อวันที่ 31 ม.ค. เห็นชอบ หนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LoA) ให้ดำเนินโครงการเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางสาธารณะของภาคเอกชนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่ กทม.
โดยและมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ลงนามในหนังสืออนุญาตให้แก่บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 (ค.ศ. 2021-2030) ให้แก่มูลนิธิ KLiK (The Foundation for Climate Protection and Carbon Offset) ของสมาพันธรัฐสวิส
นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ให้ความเห็นว่า บริษัทฯเตรียมที่จะมีการขายคาร์บอนเครดิตช่วงปลายปีนี้ ให้กับห้มูลนิธิ KLiK (The Foundation for Climate Protection and Carbon Offset) ของสมาพันธรัฐสวิส หลังที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติไปแล้ว
ส่วนปีนี้จะขายคาร์บอนเครดิตได้เท่าไรนั้น ต้องรอดูว่ารถโดยสารไฟฟ้าของทาง ไทยสมายล์บัส ปีนี้จะให้บริการปีนี้มีจำนวนทั้งหมดกี่คัน หลังจากนั้นก็จะนำมาคำนวณคิดเป็นคาร์บอนเครดิต ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าไทยสมายล์บัส จะมีรถโดยสารไฟฟ้าให้บริการราว 3,000 คัน
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) ล่าสุด บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ จำกัด (Super Carbon X Co.,Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด (INNOPOWER) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กฟผ. เพื่อร่วมพัฒนารูปแบบการซื้อขายแลกเปลี่ยน ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) และคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits)
ปัจจุบัน บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ มีความสามารถในการออก REC จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้กลุ่มบริษัทย่อยของ SUPER เป็นจำนวน 700,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าที่จะออก REC เป็น 1,000,000 RECs ต่อปี จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนกับ The International REC Standard Foundation
นอกจาก REC แล้ว บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ ยังสามารถจัดหาคาร์บอนเครดิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพและโรงไฟฟ้าก๊าซชีวมวล ให้แก่ผู้ที่มีความต้องการการชดเชยคาร์บอน หรือ Carbon Offset กว่า 300,000 ตันคาร์บอนเทียบเท่า (tCO2e)
นอกจากนี้ ในส่วนของบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WAVE) ได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศสิงคโปร์ โดยให้บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งไปสู่ธุรกิจให้บริการด้านคาร์บอนเครดิตครบวงจร (Carbon Credit และ Renewable Energy Certificate หรือ RECs) โดยเป็นตัวกลางการซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้คำปรึกษาและวางแผนด้านคาร์บอนเครดิต ทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรที่มีใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย Carbon Credit และ RECs
“เป้าหมายของบริษัท ต้องการเป็นผู้นำการถือครองคาร์บอนเครดิตในปริมาณที่สูงที่สุดในประเทศไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกลยุทธ์ในการจัดหา Carbon Credits และ RECs จะเน้นไปที่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศเวียดนาม ซึ่งตามบัญชี Evident ของ IRECs จากข้อมูลในปี 65 แจ้งว่าเวียดนามมีการขึ้นทะเบียน RECs ทั้งหมด 5.74 ล้านRECs โดย WAVE BCG ได้มีการถือครองอยู่ที่ 1.38 ล้านRECs เท่ากับมีสัดส่วน Market share ถึง 23% ของ RECs ในเวียดนาม ภายในปี 66 คาดว่าการถือครอง Carbon Credits/RECs จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านตันคาร์บอน และภายในปี 67 เพิ่มขึ้นเป็น 4.33 ล้านตันคาร์บอน”นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (WAVE)
ขณะที่ บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว (มหาชน) หรือ EDL-Gen ผู้นำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดรายใหญ่ของ สปป.ลาว ร่วมมือกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวของ EDL-Gen โดยจะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในช่วงไตรมาส 2/66 และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในปี 67 ขณะเดียวกันบริษัทยังมีแผนจะทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนในไทยเพิ่มเติมในอนาคตเช่นกัน
ส่วน บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DITTO) เตรียมรุกธุรกิจ Carbon Credit ผ่านโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เปิดให้เอกชนขออนุญาตดูแลรักษาป่าเป็นโครงการหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โดย บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด บริษัทย่อยของ DITTO ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมโครงการ ได้รับจัดสรรพื้นที่ปลูกป่าชายเลน จำนวน 11,448 ไร่ เป็นเวลา 30 ปี เพื่อใช้ประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิตคาดว่าจะได้คาร์บอนเครดิตไม่น้อยกว่า 3.3 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดย DITTO ได้ส่วนแบ่ง 90% อีก 10% เป็นของ ทช.
