"เซียนฮง" ยิ้มหุ้นในพอร์ตวิ่งกระฉูด พบ 10 เดือนแรก 5 หุ้นราคาพุ่ง CCET แชมป์ราคาทะยาน 171%
ภาพรวมตลาดหุ้นไทยในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.65% ขณะที่หุ้นที่ให้ผลตอบแทนมากที่สุดเป็นหุ้นกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 60.05% รองลงมาเป็นหุ้นกลุ่มไอทีซี เพิ่มขึ้น 37.57%
จากการสำรวจข้อมูลในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนขอพอร์ตลงทุนของนักลงทุนรายใหญ่อย่าง "สถาพร งามเรืองพงศ์"หรือเซียนฮง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในวงการตลาดหุ้นไทย โดยพบว่าปัจจุบันมีการถือครองหุ้นจำนวน 19 บริษัท ดังนี้
หุ้น BE8 จำนวนถือ 20,141,760 หุ้นคิดเป็น 7.61% BVG 4,185,600 หุ้น คิดเป็น 0.93% CCET 132,320,700 หุ้น คิดเป็น 1.27 %
CHAO 6,050,000 หุ้นคิดเป็น 2.02% DITTO 42,039,404 หุ้นคิดเป็น 6.06% KLINIQ 4,591,300 หุ้น คิดเป็น 2.09%
LTS 4,000,000 หุ้น คิดเป็น 1.94% MALEE 25,001,400 หุ้น คิดเป็น 4.58% MICRO 24,357,300 หุ้น คิดเป็น 2.61%
MOSHI 2,209,200 หุ้น คิดเป็น 0.67% NEO 6,000,000 หุ้น คิดเป็น 2.00%PROUD 11,000,000 หุ้นคิดเป็น 1.13%
ROJNA 22,606,500 หุ้น คิดเป็น 1.12%SEI 4,268,000 หุ้น คิดเป็น 2.51% STA21,569,800 หุ้นคิดเป็น 1.40%
TAN 1,719,400 หุ้น คิดเป็น 0.57% TEAMG41,232,080 หุ้น คิดเป็น 5.04% TKN19,768,200 หุ้นคิดเป็น 1.43%
TRP 4,200,000 หุ้น คิดเป็น 1.20%
จากข้อมูลข้างต้นจะพบว่าในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา หุ้นในพอร์ตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นมี 5 บริษัท ได้แก่ หุ้น CCET ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 171.63% ROJNAราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 21.37% STAราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 27.33% TKNราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 9.47% MALEEราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.85%
ทั้งนี้ ยังพบว่า "เซียนฮง"ได้เริ่มเข้ามาลงทุนในหุ้นCCET โดยมีการปรากฎรายชื่อผู้ถือหุ้น ณ เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา หากพิจารณาที่ราคาหุ้นCCET ตั้งแต่เดือนสิงหาคมจนถึงปัจจุบันราคาปรับตัวขึ้นราว 51.88% ดังนั้นหากยังคงถือครองหุ้นในปัจจุบันย่อมได้รับส่วนต่างจากการลงทุนในครั้งนี้อย่างแน่นอน
ด้านบล.เคจีไอ ระบุว่า ได้แนะนำซื้อหุ้น CCET ราคาเป้าหมาย 5.10 บาท ปรับสมมติฐานและเพิ่มประมาณการกำไรปี 2567 – 2568 โดยกำไร 2Q67 ของ CCET เติบโตสอดคล้องกับความคาดหมาย แต่รายการทางบัญชีแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้ จากข้อมูลในการประชุมนักวิเคราะห์ เราได้ปรับปรุงสมมติฐานดังนี้ 1) ลดประมาณการรายได้ปี 2567 – 68 ลง 5% และ 1.5% เหลือ 14.6 พันล้านบาท และ 15.8 พันล้านบาท ตามลำดับ เราคาดว่ารายได้จะฟื้นตัวต่อเนื่องใน 1H67 เนื่องจากการ Restock ทั่วโลกและการเพิ่มสัดส่วนการผลิตสินค้าใหม่ที่มีอัตรากำไรสูง
