กระดานข่าว
IP กางผลงาน 9M24 รายได้รวมเฉียด 1,400 ลบ. ลุยสร้างความต่าง-อัพมาตรฐานสู่ EU เตรียมเจาะตลาดโลก
15 พฤศจิกายน 2567
บมจ.อินเตอร์ ฟาร์มา กางผลงาน 9 เดือนแรกปี 2567 กวาดรายได้รวมกว่า 1,376 ล้านบาท เข้าซื้อกิจการเวชศาสตร์ฟื้นฟู พร้อมอัพการผลิตยาตาสู่ EU Standard เตรียมส่งออกขยายฐานเจาะตลาดโลก ย้ำ 2567 เป็นปีแห่งการลงทุนขยายกลุ่มธุรกิจให้ครบวงจร ต่อยอดการเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนในระยะยาว
ดร.ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) หรือ IP ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนา คิดค้น และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร สำหรับคน และผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2567 ว่า บริษัทมีรายได้รวม 1,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 0.6% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมาจากรายได้การขายและบริการเป็นสำคัญกว่า 1,365 ล้านบาท ตามการเติบโตของยอดขายลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นกว่า 23% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แตะ 174 ล้านบาท และธุรกิจร้านขายยาที่เพิ่มขึ้นกว่า 11% แตะ 487 ล้านบาท จากการเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 37 สาขา รวมถึงรายได้จากธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่รับรู้เข้ามาต่อยอดการเติบโตอีกราว 21 ล้านบาท
ขณะที่รายได้จากลูกค้ากลุ่มบริโภคอยู่ที่ 283 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสินค้าลอกเลียนแบบในหลายช่องทาง โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ และการต้องชะลอการผลิต เพื่อปรับปรุงโรงงานและระบบสาธารณูปโภคต่างๆสู่มาตรฐาน EU Standard เตรียมความพร้อมส่งออกผลิตภัณฑ์ขยายฐานเจาะตลาดโลก
ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพสำหรับสัตว์ มีรายได้ใกล้เคียงช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 255 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลและคลินิก รายได้อยู่ที่ราว 145 ล้านบาท ลดลงราว 14% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการปรับปรุงพื้นที่และการตกแต่งโรงพยาบาลใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลนครพัฒน์อินเตอร์ อย่างไรก็ตามคาดรายได้จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป หลังเริ่มทยอยเปิดโซนรังสี และโซนผู้ป่วยนอกในเดือนพฤศจิกายน 2567
ดร.ตฤณวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นราว 6% อยู่ที่ 1,327 ล้านบาท จากต้นทุนขายและบริการที่เพิ่มขึ้นราว 2% อยู่ที่ 862 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 22% มาอยู่ที่ 317 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากค่าโฆษณาและกิจกรรมการตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชภัณฑ์, กลุ่มโภชนเภสัช/อาหารเสริม, นวัตกรรมความงาม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพของสัตว์เลี้ยง รวมถึงยังมีการเพิ่มการลงทุนด้านขนส่งและกระจายสินค้า การเสริมสร้างทีมงานขายและการขยายสาขาธุรกิจร้านขายยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงลูกค้าและขยายฐานลูกค้าอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจต่อยอดการเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนในระยะยาว
“บริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย บริษัทจึงได้กำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ซึ่งปี 2567 นี้ ยังคงเป็นช่วงแห่งการลงทุนขยายกลุ่มธุรกิจให้ครอบคลุมครบวงจร ต่อยอดการเติบโตที่มั่นคง และยั่งยืนในระยะยาวตามแผนที่วางไว้ เช่น การวิจัยการรักษาโรค Parkinson ด้วย Gene Therapy เป็นต้น“ ดร.ตฤณวรรธน์ กล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุด ในปี 2567 บมจ.อินเตอร์ ฟาร์มา แบ่งโครงสร้างธุรกิจใหม่ออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจลูกค้าโรงพยาบาล (Hospital Market), 2.กลุ่มธุรกิจลูกค้าผู้บริโภค (Consumer Market), 3.กลุ่มธุรกิจดูแลและส่งเสริมสุขภาพสัตว์ (Animal Healthcare), 4.กลุ่มธุรกิจร้านขายยาภายใต้แบรนด์ “Lab Pharmacy” และ5.กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลและคลีนิค (Hospital Business) 6.กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices Innovation)
ดร.ตฤณวรรธน์ ธนิตนิธิพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ ฟาร์มา จำกัด (มหาชน) หรือ IP ผู้ดำเนินธุรกิจด้านการพัฒนา คิดค้น และจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร สำหรับคน และผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ เปิดเผยภาพรวมผลการดำเนินงาน 9 เดือนแรกปี 2567 ว่า บริษัทมีรายได้รวม 1,376 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 0.6% เทียบจากช่วงเดียวกันปีก่อน ซึ่งมาจากรายได้การขายและบริการเป็นสำคัญกว่า 1,365 ล้านบาท ตามการเติบโตของยอดขายลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาลที่เพิ่มขึ้นกว่า 23% จากช่วงเดียวกันปีก่อน แตะ 174 ล้านบาท และธุรกิจร้านขายยาที่เพิ่มขึ้นกว่า 11% แตะ 487 ล้านบาท จากการเดินหน้าขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 37 สาขา รวมถึงรายได้จากธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่รับรู้เข้ามาต่อยอดการเติบโตอีกราว 21 ล้านบาท
ขณะที่รายได้จากลูกค้ากลุ่มบริโภคอยู่ที่ 283 ล้านบาท แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสินค้าลอกเลียนแบบในหลายช่องทาง โดยเฉพาะแพลตฟอร์มออนไลน์ รวมถึงผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่หลายจังหวัดของประเทศ และการต้องชะลอการผลิต เพื่อปรับปรุงโรงงานและระบบสาธารณูปโภคต่างๆสู่มาตรฐาน EU Standard เตรียมความพร้อมส่งออกผลิตภัณฑ์ขยายฐานเจาะตลาดโลก
ส่วนกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพสำหรับสัตว์ มีรายได้ใกล้เคียงช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 255 ล้านบาท กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลและคลินิก รายได้อยู่ที่ราว 145 ล้านบาท ลดลงราว 14% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากการปรับปรุงพื้นที่และการตกแต่งโรงพยาบาลใหม่และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลนครพัฒน์อินเตอร์ อย่างไรก็ตามคาดรายได้จะเริ่มปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 4/2567 เป็นต้นไป หลังเริ่มทยอยเปิดโซนรังสี และโซนผู้ป่วยนอกในเดือนพฤศจิกายน 2567
ดร.ตฤณวรรธน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับค่าใช้จ่ายรวมเพิ่มขึ้นราว 6% อยู่ที่ 1,327 ล้านบาท จากต้นทุนขายและบริการที่เพิ่มขึ้นราว 2% อยู่ที่ 862 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายในการขายและจัดจำหน่ายเพิ่มขึ้น 22% มาอยู่ที่ 317 ล้านบาท สาเหตุสำคัญมาจากค่าโฆษณาและกิจกรรมการตลาด โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์กลุ่มเวชภัณฑ์, กลุ่มโภชนเภสัช/อาหารเสริม, นวัตกรรมความงาม และกลุ่มผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพของสัตว์เลี้ยง รวมถึงยังมีการเพิ่มการลงทุนด้านขนส่งและกระจายสินค้า การเสริมสร้างทีมงานขายและการขยายสาขาธุรกิจร้านขายยา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงลูกค้าและขยายฐานลูกค้าอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังมีการรวมกลุ่มธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจต่อยอดการเติบโตอย่างมั่นคงยั่งยืนในระยะยาว
“บริษัทให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมสร้างมูลค่าเพิ่มกับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย บริษัทจึงได้กำหนดกลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนการดำเนินงานทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ซึ่งปี 2567 นี้ ยังคงเป็นช่วงแห่งการลงทุนขยายกลุ่มธุรกิจให้ครอบคลุมครบวงจร ต่อยอดการเติบโตที่มั่นคง และยั่งยืนในระยะยาวตามแผนที่วางไว้ เช่น การวิจัยการรักษาโรค Parkinson ด้วย Gene Therapy เป็นต้น“ ดร.ตฤณวรรธน์ กล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุด ในปี 2567 บมจ.อินเตอร์ ฟาร์มา แบ่งโครงสร้างธุรกิจใหม่ออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มธุรกิจลูกค้าโรงพยาบาล (Hospital Market), 2.กลุ่มธุรกิจลูกค้าผู้บริโภค (Consumer Market), 3.กลุ่มธุรกิจดูแลและส่งเสริมสุขภาพสัตว์ (Animal Healthcare), 4.กลุ่มธุรกิจร้านขายยาภายใต้แบรนด์ “Lab Pharmacy” และ5.กลุ่มธุรกิจโรงพยาบาลและคลีนิค (Hospital Business) 6.กลุ่มธุรกิจนวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical Devices Innovation)