บล.บัวหลวง ประเมินว่า หาก DITTO เริ่มดำเนินโครงการในปี 2566 จะใช้เวลา 3 ปี ที่จะเริ่มรับรู้คาร์บอนเครดิตในปี 2569 โดยคาดเงินลงทุนเริ่มต้นในปีแรกจะอยู่ที่ราว 160-170 ล้านบาท และค่าดูแลรักษาตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไปจะอยู่ที่ 30 ล้านบาท/ปี โดยตั้งแต่ปี 2569 คาดว่า DITTO จะได้รับคาร์บอนเครดิตต่อปีอยู่ที่ราว 1 แสนตัน/ปี (สัดส่วน 90%)
หากอิงจากตลาดในต่างประเทศอย่างยุโรปราคาตอนนี้อยู่ที่ราว 70 ยูโร หรือ 2,600 บาทต่อตัน จะสามารถสร้างกำไรในปี 2569 ได้ราว 230 ล้านบาท สร้างกำไรส่วนเพิ่มได้มากกว่า 50% ต่อปี จะครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดที่ลงทุนไปใน 3 ปีแรก และจะสร้างกำไรอย่างต่อเนื่องไปอีก 26 ปีที่เหลือ ซึ่งคาดว่าในอนาคตราคาคาร์บอนเครดิตจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน
ล่าสุด บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) (OTO) แจ้งข้อมูลผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมเข้ารุกธุรกิจคาร์บอนเครดิต คาดเห็นความชัดเจนภายเดือนเมษายน 2566 นี้
ถือเป็นการรวบรวมความเคลื่อนไหวของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่เตรียมรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ที่อยู่ในเมกระเทรนด์ รับกระแสลดภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนใครจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามตอนต่อไป
เห็นบริษัทจดทะเบียนหลายแห่งประกาศแผนเชิงรุก บุกตลาด “คาร์บอนเครดิต” เป็นกระแสมาตั้งแต่ปี 2565 ทำให้ Mr.Data ต้องรีบค้นคว้าหาคำตอบว่า เป็นเพียงแค่กระแส หรือ ตลาดกำลังจะมาจริงดังว่า!
จากรายงานข้อมูลของธนาคารกรุงเทพ เรื่อง “คาร์บอนเครดิต” เครื่องมือการเงินเพื่อสิ่งแวดล้อม เมกะเทรนด์ที่ทั่วโลกมุ่งสู่การทำธุรกิจที่ยั่งยืนด้วย ESG ให้ข้อมูลไว้อย่างน่าสนใจ โดยระบุว่า การตื่นตัวในการสร้างสมดุลให้ชั้นบรรยากาศของโลกของนานาประเทศผ่านพิธีสารโตเกียว และเริ่มใช้มาตรการทางภาษีกับผู้ที่ปล่อยก๊าชเรือนกระจกเกินกำหนด ผู้ประกอบการที่ปล่อยคาร์บอนเกินกำหนด จึงมีความต้องการเข้าซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไป รวมถึงรู้จักกับวิธีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในลักษณะของ Carbon Emission Trading Schemes (ETS) ซึ่งเป็นที่นิยมกันในยุโรปและอีกหลายประเทศ
ทั้งนี้ คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งอาจมีธุรกิจที่บริหารจัดการให้กระบวนการทำธุรกิจสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าเป้าหมายจนคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา ซึ่งมีมูลค่าจนสามารถนำออกขายให้แก่ธุรกิจ หรือหน่วยงานที่ในกระบวนการทำงานยังมีส่วนที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินกว่าเป้าหมายที่ควบคุม ก็สามารถมาซื้อคาร์บอนเครดิตในตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อชดเชยได้
ส่วน ตลาดคาร์บอน (Carbon Market) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต ที่สามารถทำให้ก๊าซเรือนกระจกสุทธิลดลงด้วยต้นทุนที่ต่ำที่สุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างยั่งยืน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งกลไกตลาดคาร์บอนจะทำให้เกิดความสมดุล โดยทำให้ผู้ประกอบการที่ปล่อยมลพิษ หรือปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีต้นทุนในปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อชดเชยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับโลก
สำหรับตลาดคาร์บอนเครดิตทั่วโลกมีการเติบโตและขยายตัวสูงมาก เนื่องจากมีต้นทุนในการดำเนินการน้อยที่สุด และเป็นเครื่องมือในการลดการปล่อยก๊าซที่คุ้มค่าที่สุด โดยในปี 2021 ทั่วโลกมีการใช้มาตรการนี้ถึง 45 ประเทศ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกกว่า 65 ประเทศ โดยมีมูลค่าการซื้อขายคาร์บอนเครดิตสูงถึง 8.51 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ
