จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : PSP เดินหน้าออกสินค้าลดภาวะโลกร้อน ผนึก GGC พัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ
12 พฤศจิกายน 2567
บมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ หรือ PSP ปรับตัวรับมือมาตรการลดภาวะโลกร้อน จับมือ GGC ร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT พลิกโฉมอุตสาหกรรมไทยสู่ความยั่งยืนแห่งอนาคต
การประชุม COP29 ซึ่งมีสมาชิกถึง 198 ประเทศเข้าร่วม จะมีการสานต่อจากการประชุมครั้งก่อน โดยจะผลักดันการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุถึงการประชุม COP29 ที่จัดขึ้นในประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 โดยมีภาคีสมาชิกจำนวน 198 ภาคีเข้าร่วมประชุม ซึ่งประเทศต่าง ๆ จะมีการอัพเดทแผน NDC ฉบับใหม่ พร้อมทั้งมองว่าผลของการผลักดันการดำเนินด้านสิ่งแวดล้อมคงจะมาจากการปรับตัวของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะส่งผลไปสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SMEs ที่จะเป็นความเสี่ยงให้ต้องเร่งปรับตัวตาม
ทั้งนี้ การประชุม COP29 คงจะส่งผลให้ทิศทางของทุกภาคส่วนเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดที่จะมีการผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจน และประเด็นการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการผลักดันในระดับภูมิภาคอาเซียน
การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ทุกภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับมาตรฐานใหม่ของโลกที่เกิเดขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการน้ำมันหล่อลื่น
โดยบมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ หรือ PSP ผู้นำด้านโซลูชันน้ำมันหล่อลื่น ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ บมจ.โกลบอลกรีนเคมิคอล หรือ GGC ผู้นำด้านธุรกิจเคมีชีวภาพ และบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Flagship Company ของ GC Group เพื่อร่วมกันพัฒนาและผลักดันผลิตภัณฑ์น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ให้ก้าวสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์EnPATได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดที่เน้นความยั่งยืน โดยใช้วัตถุดิบชีวภาพจากปาล์มน้ำมันไทย ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ยังมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม พร้อมการทำงานร่วมกันในด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ในอนาคต
นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PSP ระบุ การร่วมพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มไทยในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญที่ไม่เพียงส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันPSPกำลังทดสอบการใช้งานน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPATร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการEnPATซึ่งทีมวิจัยได้ติดตั้งต้นแบบระบบการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพที่มีกำลังการผลิตประมาณ300ลิตรต่อครั้ง และได้ทำการทดสอบระบบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ GGC ระบุ GGCร่วมกับภาครัฐดำเนินโครงการEnPATโดยพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างโอกาสในการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ภายใต้BCG ModelและNew S-Curveด้านBiochemicalsช่วยเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันปาล์ม สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
“ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในระดับสากล สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของGGCที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” นายกฤษฎา กล่าว
การประชุม COP29 ซึ่งมีสมาชิกถึง 198 ประเทศเข้าร่วม จะมีการสานต่อจากการประชุมครั้งก่อน โดยจะผลักดันการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุถึงการประชุม COP29 ที่จัดขึ้นในประเทศอาเซอร์ไบจาน ระหว่างวันที่ 11 – 22 พฤศจิกายน 2567 โดยมีภาคีสมาชิกจำนวน 198 ภาคีเข้าร่วมประชุม ซึ่งประเทศต่าง ๆ จะมีการอัพเดทแผน NDC ฉบับใหม่ พร้อมทั้งมองว่าผลของการผลักดันการดำเนินด้านสิ่งแวดล้อมคงจะมาจากการปรับตัวของบริษัทขนาดใหญ่ที่จะส่งผลไปสู่บริษัทขนาดเล็ก รวมถึง SMEs ที่จะเป็นความเสี่ยงให้ต้องเร่งปรับตัวตาม
ทั้งนี้ การประชุม COP29 คงจะส่งผลให้ทิศทางของทุกภาคส่วนเปลี่ยนไปมากขึ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาดที่จะมีการผลักดันการใช้พลังงานไฮโดรเจน และประเด็นการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ได้รับการผลักดันในระดับภูมิภาคอาเซียน
การสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสิ่งที่ทุกภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการปรับตัวเพื่อรองรับมาตรฐานใหม่ของโลกที่เกิเดขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งวงการน้ำมันหล่อลื่น
โดยบมจ.พี.เอส.พี. สเปเชียลตี้ส์ หรือ PSP ผู้นำด้านโซลูชันน้ำมันหล่อลื่น ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ บมจ.โกลบอลกรีนเคมิคอล หรือ GGC ผู้นำด้านธุรกิจเคมีชีวภาพ และบริษัทแกนนำในธุรกิจผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม Green Flagship Company ของ GC Group เพื่อร่วมกันพัฒนาและผลักดันผลิตภัณฑ์น้ำมัน หม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPAT ให้ก้าวสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตอบสนองต่อความต้องการในตลาดพลังงานหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ผลิตภัณฑ์EnPATได้รับการพัฒนาภายใต้แนวคิดที่เน้นความยั่งยืน โดยใช้วัตถุดิบชีวภาพจากปาล์มน้ำมันไทย ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาพลังงานฟอสซิล นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ยังมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจ และศักยภาพในการขยายกำลังการผลิตสู่ระดับอุตสาหกรรม พร้อมการทำงานร่วมกันในด้านการตลาดและการจัดจำหน่าย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ในอนาคต
นายเสกสรร ครองพาณิชย์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PSP ระบุ การร่วมพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มไทยในครั้งนี้ ถือเป็นโครงการสำคัญที่ไม่เพียงส่งเสริมการเติบโตของธุรกิจเพียงเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการนำเข้าและพึ่งพาวัตถุดิบจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันในประเทศ ซึ่งทั้งหมดนี้จะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ปัจจุบันPSPกำลังทดสอบการใช้งานน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ EnPATร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการEnPATซึ่งทีมวิจัยได้ติดตั้งต้นแบบระบบการผลิตน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพที่มีกำลังการผลิตประมาณ300ลิตรต่อครั้ง และได้ทำการทดสอบระบบจนเสร็จเรียบร้อยแล้ว
นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ GGC ระบุ GGCร่วมกับภาครัฐดำเนินโครงการEnPATโดยพัฒนาน้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพจากน้ำมันปาล์มที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โครงการนี้มีการทดสอบภาคสนามเชิงบูรณาการ เพื่อสร้างโอกาสในการใช้งานเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับเศรษฐกิจใหม่ภายใต้BCG ModelและNew S-Curveด้านBiochemicalsช่วยเพิ่มมูลค่าให้น้ำมันปาล์ม สร้างรายได้ให้เกษตรกรไทย และทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
“ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านพลังงานสะอาด และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอนาคต ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในระดับสากล สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของGGCที่มุ่งมั่นสร้างความยั่งยืนทางเศรษฐกิจให้กับภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ เป็นผู้นำผลิตภัณฑ์เคมีเพื่อสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อนพลังแห่งการสร้างสรรค์ เพื่อคุณค่าที่ยั่งยืน” นายกฤษฎา กล่าว