Talk of The Town
หุ้นแบงก์รับแรงกระแทก เมื่อรัฐบาลแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน อาจกระทบ Loan yield ลดลง
04 พฤศจิกายน 2567
จากกรณีรมว.คลัง หารือร่วมกับสมาคมธนาคารไทย เกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน โดยการให้ความช่วยเหลือนี้จะเน้นไปที่กลุ่มลูกหนี้ที่ต้องจับตาเป็นพิเศษ (SM) ซึ่งมีหนี้ค้างชำระระหว่าง 1-3 เดือน และกลุ่มหนี้เสียไม่เกิน 1 ปีด้วย ซึ่งกลุ่มนี้มีประมาณ 1 ล้านกว่าราย โดยมีมูลหนี้ราว 1 ล้านล้านบาท
สำหรับแนวทางเบื้องต้นจะเสนอให้พักดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี และจะให้ผ่อนเฉพาะเงินต้น โดยให้จ่ายเพียงครึ่งเดียว รวมถึงจะมีการขยายเวลาการผ่อนชำระให้นานขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาหนี้ในครั้งนี้ มุ่งแก้ปัญหาหนี้สำหรับกลุ่มเปราะบาง
โดยกลุ่มที่เข้าเกณฑ์คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผู้มีสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้านที่มีปัญหาในการชำระหนี้ โดยลูกหนี้บ้านมียอดสินเชื่อไม่เกิน 3 ล้านบาท และ สินเชื่อรถให้เฉพาะที่มียอดหนี้ประมาณ 8-9 แสนบาท
ขณะที่ลูกหนี้กลุ่มนี้จะยังคงมีการรายงานประวัติการชำระหนี้ในเครดิตบูโรให้เป็นหน้าที่ของธนาคาร พิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อใหม่หรือไม่ โดยจะต้องหารือกับผู้ว่าการ ธปท. ใน เรื่องการผ่อนปรนเกณฑ์ เพื่อเปิดทางให้เข้าถึงสินเชื่อ
ความเห็นนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มองเป็นลบเล็กน้อยต่อกลุ่มธนาคาร เพราะมาตรการนี้จะให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้รายย่อยมูลค่า 1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6.6% ของสินเชื่อทั้งระบบ โดยการพักการจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี จะส่งกระทบต่อ Loan yield ที่จะลดลงจาก EIR ที่ลดลง และส่งผลให้ดอกเบี้ยค้างรับที่จะเพิ่มขึ้น
แต่จะส่งผล ให้แนวโน้มการตั้งสำรองฯมีโอกาสลดลงได้ เพราะเชื่อว่ามาตรการนี้จะคล้ายช่วงโควิดที่จะไม่จัดชั้นลูกหนี้กลุ่มนี้ลงเป็น NPL อย่างไรก็ดีบางธนาคารที่ conservative น่าจะมีการตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นได้
โดยยังคงต้องรอ รายละเอียดเพิ่มเติมจาก ธปท. อีกที ซึ่งคาดว่ามาตรการนี้น่าจะเป็นทางเลือกให้กลุ่มธนาคารเข้าช่วยเหลือ ไม่น่าจะเป็นการบังคับให้กลุ่มธนาคาร ต้องทำตาม ขณะที่เชื่อว่าหากมาตรการนี้บังคับใช้จริง มีโอกาสสูงที่จะมีนโยบายการลด FIDF fee เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มธนาคารได้
ทั้งนี้ธนาคารขนาด ใหญ่ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ TTB (62%), KTB (46%), SCB (40%), KBANK (28%) โดยกลุ่มธนาคารยังให้น้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท), KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) เป็น top pick
สำหรับแนวทางเบื้องต้นจะเสนอให้พักดอกเบี้ยเป็นเวลา 3 ปี และจะให้ผ่อนเฉพาะเงินต้น โดยให้จ่ายเพียงครึ่งเดียว รวมถึงจะมีการขยายเวลาการผ่อนชำระให้นานขึ้น โดยการแก้ไขปัญหาหนี้ในครั้งนี้ มุ่งแก้ปัญหาหนี้สำหรับกลุ่มเปราะบาง
โดยกลุ่มที่เข้าเกณฑ์คือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีผู้มีสินเชื่อรถ สินเชื่อบ้านที่มีปัญหาในการชำระหนี้ โดยลูกหนี้บ้านมียอดสินเชื่อไม่เกิน 3 ล้านบาท และ สินเชื่อรถให้เฉพาะที่มียอดหนี้ประมาณ 8-9 แสนบาท
ขณะที่ลูกหนี้กลุ่มนี้จะยังคงมีการรายงานประวัติการชำระหนี้ในเครดิตบูโรให้เป็นหน้าที่ของธนาคาร พิจารณาว่าจะปล่อยสินเชื่อใหม่หรือไม่ โดยจะต้องหารือกับผู้ว่าการ ธปท. ใน เรื่องการผ่อนปรนเกณฑ์ เพื่อเปิดทางให้เข้าถึงสินเชื่อ
ความเห็นนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ ดาโอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มองเป็นลบเล็กน้อยต่อกลุ่มธนาคาร เพราะมาตรการนี้จะให้ความช่วยเหลือกับลูกหนี้รายย่อยมูลค่า 1 ล้านล้านบาท คิดเป็น 6.6% ของสินเชื่อทั้งระบบ โดยการพักการจ่ายดอกเบี้ย 3 ปี จะส่งกระทบต่อ Loan yield ที่จะลดลงจาก EIR ที่ลดลง และส่งผลให้ดอกเบี้ยค้างรับที่จะเพิ่มขึ้น
แต่จะส่งผล ให้แนวโน้มการตั้งสำรองฯมีโอกาสลดลงได้ เพราะเชื่อว่ามาตรการนี้จะคล้ายช่วงโควิดที่จะไม่จัดชั้นลูกหนี้กลุ่มนี้ลงเป็น NPL อย่างไรก็ดีบางธนาคารที่ conservative น่าจะมีการตั้งสำรองฯเพิ่มขึ้นได้
โดยยังคงต้องรอ รายละเอียดเพิ่มเติมจาก ธปท. อีกที ซึ่งคาดว่ามาตรการนี้น่าจะเป็นทางเลือกให้กลุ่มธนาคารเข้าช่วยเหลือ ไม่น่าจะเป็นการบังคับให้กลุ่มธนาคาร ต้องทำตาม ขณะที่เชื่อว่าหากมาตรการนี้บังคับใช้จริง มีโอกาสสูงที่จะมีนโยบายการลด FIDF fee เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มธนาคารได้
ทั้งนี้ธนาคารขนาด ใหญ่ที่มีสัดส่วนสินเชื่อรายย่อยเรียงจากมากไปหาน้อยคือ TTB (62%), KTB (46%), SCB (40%), KBANK (28%) โดยกลุ่มธนาคารยังให้น้ำหนักเป็น “มากกว่าตลาด” เลือก KTB (ซื้อ/เป้า 23.00 บาท), KBANK (ซื้อ/เป้า 176.00 บาท) เป็น top pick