ขณะที่รายงานจากธนาคารโลก ระบุว่า เมื่อปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีตลาดคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นมากถึง 64 ตลาด มูลค่ารวมของการซื้อขายคาร์บอนเครดิตระหว่างกันเกือบ 6,700 ล้านดอลลาร์ ซึ่งปัจจุบันตลาดใหญ่ที่สุดในโลกมีอยู่ 4 แห่งใน 4 ประเทศ คือ สหภาพยุโรป, จีน, ออสเตรเลีย และแคนาดา โดยปี 2021 มีมูลค่าตลาดประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี
โดยรายงานของหน่วยวิจัย อีโคซิสเต็ม มาร์เก็ตเพลซ คาดการณ์ว่า ราคาการซื้อขายต่อ 1 เครดิต หรือ 1 เมตริกตัน อาจจะพุ่งสูงขึ้นถึง 88 % หรือประมาณ 67 ดอลลาร์ต่อตัน เมื่อถึงปี 2030
บริษัทจดทะเบียนรายใหญ่ที่ประกาศชัดในการรุกตลาดขายคาร์บอนเครดิต คงหนีไม่พ้น... บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) หลังครม.มีมติเมื่อวันที่ 31 ม.ค. เห็นชอบ หนังสือการอนุญาต (Letter of Authorization: LoA) ให้ดำเนินโครงการเปลี่ยนรถโดยสารประจำทางสาธารณะของภาคเอกชนเป็นรถโดยสารประจำทางไฟฟ้า (รถร่วมบริการ) ในพื้นที่ กทม.
โดยและมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ลงนามในหนังสืออนุญาตให้แก่บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) เพื่อถ่ายโอนคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการดำเนินโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2564 - 2573 (ค.ศ. 2021-2030) ให้แก่มูลนิธิ KLiK (The Foundation for Climate Protection and Carbon Offset) ของสมาพันธรัฐสวิส
นายอมร ทรัพย์ทวีกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) (EA) ให้ความเห็นว่า บริษัทฯเตรียมที่จะมีการขายคาร์บอนเครดิตช่วงปลายปีนี้ ให้กับห้มูลนิธิ KLiK (The Foundation for Climate Protection and Carbon Offset) ของสมาพันธรัฐสวิส หลังที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติไปแล้ว
ส่วนปีนี้จะขายคาร์บอนเครดิตได้เท่าไรนั้น ต้องรอดูว่ารถโดยสารไฟฟ้าของทาง ไทยสมายล์บัส ปีนี้จะให้บริการปีนี้มีจำนวนทั้งหมดกี่คัน หลังจากนั้นก็จะนำมาคำนวณคิดเป็นคาร์บอนเครดิต ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าไทยสมายล์บัส จะมีรถโดยสารไฟฟ้าให้บริการราว 3,000 คัน
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของ บริษัท ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (SUPER) ล่าสุด บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ จำกัด (Super Carbon X Co.,Ltd.) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท อินโนพาวเวอร์ จำกัด (INNOPOWER) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ กฟผ. เพื่อร่วมพัฒนารูปแบบการซื้อขายแลกเปลี่ยน ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) และคาร์บอนเครดิต (Carbon Credits)
ปัจจุบัน บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ มีความสามารถในการออก REC จากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ภายใต้กลุ่มบริษัทย่อยของ SUPER เป็นจำนวน 700,000 RECs ต่อปี และตั้งเป้าที่จะออก REC เป็น 1,000,000 RECs ต่อปี จากโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนกับ The International REC Standard Foundation
นอกจาก REC แล้ว บริษัท ซุปเปอร์ คาร์บอน เอ็กซ์ ยังสามารถจัดหาคาร์บอนเครดิตจากโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพและโรงไฟฟ้าก๊าซชีวมวล ให้แก่ผู้ที่มีความต้องการการชดเชยคาร์บอน หรือ Carbon Offset กว่า 300,000 ตันคาร์บอนเทียบเท่า (tCO2e)
นอกจากนี้ ในส่วนของบริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) (WAVE) ได้มีการจัดตั้งบริษัทย่อยในประเทศสิงคโปร์ โดยให้บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ถือหุ้นร้อยละ 100 เพื่อมุ่งไปสู่ธุรกิจให้บริการด้านคาร์บอนเครดิตครบวงจร (Carbon Credit และ Renewable Energy Certificate หรือ RECs) โดยเป็นตัวกลางการซื้อขายแลกเปลี่ยน ให้คำปรึกษาและวางแผนด้านคาร์บอนเครดิต ทำหน้าที่ในการจัดหาทรัพยากรที่มีใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย Carbon Credit และ RECs