อย่างไรก็ตาม ประมาณการก่อนหน้านี้ของเราประเมินโรงงานใหม่ในจังหวัดเพชรบุรีสูงเกินไป เนื่องจากโรงงานจะเริ่มการทดสอบการผลิตใน 4Q67 และเริ่มการผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2568 2) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารใน 2Q67 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเป็น 1.1 พันล้านบาท (จาก 760 ล้านบาทใน 1Q67) หลังจากสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารต่อรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 3.05% ใน 2Q67 จาก 2.4% ใน 1Q67 คาดว่าค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารจะคงอยู่ที่ 1 พันล้านบาทต่อไตรมาสใน 2H67 และปี 2568 เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการวิจัยพัฒนาและการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
3) ปรับลดดอกเบี้ยรับสุทธิ (ดอกเบี้ยรับ - ดอกเบี้ยจ่าย) เหลือ 89 ล้านบาท (จาก 234 ล้านบาทใน 1Q67) เนื่องจากการชำระคืนเงินกู้เร็วกว่าที่คาด โดยเงินกู้ระยะยาวลดลงจาก 11.3 พันล้านบาทใน 1Q67 เหลือ 8.5 พันล้านบาทใน 2Q67 อย่างไรก็ตาม เราตั้งสมมติฐานอย่างระมัดระวังว่าต้นทุนทางการเงินจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยใน 2H67 เป็นราว 150 ล้านบาทต่อไตรมาส จาก 89 ล้านบาทใน 2Q67 เนื่องจากคาดจะมีรายจ่ายลงทุนสำหรับโรงงานใหม่ 4) เรายังคงสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นที่ 5.49% ในปี 1Q67 และ 5.55% ในปี 1Q68 โดยรวมแล้ว เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2567 – 68 ขึ้น 11% และ 20% เป็น 2.6 พันล้านบาท และ 3.2 พันล้านบาท ตามลำดับ
ความตึงเครียดทางการค้าเป็นโอกาส
สงครามการค้าและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่าง “สหรัฐฯ-จีน” รวมทั้ง “จีน-ไต้หวัน” จะทำให้เกิดการเร่งการย้ายฐานการผลิตมาไทยและประเทศอื่นๆ โดย CCET เริ่มได้รับประโยชน์จากแนวโน้มนี้แล้ว ล่าสุดมีลูกค้ารายใหญ่ 2 ราย จากจีนและเวียดนาม กำลังจะย้ายการผลิตมายังโรงงานแห่งใหม่ของ CCET เพื่อกระจายความเสี่ยงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ นอกจากนี้ ธุรกิจ EV charger ที่เป็นสินค้าใหม่ของ CCET คาดจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกีดกันทางการค้าระหว่าง สหรัฐฯ-จีน เนื่องจากล่าสุดทางการสหรัฐฯใช้มาตรการทางภาษีกับค่ายรถ EV จีน ขณะที่ลูกค้าของ CCET เป็นผู้ผลิต EV charger รายใหญ่ที่สหรัฐฯ (ส่วนแบ่งตลาดอันดับ 1 ในสหรัฐฯ)
การผลิตสินค้าที่มีอัตรากำไรสูงจะขับเคลื่อนกำไร
อัตรากำไรขั้นต้นของ CCET เพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 1Q67-2Q67 ตามคาด เนื่องจากบริษัทลดสัดส่วนสินค้าที่มีอัตรากำไรต่ำ (โดยเฉพาะ HHDs) และเพิ่มสัดส่วนสินค้าใหม่ที่มีอัตรากำไรสูงขึ้น อย่างไรก็ดีเรายังคงสมมติฐานอัตรากำไรขั้นต้นแบบอนุรักษ์นิยมไว้ โดยคาดอัตรากำไรขั้นต้นใน 2H67 จะทรงตัวที่ราว 5.5% ใกล้เคียงค่าเฉลี่ยใน 1H67 และแนวโน้มจะทยอยปรับสูงขึ้นในปี 2568 หลังจากสัดส่วนการผลิตสินค้าใหม่เริ่มทยอยเพิ่มขึ้น
Valuation & action
เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" โดย EV/EBIT DA ที่ 6.8 เท่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต -0.5 S.D. ในขณะที่กำไรปี 2567 -2568 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เราปรับราคาเป้าหมายเป็น 5.10 บาท อิงจาก EV/EBITDA ที่ 8.8 เท่า ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต +1.0 S.D. และมี upside 42.5%