Talk of The Town
PTTEP งบ Q3/67 กำไร ลด 1.31% โชว์ส่งเงินเข้ารัฐ 43,300 ล้านบาท โบรกฯ คาด Q4 ผลงานไม่เติบโต
29 ตุลาคม 2567
PTTEP ไตรมาส 3/67 กำไรสุทธิ 17,810.57 ล้านบาท ลดลง 1.31% หลังรายได้จากการขายลดลง ค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น โบรกฯ มองไตรมาส 4/67 คาดลดลงต่อ ตามทิศทางราคาน้ำมัน แนะจับตาการพิจารณาบันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ 511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 17,810.57 ล้านบาท ลดลง 1.31% จากไตรมาส 3/2566 ที่มีกำไรสุทธิ 514 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเทียบเท่า 18,101.44 ล้านบาท โดยหลักจากรายได้จากการขายลดลง ประกอบกับค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น สุทธิกับภาษีเงินได้ที่ลดลง โดยไตรมาสนี้มีกำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน
ส่วนงวด 9 เดือนของปี 2567 มีรายได้รวม 247,119 ล้านบาท (เทียบเท่า 6,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สรอ.)) โดยมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอัตราการผลิตปิโตรเลียมของโครงการ G1/61 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ในขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 47.11 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากการปรับตัวลดลงของราคาก๊าซธรรมชาติ จึงส่งผลให้รอบ 9 เดือนของปีนี้ บริษัทมีกำไรสุทธิ 60,517 ล้านบาท (เทียบเท่า 1,688 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น 3.60% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดังนั้นในรอบ 9 เดือนของปี 2567 ได้นำส่งรายได้ให้กับรัฐในรูปของภาษีเงินได้ ค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งผลประโยชน์อื่น ๆ จำนวนกว่า 43,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาชุมชน การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
นอกจากนี้ ส่วนแบ่งผลผลิตปิโตรเลียมจากโครงการ G1/61 และ G2/61 ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ยังเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่รัฐได้รับโดยตรงจากการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า โมเมนตัมไตรมาส 4/67 คาดชะลอตัวจากช่วงเดีวกันของปีก่อน ตามทิศทางราคาน้ำมัน แต่ประคองตัวจากไตรมาสก่อน จากปริมาณขายเร่งตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 5.40-5.50 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังแหล่งผลิตในประเทศผ่านช่วงปิดซ่อมบำรุง และปริมาณส่งมอบน้ำมันโครงการในแอฟริกาเพิ่มขึ้น
รวมทั้งต้นทุนผลิตต่ำลงจากไตรมาสก่อน เบื้องต้นประเมินกำไรระดับ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท คงคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2567 – 2568 ที่ 7.9 หมื่นล้านบาท และ 7.5 หมื่นล้านบาท ตามลำบ ถือเป็นผลประกอบการระดับสูงใกล้เคียงสถิติสูงสุดในปี 2566 ที่ 7.7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ Bottom line ในไตรมาส 4/67 มีปัจจัยต้องติดตามจากความเห็นของ Auditor เกี่ยวกับการพิจารณาบันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ แต่บริษัทฯ ให้ข้อมูลว่ากำหนดการ COD ปัจจุบันเลื่อนจากเดิมครึ่งปีแรก 71 เล็กน้อยเป็นครึ่งหลังปี 71 ประเมินราคา เหมาะสมใหม่ที่ 174 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”
นายมนตรี ลาวัลย์ชัยกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ 511 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเทียบเท่า 17,810.57 ล้านบาท ลดลง 1.31% จากไตรมาส 3/2566 ที่มีกำไรสุทธิ 514 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเทียบเท่า 18,101.44 ล้านบาท โดยหลักจากรายได้จากการขายลดลง ประกอบกับค่าเสื่อมราคา ค่าสูญสิ้น และค่าตัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น สุทธิกับภาษีเงินได้ที่ลดลง โดยไตรมาสนี้มีกำไรจากสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน
ส่วนงวด 9 เดือนของปี 2567 มีรายได้รวม 247,119 ล้านบาท (เทียบเท่า 6,912 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (สรอ.)) โดยมีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอัตราการผลิตปิโตรเลียมของโครงการ G1/61 ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ในขณะที่ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ 47.11 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากการปรับตัวลดลงของราคาก๊าซธรรมชาติ จึงส่งผลให้รอบ 9 เดือนของปีนี้ บริษัทมีกำไรสุทธิ 60,517 ล้านบาท (เทียบเท่า 1,688 ล้านดอลลาร์ สรอ.) เพิ่มขึ้น 3.60% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดังนั้นในรอบ 9 เดือนของปี 2567 ได้นำส่งรายได้ให้กับรัฐในรูปของภาษีเงินได้ ค่าภาคหลวง และส่วนแบ่งผลประโยชน์อื่น ๆ จำนวนกว่า 43,300 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ เช่น การพัฒนาชุมชน การศึกษา และการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น
นอกจากนี้ ส่วนแบ่งผลผลิตปิโตรเลียมจากโครงการ G1/61 และ G2/61 ภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต (PSC) ยังเป็นรายได้อีกส่วนหนึ่งที่รัฐได้รับโดยตรงจากการผลิตปิโตรเลียมของบริษัท เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศอีกด้วย
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มองว่า โมเมนตัมไตรมาส 4/67 คาดชะลอตัวจากช่วงเดีวกันของปีก่อน ตามทิศทางราคาน้ำมัน แต่ประคองตัวจากไตรมาสก่อน จากปริมาณขายเร่งตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ที่ 5.40-5.50 แสนบาร์เรลต่อวัน หลังแหล่งผลิตในประเทศผ่านช่วงปิดซ่อมบำรุง และปริมาณส่งมอบน้ำมันโครงการในแอฟริกาเพิ่มขึ้น
รวมทั้งต้นทุนผลิตต่ำลงจากไตรมาสก่อน เบื้องต้นประเมินกำไรระดับ 1.7-1.8 หมื่นล้านบาท คงคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2567 – 2568 ที่ 7.9 หมื่นล้านบาท และ 7.5 หมื่นล้านบาท ตามลำบ ถือเป็นผลประกอบการระดับสูงใกล้เคียงสถิติสูงสุดในปี 2566 ที่ 7.7 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ Bottom line ในไตรมาส 4/67 มีปัจจัยต้องติดตามจากความเห็นของ Auditor เกี่ยวกับการพิจารณาบันทึกรายการด้อยค่าสินทรัพย์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ แต่บริษัทฯ ให้ข้อมูลว่ากำหนดการ COD ปัจจุบันเลื่อนจากเดิมครึ่งปีแรก 71 เล็กน้อยเป็นครึ่งหลังปี 71 ประเมินราคา เหมาะสมใหม่ที่ 174 บาท คงคำแนะนำ “ซื้อ”