“เป้าหมายของบริษัท ต้องการเป็นผู้นำการถือครองคาร์บอนเครดิตในปริมาณที่สูงที่สุดในประเทศไทยและในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยกลยุทธ์ในการจัดหา Carbon Credits และ RECs จะเน้นไปที่แหล่งผลิตพลังงานหมุนเวียนในประเทศเวียดนาม ซึ่งตามบัญชี Evident ของ IRECs จากข้อมูลในปี 65 แจ้งว่าเวียดนามมีการขึ้นทะเบียน RECs ทั้งหมด 5.74 ล้านRECs โดย WAVE BCG ได้มีการถือครองอยู่ที่ 1.38 ล้านRECs เท่ากับมีสัดส่วน Market share ถึง 23% ของ RECs ในเวียดนาม ภายในปี 66 คาดว่าการถือครอง Carbon Credits/RECs จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านตันคาร์บอน และภายในปี 67 เพิ่มขึ้นเป็น 4.33 ล้านตันคาร์บอน”นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ (WAVE)
ขณะที่ บริษัท เอสซีไอ อีเลคตริค จำกัด (มหาชน) (SCI) เปิดเผยว่า บริษัทลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) กับ บริษัท ผลิต-ไฟฟ้าลาว (มหาชน) หรือ EDL-Gen ผู้นำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดรายใหญ่ของ สปป.ลาว ร่วมมือกันเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและการซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy Certificate: REC) ของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใน สปป.ลาวของ EDL-Gen โดยจะเริ่มทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการในช่วงไตรมาส 2/66 และคาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินโครงการได้ภายในปี 67 ขณะเดียวกันบริษัทยังมีแผนจะทำการซื้อขายคาร์บอนเครดิตและซื้อขายใบรับรองพลังงานหมุนเวียนในไทยเพิ่มเติมในอนาคตเช่นกัน
ส่วน บริษัท ดิทโต้ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (DITTO) เตรียมรุกธุรกิจ Carbon Credit ผ่านโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เปิดให้เอกชนขออนุญาตดูแลรักษาป่าเป็นโครงการหนึ่งที่มีความสำคัญในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก โดย บริษัท สยาม ทีซี เทคโนโลยี จำกัด บริษัทย่อยของ DITTO ได้รับอนุญาตให้เข้าร่วมโครงการ ได้รับจัดสรรพื้นที่ปลูกป่าชายเลน จำนวน 11,448 ไร่ เป็นเวลา 30 ปี เพื่อใช้ประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิตคาดว่าจะได้คาร์บอนเครดิตไม่น้อยกว่า 3.3 ล้านตัน คาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดย DITTO ได้ส่วนแบ่ง 90% อีก 10% เป็นของ ทช.
บล.บัวหลวง ประเมินว่า หาก DITTO เริ่มดำเนินโครงการในปี 2566 จะใช้เวลา 3 ปี ที่จะเริ่มรับรู้คาร์บอนเครดิตในปี 2569 โดยคาดเงินลงทุนเริ่มต้นในปีแรกจะอยู่ที่ราว 160-170 ล้านบาท และค่าดูแลรักษาตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไปจะอยู่ที่ 30 ล้านบาท/ปี โดยตั้งแต่ปี 2569 คาดว่า DITTO จะได้รับคาร์บอนเครดิตต่อปีอยู่ที่ราว 1 แสนตัน/ปี (สัดส่วน 90%)
หากอิงจากตลาดในต่างประเทศอย่างยุโรปราคาตอนนี้อยู่ที่ราว 70 ยูโร หรือ 2,600 บาทต่อตัน จะสามารถสร้างกำไรในปี 2569 ได้ราว 230 ล้านบาท สร้างกำไรส่วนเพิ่มได้มากกว่า 50% ต่อปี จะครอบคลุมต้นทุนทั้งหมดที่ลงทุนไปใน 3 ปีแรก และจะสร้างกำไรอย่างต่อเนื่องไปอีก 26 ปีที่เหลือ ซึ่งคาดว่าในอนาคตราคาคาร์บอนเครดิตจะเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องอย่างแน่นอน
ล่าสุด บริษัท วันทูวัน คอนแทคส์ จำกัด (มหาชน) (OTO) แจ้งข้อมูลผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ เตรียมเข้ารุกธุรกิจคาร์บอนเครดิต คาดเห็นความชัดเจนภายเดือนเมษายน 2566 นี้
ถือเป็นการรวบรวมความเคลื่อนไหวของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่เตรียมรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ที่อยู่ในเมกระเทรนด์ รับกระแสลดภาวะโลกร้อน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ส่วนใครจะประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน คงต้องติดตามตอนต่อไป