ด้านความต้องการทองคำทั่วโลกพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์
รายงานแนวโน้มความต้องการทองคำประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 จากสภาทองคำโลก (World Gold Council:WGC) ได้เผยว่าความต้องการทองคำผู้บริโภคของประเทศไทยยังคงมีอัตราการเติบโตสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียนต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่สอง โดยพุ่งสูงขึ้น 11% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา คิดเป็นปริมาณ 14.5 ตัน ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 ขณะเดียวกันปริมาณความต้องการทั่วโลกก็ยังคงแข็งแกร่งต่อเนื่อง โดยมีปริมาณความต้องการทองคำทั้งหมด จากทุกภาคส่วนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 1,313 ตัน ซึ่งนับว่าเป็นปริมาณความต้องการโดยรวมของไตรมาสที่ 3 ที่สูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และนับเป็นมูลค่าของความต้องการทองคำรวมสูงกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการเก็บสถิติ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากภาคการลงทุนที่แข็งแกร่งท่ามกลางสภาวะราคาทองคำที่สูงเป็นประวัติการณ์
ด้านความต้องการทองคำสำหรับการลงทุนได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 364 ตัน เนื่องจากทิศทางความต้องการในกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยน (ETF) ทองคำได้เปลี่ยนไปซึ่งโดยส่วนหลักแล้วเกิดขึ้นจากนักลงทุนฝั่งตะวันตก กองทุน ETF ทองคำทั่วโลกได้เพิ่มปริมาณทองคำขึ้นจำนวนรวม 95 ตัน ซึ่งถือเป็นไตรมาสแรกที่มีทิศทางเป็นบวกนับตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 เป็นต้นมา
แม้ว่าความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกได้ลดลง 9% แต่ความต้องการของประเทศไทยกลับสวนกับทิศทางในระดับโลกและเติบโตเพิ่มขึ้น 15% เมื่อเทียบปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนอยู่ที่ 12.1 ตันสำหรับในไตรมาสที่ 3 ของปี 2567 และนับเป็นประเทศที่มีความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำสูงเป็นอันดับที่สองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยความต้องการทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกในปีนี้ยังคงอยู่ที่ระดับ 859 ตัน ซึ่งถือว่ายังคงเป็นระดับที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 10 ปีซึ่งอยู่ที่ปริมาณ 774 ตัน
คุณเซาไก ฟาน (Shaokai Fan) หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า
“ความต้องการทองคำผู้บริโภคในประเทศไทยมีความแข็งแกร่ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการประกาศเริ่มโครงการ ‘ดิจิทัล วอลเล็ต’ ที่รอคอยกันมานาน ซึ่งได้รวมการแจกเงินรูปแบบของเงินสดที่ช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจใน