กระดานข่าว
PCC ฟอร์มแกร่ง รายได้ 9 เดือนปีนี้ แตะ 4.3 พันลบ. โต 28.49% ยอดขายหม้อแปลงไฟฟ้า-งานระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ หนุน
19 พฤศจิกายน 2567
บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น หรือ PCC ฟอร์มแกร่ง รายงานผลประกอบการงวด 9 เดือนปีนี้ กวาดรายได้ 4,307.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.49 เทียบช่วงปีก่อน ขณะที่กำไรสุทธิ 282.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67 เทียบช่วงปีก่อน หลังยอดขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่ายเพิ่ม งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและงานระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะหนุน ด้าน “กิตติ สัมฤทธิ์” ซีอีโอ มั่นใจรายได้ปีนี้เติบโต 10% จากปีก่อน คาดการณ์แนวโน้ม Q4/67 เติบโตดี เดินหน้าเข้าร่วมประมูลโครงการอย่างต่อเนื่อง
นายกิตติ สัมฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PCC) ผู้ให้บริการโซลูชั่นนวัตกรรมด้านดิจิทัลกริดอัจฉริยะ (Smart Grid Digitalization) เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2567 ของกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 4,307.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 955.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.49 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 3,352.84 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนโครงสร้างรายได้ แบ่งเป็น รายได้จากการขาย ร้อยละ 48.6 และรายได้จากการให้บริการและโครงการก่อสร้าง ร้อยละ 51.2 ของรายได้รวม
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯมีรายได้จากการขายสำหรับงวด 9 เดือนปี 2567 เท่ากับ 2,093.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 1,955.87 ล้านบาท เนื่องจากการขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าภาครัฐและเอกชนที่เป็นผู้รับเหมาหลักของงานสถานีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1.รายได้ขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย 2.รายได้ขายกลุ่มสินค้าสวิตช์ตัดตอนชนิดต่างๆ ได้แก่ โหลดเบรคสวิตซ์ 3.รายได้ขายระบบควบคุมและป้องกันสำหรับสถานีไฟฟ้า และ 4.รายได้ขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้แก่ มิเตอร์ และ อุปกรณ์รีเลย์ป้องกัน
ขณะที่มีรายได้จากการให้บริการและโครงการก่อสร้างมีรายได้เท่ากับ 2,206.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 832.92 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.6 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 1,373.81 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโต ดังนี้ 1.งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง จากงานโครงการสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500/230 kV แม่เมาะและลำพูน 2.งานระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ 3.งานบริการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ระบบควบคุมอุปกรณ์ในระบบจำหน่าย จากงานโครงการติดตั้งขยายของงาน FDI (Feeder Device Interface) 4 ภาค ซึ่งเป็นสัญญาต่อเนื่องของงานโครงการ SCADA ที่จบโครงการไปแล้ว และ 4. งานบริการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง จากการงานติดตั้งอุปกรณ์ โหลดเบรคสวิตช์
โดยงวด 9 เดือนปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 282.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.5 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67 เทียบจากช่วงปีก่อนที่ 259.61 ล้านบาท สาเหตุหลักที่กำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการควบคุมต้นทุน และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นายกิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯคงเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 10% จากปีก่อน โดยคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตที่ดีในไตรมาส 4/2567 โดยบริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทกริดและโซลูชั่นส์พลังงานอัจฉริยะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งสมาร์ทกริดเป็นระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ช่วยให้การจ่ายพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญในด้านพลังงานที่หลายประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมกันนี้ บริษัทยังเข้าร่วมประมูลโครงการอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทฯได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ทำจากไผ่ (Bamboo-based Innovative Products) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม้ไผ่สามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางธุรกิจในการสร้างนวัตกรรมที่ใช้วัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวทางหลักของบริษัทในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ในอนาคต และสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน
นายกิตติ สัมฤทธิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (PCC) ผู้ให้บริการโซลูชั่นนวัตกรรมด้านดิจิทัลกริดอัจฉริยะ (Smart Grid Digitalization) เปิดเผยว่า ผลประกอบการงวด 9 เดือนปี 2567 ของกลุ่มบริษัทฯ มีรายได้รวมเท่ากับ 4,307.95 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 955.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.49 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 3,352.84 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนโครงสร้างรายได้ แบ่งเป็น รายได้จากการขาย ร้อยละ 48.6 และรายได้จากการให้บริการและโครงการก่อสร้าง ร้อยละ 51.2 ของรายได้รวม
ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯมีรายได้จากการขายสำหรับงวด 9 เดือนปี 2567 เท่ากับ 2,093.70 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.1 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 1,955.87 ล้านบาท เนื่องจากการขายสินค้าให้กลุ่มลูกค้าภาครัฐและเอกชนที่เป็นผู้รับเหมาหลักของงานสถานีไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ปัจจัยหลักมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ ดังนี้ 1.รายได้ขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ได้แก่ หม้อแปลงไฟฟ้าระบบจำหน่าย 2.รายได้ขายกลุ่มสินค้าสวิตช์ตัดตอนชนิดต่างๆ ได้แก่ โหลดเบรคสวิตซ์ 3.รายได้ขายระบบควบคุมและป้องกันสำหรับสถานีไฟฟ้า และ 4.รายได้ขายอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้แก่ มิเตอร์ และ อุปกรณ์รีเลย์ป้องกัน
ขณะที่มีรายได้จากการให้บริการและโครงการก่อสร้างมีรายได้เท่ากับ 2,206.73 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 832.92 ล้านบาท หรือคิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.6 เทียบช่วงปีก่อนมีรายได้เท่ากับ 1,373.81 ล้านบาท ปัจจัยหลักที่สนับสนุนการเติบโต ดังนี้ 1.งานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูง จากงานโครงการสถานีไฟฟ้าแรงสูง 500/230 kV แม่เมาะและลำพูน 2.งานระบบควบคุมสำหรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ 3.งานบริการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ระบบควบคุมอุปกรณ์ในระบบจำหน่าย จากงานโครงการติดตั้งขยายของงาน FDI (Feeder Device Interface) 4 ภาค ซึ่งเป็นสัญญาต่อเนื่องของงานโครงการ SCADA ที่จบโครงการไปแล้ว และ 4. งานบริการจัดหาและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าแรงสูง จากการงานติดตั้งอุปกรณ์ โหลดเบรคสวิตช์
โดยงวด 9 เดือนปี 2567 กลุ่มบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 282.11 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22.5 ล้านบาท คิดเป็นเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.67 เทียบจากช่วงปีก่อนที่ 259.61 ล้านบาท สาเหตุหลักที่กำไรสุทธิของกลุ่มบริษัทฯ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเนื่องมาจากการควบคุมต้นทุน และ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
นายกิตติ กล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทฯคงเป้ารายได้ปีนี้เติบโต 10% จากปีก่อน โดยคาดการณ์แนวโน้มการเติบโตที่ดีในไตรมาส 4/2567 โดยบริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีสมาร์ทกริดและโซลูชั่นส์พลังงานอัจฉริยะที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งสมาร์ทกริดเป็นระบบการจัดการพลังงานไฟฟ้าที่ช่วยให้การจ่ายพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการใช้งานจากแหล่งพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นเทรนด์สำคัญในด้านพลังงานที่หลายประเทศกำลังให้ความสำคัญอย่างมาก เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนและลดการปล่อยคาร์บอน พร้อมกันนี้ บริษัทยังเข้าร่วมประมูลโครงการอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัทฯได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่ทำจากไผ่ (Bamboo-based Innovative Products) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นในการส่งเสริม การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยไม้ไผ่สามารถนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางธุรกิจในการสร้างนวัตกรรมที่ใช้วัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ เพื่อส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในแนวทางหลักของบริษัทในการพัฒนาโซลูชั่นที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ในอนาคต และสร้างการเติบโตให้กับบริษัทในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน