จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทยโตต่อเนื่อง SMD ตั้งบริษัทย่อยลุยนำเข้า-ขายอุปกรณ์การแพทย์


19 พฤศจิกายน 2567

บมจ.เซนต์เมด (SMD) ลุยตลาดอุปกรณ์ทางการแพทย์ ตั้งบริษัทย่อย “ เอสเอ็มดีเจเนซิส จำกัด” ตั้งเป้านำเข้า-ขายอุปกรณ์การแพทย์  สร้างรายได้เติบโตต่อเนื่อง

รายงานพิเศษ ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทยโตต.jpg

ธุรกิจเกี่ยวกับสุขภาพเป็นหนึ่งในหลายธุรกิจที่รัฐบาลให้ความสำคัญ  โดยในช่วงที่น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ได้ระบุถึงนโยบายระยะกลางและระยะยาว เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน วางรากฐานสู่การพัฒนาประเทศในอนาคตว่า ประกอบด้วย 1. การสร้างโอกาสต่อยอดจากอุตสาหกรรมเดิม 1.1 ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์เครื่องยนต์สันดาป ไปสู่ยานยนต์แห่งอนาคต (HEVs PHEVs BEVs และ FCEVs) 1.2 ส่งเสริม ยกระดับภูมิปัญญาไทยไปสู่วัฒนธรรมสร้างสรรค์ (Creative Culture) เพื่อส่งเสริม Soft Power ของประเทศ

  1. ส่งเสริมอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 2.1 ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy or Eco-friendly Economy) 2.2 ต่อยอดพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) 2.3 มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ (Care and Wellness Economy) และบริการทางการแพทย์ (Medical Hub) 2.4 มุ่งสู่เป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการเงินของโลก (Financial Hub)

  2. พัฒนาโครงสร้างเพื่อขยายโอกาส 3.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิจัยและนวัตกรรม 3.2 เดินหน้าลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนาดใหญ่ (Mega Projects) 3.3 เร่งพัฒนาระบบสาธารณูปโภคที่มีคุณภาพ 3.4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล 3.5 เปลี่ยนโครงสร้างทางภาษีครั้งใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการกระจายรายได้ 3.6 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ

ขณะที่สำนักวิจัยกรุงศรี วิเคราะห์ว่าปี 2566-2568 ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศจะเติบโตเฉลี่ย 5.5-7.0% ต่อปี ขณะที่มูลค่าส่งออกจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 6.5-7.5% ต่อปี จากปัจจัยหนุนหลายด้าน อาทิ อัตราการเจ็บป่วยที่มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเข้าสู่สังคมสูงวัย และการเกิดโรคอุบัติใหม่ การเติบโตของตลาดท่องเที่ยวเชิงการแพทย์

ซึ่งไทยมีจุดแข็งด้านค่ารักษาพยาบาลและคุณภาพการรักษาเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก และกระแสการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันที่กำลังแพร่หลายโดยเฉพาะหลังวิกฤต COVID-19 รวมถึงความต้องการเครื่องมือ/อุปกรณ์การแพทย์ที่เพิ่มขึ้นในตลาดส่งออกสำคัญของไทย และที่สำคัญ คือ นโยบายภาครัฐส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติและศูนย์กลางการผลิตเครื่องมือแพทย์ในอาเซียน ปัจจัยข้างต้น สะท้อนโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย

ปัจจัยท้าทายของธุรกิจที่อาจจำกัดการเติบโตของอุตสาหกรรม เช่น  ผู้ประกอบการของไทยส่วนใหญ่เป็น SMEs ซึ่งผลิตวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์นับเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง นอกจากนี้ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ต้องนำเข้าอุปกรณ์การผลิต ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีจากต่างประเทศ จึงอาจเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินและต้นทุนสินค้านำเข้ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงอาจมีข้อจำกัดด้านเงินทุน และท้ายสุด คือ ภาระต้นทุนที่อาจเพิ่มขึ้นจากการปรับตัวสู่การผลิตเครื่องมือแพทย์ที่เน้นใช้วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เพื่อลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อมและสอดคล้องกับทิศทางการขับเคลื่อนสู่ Zero waste society ของโลก

การสนับสนุนบริการทางการแพทย์ (Medical Hub) สนับสนุนการขยายธุรกิจของ บมจ.เซนต์เมด (SMD) ซึ่งแจ้งว่า  ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 มีมติอนุมัติจัดตั้งบริษัทย่อย “บริษัท เอสเอ็มดีเจเนซิส จำกัด” โดย SMD ถือหุ้น 100 %  ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท (สิบล้านบาท ) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับการ

SMD