Talk of The Town

เปิดนโยบายว่าที่ “ประธานาธิบดี” สหรัฐฯ ที่ผลต่อประเทศไทย


01 พฤศจิกายน 2567

เกาะติดประเด็นระดับโลก! วันที่ 5 พ.ย.67 จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ จากรีพับลิกัน และนางคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบัน แต่นักลงทุนเคยสงสัยกันหรือไม่? การเลือกตั้งครั้งนี้ที่สหรัฐอเมริกา จะส่งผลต่อประเทศไทยอย่างไรบ้าง

เปิดนโยบายว่าที่ ประธานาธิบดี_S2T (เว็บ) copy.jpg

ความเห็นนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า ประเด็นการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ว่าใครจะชนะเลือกตั้ง กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม WHA, AMATA, DELTA, CCET จะค่อนข้างเด่นชัดสุด 

ทั้งนี้ เนื่องจากนโยบายทั้ง 2 คน พุ่งตรงไปยังประเทศจีนค่อนข้างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเก็บภาษีนำเข้า หรือการช่วยเหลือไต้หวันในด้านต่างๆ ทำให้ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐ-จีน , ไต้หวัน-จีน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 

ส่งผลให้เกิด เคลื่อนย้ายเม็ดเงินลงทุนออกจากจีน และ ไต้หวันเข้าสู่ประเทศไทย และอาเซียน เพื่อลดผลกระทบด้าน Supply disruption

แต่ถ้านางคามาลา แฮร์ริส ชนะ ประเมินกลุ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน GULF, BGRIM, WHAUP, GPSC จากการส่งเสริมเรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วโลก 

รวมถึงหุ้นในกลุ่มการเงิน MTC, SAWAD, TIDLOR, JMT จากแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่น่าจะลดลงได้เร็วกว่าทรัมป์ จากการแผนการเก็บเพิ่มภาษีบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล  เพื่อไปชดเชยการขาดดุลงบประมาณ

ในทางกลับกัน ถ้านายโดนัลด์ ทรัมป์ ชนะ มองว่า กลุ่มธนาคาร SCB, BBL, KBANK, KTB น่าจะเด่นชัดสุด เนื่องจากนโยบายของทรัมป์ เน้นการลดภาษีนิติบุคลในประเทศลง รวมถึงการเพิ่มภาษีนำเข้า โดยจะนำมาซึ่งเงินเฟ้อที่สูงกว่า ทำให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยสหรัฐจะลดลงช้ากว่าแฮร์ริส 

ในขณะที่การไม่สนับสนุนด้านพลังงานสะอาด จะเป็นผลดีต่อกลุ่มพลังงานดั้งเดิม เช่น PTT, PTTEP, BCP, OR เนื่องจากการเข้ามาทดแทนของพลังงานสะอาดจะช้าลง รวมถึงหุ้นกลุ่มส่งออก ITC, AAI, STA, STGT  น่าจะได้ประโยชน์ จากแนวโน้มค่าเงินบาทที่อาจจะกลับมาอ่อนค่าลง

นอกจากนี้หากทรัมป์ได้กลับมาดำรงตำแหน่ง จะมีการลดภาษีบริษัทและบุคคล เพื่อกระตุ้นการลงทุนและการบริโภค ซึ่งนโยบายนี้ แม้ว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่ก็ส่งผลให้หนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีการตั้งเป้าเก็บภาษี นำเข้าจากสินค้าจีนมาชดเชย 

ในด้านเงินเฟ้อนโยบายของทรัมป์ โดยรวมก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเร่งตัวขึ้นของภาวะเงินเฟ้อในระยะกลางถึงยาวมากกว่า 

ขณะที่แนวทางของแฮร์ริส ซึ่งมุ่งเน้นการสนับสนุนทางสังคม และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น นโยบายด้านสาธารณะสุข และสิ่งแวดล้อม แม้ว่าจะเพิ่มหนี้ในระยะสั้น แต่มีโอกาสสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจในระยะยาวมากกว่า โดยเฉพาะการตั้งเป้าเก็บภาษีสำหรับกลุ่มคนที่มีรายได้สูงเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ 

รวมถึงการลงทุนเพื่อพัฒนาพลังงานสะอาดและการเติบโตอย่างยั่งยืน ก็มีแนวโน้มที่จะลดผลกระทบจากเงินเฟ้อในระยะยาวผ่านการ สร้างงานและลดต้นทุนในด้านพลังงานได้ 

สรุปหากทรัมป์ชนะหนี้สาธารณะและเงินเฟ้อในอนาคตของสหรัฐมีแนวโน้มสูงนานกว่ากรณีแฮร์ริสชนะ ซึ่ง หมายความว่าอัตราดอกเบี้ยสหรัฐก็จะมีแนวโน้มลดลงช้ากว่าในกรณีที่แฮร์ริสชนะ

ขณะที่นโยบายต่อประเทศไทยฝั่ง แฮร์ริส คือ 1. เน้นความร่วมมือในการรักษาเสถียรภาพในภูมิภาค 2. ส่งเสริมการพัฒนาประชาธิปไตยในไทย 3. เสนอแผนความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีน 

4. ส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมและยั่งยืน 5. สนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยและ SMEs ไทย 6. เสนอโครงการความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีสีเขียว

ส่วนนโยบายต่อประเทศไทยฝั่งทรัมป์ คือ 1. กระชับความสัมพันธ์ทางการทูตให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น 2. เพิ่มการฝึกซ้อมทางทหารร่วมกัน 3. เสนอขายอาวุธยุทโธปกรณ์ทันสมัยในราคาพิเศษ 4. เจรจาข้อตกลงการค้าทวิภาคีที่ "ยุติธรรม" 5. ส่งเสริมการลงทุนของบริษัทสหรัฐฯ ในไทย 6. ส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

เปิดนโยบายว่าที่ ประธานาธิบดี_S2T (เพจ) copy.jpg