เศรษฐกิจของประเทศต่างๆในอาเซียนปีนี้ ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง และยังเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นความต้องการใช้ไฟฟ้า สนับสนุนทิศทางการดำเนินงานของบริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น หรือ PCC ในฐานะผู้นำสมาร์ทกริด
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอาเซียนขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการระบาดของโควิดค 19 ซึ่งประเทศกัมพูชา ก็เป็น1 ใน 10 ประเทศในอาเซียน ที่ความต้องการใช้ไฟ ขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งองค์การไฟฟ้ากัมพูชาระบุว่า ความต้องการไฟฟ้าภายในประเทศพุ่งขึ้นเป็น 4,014 เมกะวัตต์ เมื่อปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จาก 3,972 เมกะวัตต์ เมื่อปี 2563 โดยไฟฟ้าราว 3,033 เมกะวัตต์ มาจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าน้ำมันดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ส่วนกระแสไฟฟ้าอีก 981 เมกะวัตต์ มาจากการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ลาว และเวียดนาม
สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของ บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น หรือ PCC ที่ประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company)ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ดังนี้ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ล่าสุดบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จำกัด หรือ PEMC ซึ่งตั้งอยู่ ณ จังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา ทำพิธีเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารคาดว่า จะสนับสนุนรายได้ให้บริษัทฯ เพิ่มขึ้น ปีละ 100 ล้านบาท
โดยบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จํากัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ที่บริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า,หม้อแปลงเครื่องมือวัด และประกอบตู้สวิตช์บอร์ด ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในต่างประเทศแห่งแรกของกลุ่มบริษัทฯ และนับเป็นก้าวสำคัญของการขยายฐานลูกค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียน
ส่วนแผนธุรกิจของบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PCC “กิตติ สัมฤทธิ์” ระบุแผนธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2566-2568) ตั้งเป้ารายได้แตะ 6,000 ล้านบาท ซึ่งมาจากการเติบโตของระบบสมาร์ทกริด ทำให้มีการลงทุนเพิ่มโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งบริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตของหม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนการเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง
โดยในปีนี้บริษัทฯ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากจากโครงการเปลี่ยนมิเตอร์จากจานหมุน ให้เป็น สมาร์ทมิเตอร์ ซึ่งเป็นโครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยกฟภ.มีแผนจะเปลี่ยนมิเตอร์จำนวน 18 ล้านเครื่องภายใน 7 ปี หรือระหว่างปี 2565-2571 ซึ่งคาดว่าปีนี้เปิดประมูลราว 2 ล้านเครื่อง ซึ่งบริษัทฯมีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลดังกล่าว เพื่อสร้างการเติบโตของบริษัทฯอย่างแข็งแกร่ง
และสำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,859.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.57% จากปีก่อนที่มีรายได้เท่ากับ 3,638.63 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 283.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.2% จากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 202.68 ล้านบาท
"รายได้รวมในปี 2565 เพิ่มขึ้น 1221.36 ล้านบาท หรือ 33.57% จากปี 2564 สาเหตุหลักมาจากการขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า กลุ่มสินค้าปรับแรงดัน และป้องกันกระแสและแรงดันเกินพิกัด สวิตซ์ตัดตอน และอุปกรณ์ฉนวนในระบบจำหน่ายและกลุ่มโคมไฟแอลอีดีให้กับลูกค้าเอกชนเพิ่มขึ้น และจากงานโครงการจัดหา พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software ระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟและสัญญาจ้าง หาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Feeder Device Interface (FDI) และอุปกรณ์วิทยุสื่อสาร" นายกิตติ กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติจ่ายเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท กำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) 8 พ.ค. 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 26 พ.ค. 2566 ทั้งนี้จะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไปในวันที่ 27 เม.ย. 2566
ความต้องการใช้ไฟฟ้าในอาเซียนขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะหลังการระบาดของโควิดค 19 ซึ่งประเทศกัมพูชา ก็เป็น1 ใน 10 ประเทศในอาเซียน ที่ความต้องการใช้ไฟ ขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งองค์การไฟฟ้ากัมพูชาระบุว่า ความต้องการไฟฟ้าภายในประเทศพุ่งขึ้นเป็น 4,014 เมกะวัตต์ เมื่อปี 2564 ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จาก 3,972 เมกะวัตต์ เมื่อปี 2563 โดยไฟฟ้าราว 3,033 เมกะวัตต์ มาจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าน้ำมันดีเซล โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล ส่วนกระแสไฟฟ้าอีก 981 เมกะวัตต์ มาจากการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างไทย ลาว และเวียดนาม
สอดคล้องกับทิศทางการดำเนินงานของ บริษัท พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น หรือ PCC ที่ประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company)ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ดังนี้ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
ล่าสุดบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จำกัด หรือ PEMC ซึ่งตั้งอยู่ ณ จังหวัดโพธิสัตว์ ประเทศกัมพูชา ทำพิธีเปิดโรงงานอย่างเป็นทางการ โดยผู้บริหารคาดว่า จะสนับสนุนรายได้ให้บริษัทฯ เพิ่มขึ้น ปีละ 100 ล้านบาท
โดยบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง (กัมพูชา) จํากัด เป็นบริษัทย่อยของบริษัท พรีไซซ อีเลคตริค แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ที่บริษัทฯ ถือหุ้น ร้อยละ 99.99 ดำเนินธุรกิจผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า,หม้อแปลงเครื่องมือวัด และประกอบตู้สวิตช์บอร์ด ซึ่งถือเป็นโรงงานผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้าในต่างประเทศแห่งแรกของกลุ่มบริษัทฯ และนับเป็นก้าวสำคัญของการขยายฐานลูกค้าไปสู่ภูมิภาคอาเซียน
ส่วนแผนธุรกิจของบริษัท ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PCC “กิตติ สัมฤทธิ์” ระบุแผนธุรกิจในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2566-2568) ตั้งเป้ารายได้แตะ 6,000 ล้านบาท ซึ่งมาจากการเติบโตของระบบสมาร์ทกริด ทำให้มีการลงทุนเพิ่มโดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อีกทั้งบริษัทมีแผนเพิ่มกำลังการผลิตของหม้อแปลงไฟฟ้า ตลอดจนการเปลี่ยนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตให้เป็นเครื่องจักรอัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพสูง
โดยในปีนี้บริษัทฯ ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากจากโครงการเปลี่ยนมิเตอร์จากจานหมุน ให้เป็น สมาร์ทมิเตอร์ ซึ่งเป็นโครงการของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) โดยกฟภ.มีแผนจะเปลี่ยนมิเตอร์จำนวน 18 ล้านเครื่องภายใน 7 ปี หรือระหว่างปี 2565-2571 ซึ่งคาดว่าปีนี้เปิดประมูลราว 2 ล้านเครื่อง ซึ่งบริษัทฯมีความพร้อมในการเข้าร่วมประมูลดังกล่าว เพื่อสร้างการเติบโตของบริษัทฯอย่างแข็งแกร่ง
และสำหรับผลการดำเนินงานปี 2565 บริษัทฯ มีรายได้รวมอยู่ที่ 4,859.99 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 33.57% จากปีก่อนที่มีรายได้เท่ากับ 3,638.63 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 283.79 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.2% จากปีก่อนที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่ 202.68 ล้านบาท
"รายได้รวมในปี 2565 เพิ่มขึ้น 1221.36 ล้านบาท หรือ 33.57% จากปี 2564 สาเหตุหลักมาจากการขายกลุ่มสินค้าหม้อแปลงไฟฟ้า กลุ่มสินค้าปรับแรงดัน และป้องกันกระแสและแรงดันเกินพิกัด สวิตซ์ตัดตอน และอุปกรณ์ฉนวนในระบบจำหน่ายและกลุ่มโคมไฟแอลอีดีให้กับลูกค้าเอกชนเพิ่มขึ้น และจากงานโครงการจัดหา พร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Hardware และ Software ระบบศูนย์สั่งการจ่ายไฟและสัญญาจ้าง หาพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ Feeder Device Interface (FDI) และอุปกรณ์วิทยุสื่อสาร" นายกิตติ กล่าว
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติจ่ายเงินปันผล ในอัตราหุ้นละ 0.14 บาท กำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) 8 พ.ค. 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 26 พ.ค. 2566 ทั้งนี้จะนำเสนอที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไปในวันที่ 27 เม.ย. 2566