จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : CHO ปรับกลยุทธ์เกาะกระแสรถพลังงานไฟฟ้า หันให้บริการประกอบรถบัส-รถบรรทุกขนาดใหญ่
28 พฤศจิกายน 2567
เชื้อเพลิงจากฟอสซิลเป็นสิ่งที่ทุกอุตสาหกรรมจะต้องพยายามลดลงให้อยู่ในกรอบ เพื่อ่ผลักดันประเทศให้เป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 สอดคล้องกับธุรกิจ CHO ที่หันมาเน้นให้บริการประกอบรถบัสไฟฟ้า รถโดยสารไฟฟ้าขนาดใหญ่
สถานการณ์การต่อต้านภาวะโลกร้อน กระตุ้นให้เกิดกระแสการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มการขนส่ง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดถาวะโลกร้อนในอัตราที่สูง ซึ่งผู้บริหาร บมจ. ช ทวี (CHO) “สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการแข่งขัน เป็นผู้ให้บริการ ประกอบรถบัสไฟฟ้า หรือ รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ Semi-Knocked Down Kit (SKD) รวมถึงการดัดแปลงรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งการดูแลบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นจุดแข็งในการแข่งขันของบริษัทฯ ในปัจจุบัน
เพื่อทำให้บริษัทสามารถปรับตัวและมีผลดำเนินการได้ด้วยกำไรที่มากขึ้น จากการลดค่าใช้จ่ายการทำการตลาด และการสั่งซื้อรถเป็นสินค้าคงคลัง อีกทั้งยังสามารถใช้ช่างที่มีความรู้ความชำนาญด้านการซ่อมตัวถังรถยนต์ การดัดแปลงตัวถังรถยนต์ และการซ่อมบำรุง ของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยเป็นตลาดที่มีคู่แข่งน้อยรายในประเทศไทย
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุนที่ผ่านมาในต้นปี 67 นี้ ได้รวมถึงการชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก บริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด เพื่อนำมาใช้สร้างโรงงานประกอบรถบัสไฟฟ้า มูลค่า 415.36 ล้านบาท ได้จ่ายไปแล้ว 166.01 ล้านบาท หรือคิดเป็น 37% ของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งเงื่อนไขรับโอนกรรมสิทธิ์ภายหลังชำระ 25% และเงื่อนไขในการเจรจากับ KCHO เพื่อขอหนังสือยินยอมในการโอนขายที่ดินระหว่างจำนองต่อไป บริษัทจะสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินนี้ได้ตามแผนกลยุทธ์ใหม่ได้
นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่ได้มานั้นตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น ติดถนนหลัก ซึ่งบริษัทฯ ประเมินว่าราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ทั้งจากการใช้ประโยชน์ต่อในการเป็นโรงงานจัดเตรียมชิ้นส่วนรถบัสไฟฟ้าต่อไป กรณีที่ธุรกิจเป็นไปได้ด้วยดี หรืออาจพิจารณาทางเลือกอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากกว่า
เนื่องด้วยที่ดินดังกล่าวมีพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่พัฒนาเป็นศูนย์จอดและซ่อมบำรุง (Depot) ของโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น (Light Rail Transit หรือ LRT) บริษัทฯ อาจพิจารณาจำหน่ายหรือให้เช่าที่ดินดังกล่าวแก่โครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น หากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งจะนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาและดำเนินการตามเกณฑ์การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป
สถานการณ์การต่อต้านภาวะโลกร้อน กระตุ้นให้เกิดกระแสการใช้พลังงานสะอาด โดยเฉพาะในกลุ่มการขนส่ง เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ปล่อยก๊าซที่ทำให้เกิดถาวะโลกร้อนในอัตราที่สูง ซึ่งผู้บริหาร บมจ. ช ทวี (CHO) “สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย” กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุบริษัทได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการแข่งขัน เป็นผู้ให้บริการ ประกอบรถบัสไฟฟ้า หรือ รถบรรทุกไฟฟ้าขนาดใหญ่ Semi-Knocked Down Kit (SKD) รวมถึงการดัดแปลงรถยนต์น้ำมันเป็นรถยนต์ไฟฟ้า พร้อมทั้งการดูแลบริการหลังการขาย ซึ่งเป็นจุดแข็งในการแข่งขันของบริษัทฯ ในปัจจุบัน
เพื่อทำให้บริษัทสามารถปรับตัวและมีผลดำเนินการได้ด้วยกำไรที่มากขึ้น จากการลดค่าใช้จ่ายการทำการตลาด และการสั่งซื้อรถเป็นสินค้าคงคลัง อีกทั้งยังสามารถใช้ช่างที่มีความรู้ความชำนาญด้านการซ่อมตัวถังรถยนต์ การดัดแปลงตัวถังรถยนต์ และการซ่อมบำรุง ของบริษัทฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยเป็นตลาดที่มีคู่แข่งน้อยรายในประเทศไทย
วัตถุประสงค์การใช้เงินเพิ่มทุนที่ผ่านมาในต้นปี 67 นี้ ได้รวมถึงการชำระค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจาก บริษัท ขอนแก่น ช.ทวี (1993) จำกัด เพื่อนำมาใช้สร้างโรงงานประกอบรถบัสไฟฟ้า มูลค่า 415.36 ล้านบาท ได้จ่ายไปแล้ว 166.01 ล้านบาท หรือคิดเป็น 37% ของมูลค่าทั้งหมด ซึ่งเงื่อนไขรับโอนกรรมสิทธิ์ภายหลังชำระ 25% และเงื่อนไขในการเจรจากับ KCHO เพื่อขอหนังสือยินยอมในการโอนขายที่ดินระหว่างจำนองต่อไป บริษัทจะสามารถใช้ประโยชน์จากที่ดินนี้ได้ตามแผนกลยุทธ์ใหม่ได้
นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่ได้มานั้นตั้งอยู่ใจกลางเมืองขอนแก่น ติดถนนหลัก ซึ่งบริษัทฯ ประเมินว่าราคาที่ดินมีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคต ทั้งจากการใช้ประโยชน์ต่อในการเป็นโรงงานจัดเตรียมชิ้นส่วนรถบัสไฟฟ้าต่อไป กรณีที่ธุรกิจเป็นไปได้ด้วยดี หรืออาจพิจารณาทางเลือกอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทมากกว่า
เนื่องด้วยที่ดินดังกล่าวมีพื้นที่เชื่อมต่อกับพื้นที่พัฒนาเป็นศูนย์จอดและซ่อมบำรุง (Depot) ของโครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น (Light Rail Transit หรือ LRT) บริษัทฯ อาจพิจารณาจำหน่ายหรือให้เช่าที่ดินดังกล่าวแก่โครงการรถไฟฟ้ารางเบาขอนแก่น หากได้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ซึ่งจะนำเรื่องเข้าเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาและดำเนินการตามเกณฑ์การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์หรือหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป