Wealth Sharing
ประเมินหุ้นไทยสัปดาห์นี้ มีแนวรับ 1,600-1,575 จุด แนวต้าน 1,620-1,630 จุด
07 มีนาคม 2566
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปิดต่ำสุดในรอบกว่า 2 เดือน ทั้งนี้ หุ้นไทยร่วงลงตลอดสัปดาห์ ท่ามกลางแรงขายต่อเนื่องของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ โดยปัจจัยกดดันหลักๆมาจากความกังวลว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ยในเชิงรุกมากขึ้น หลังตัวเลขเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนี PCE เดือนม.ค. ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าตลาดคาด และตัวเลขส่งออกเดือนม.ค. ของไทยที่ออกมาหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่กกร. ได้ปรับลดคาดการณ์การส่งออกไทยในปีนี้ลงตามการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก อนึ่ง หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีปรับตัวขึ้นแข็งแกร่งสวนทางภาพรวมในสัปดาห์นี้ โดยมีแรงหนุนจากหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่แห่งหนึ่งจากแนวโน้มธุรกิจที่ยังคงสดใส และหุ้นบริษัทด้านการสื่อสารจากประเด็นการควบรวมธุรกิจ
ในวันศุกร์ (3 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,606.88 จุด ลดลง 1.66% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 63,810.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.08% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.17% มาปิดที่ระดับ 557.36 จุด
สำหรับสัปดาห์นี้ (6-10 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,600 และ 1,575 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,620 และ 1,630 จุด ตามลำดับ
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของไทย ถ้อยแถลงของประธานเฟด ประเด็นการเมืองภายในประเทศ รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือนม.ค. ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนก.พ. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOJ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.พ. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค
ในวันศุกร์ (3 มี.ค.) ดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,606.88 จุด ลดลง 1.66% จากระดับปลายสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 63,810.96 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.08% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.17% มาปิดที่ระดับ 557.36 จุด
สำหรับสัปดาห์นี้ (6-10 มี.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,600 และ 1,575 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,620 และ 1,630 จุด ตามลำดับ
โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ตัวเลขเงินเฟ้อเดือนก.พ. ของไทย ถ้อยแถลงของประธานเฟด ประเด็นการเมืองภายในประเทศ รวมถึงทิศทางเงินทุนต่างชาติ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขส่งออกเดือนม.ค. ข้อมูลการจ้างงานภาคเอกชนของ ADP ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรและอัตราการว่างงานเดือนก.พ. รวมถึงจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ การประชุม BOJ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/65 ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ตลอดจนข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.พ. ของจีน อาทิ ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคาผู้บริโภค