จับประเด็นหุ้นเด่น
TACC รับอานิสงส์ Q4 High Season ท่องเที่ยว โบรกฯ ปรับกำไรทั้งปีเพิ่มแตะ 256 ลบ.
03 ธันวาคม 2567
บมจ.ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ (TACC) เข้าสู่ช่วงการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากไตรมาส4เป็นช่วง High Season การท่องเที่ยว บล.พายปรับเพิ่มกำไรปีนี้แตะ 256 ล้านบาท และยังได้รับผลดีจากการที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองภาพรวมตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์เติบโตต่อเนื่องทั้งในประเทศและการส่งออก
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์แนวโน้มตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศ ปี 2568 คาดว่า ยอดขายของธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 2.29 แสนล้านบาท ขยายตัว 3.3% แต่เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (CAGR ปี 2565-2567) ที่โตเฉลี่ย 4.7% ต่อปี จากการบริโภคของผู้บริโภคที่ยังได้รับแรงกดดันจากกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่และค่าครองชีพยังสูง โดยแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในปี 2568 มีกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่
ยอดขายน้ำอัดลมและน้ำดื่มบรรจุขวด คาดว่าจะขยายตัว 2.6% และ 4.8% ในปี 2568 ชะลอตัวลงจากปี 2567 โดยตลาดน้ำอัดลมและน้ำดื่มบรรจุขวด มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 55% ของยอดขายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมด ซึ่งปัจจัยที่หนุนให้ตลาดโต ส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น สะท้อนจากปี 2566 ที่อุณหภูมิสูงสุดพุ่งไปถึง 44.6 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับผู้ประกอบการในธุรกิจที่ระบุว่า สภาพอากาศร้อนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าในกลุ่มนี้
นอกจากนี้ การท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัว น่าจะหนุนการบริโภคเครื่องดื่มกลุ่มนี้มากขึ้น จะเห็นว่า สัดส่วนมูลค่าการใช้จ่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 8% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ 6% ของมูลค่าการใช้จ่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมด
ส่วนยอดขายเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลในปี 2568 คาดว่าขยายตัว 7% ซึ่งสูงกว่าภาพรวมการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลจะยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อย แต่ก็มีทิศทางการเติบโตที่เพิ่มขึ้น จาก 5% ในปี 2563 เพิ่มเป็น 7% ในปี 2568 โดยมีปัจจัยหนุนจากการใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคและความต้องการเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เจาะจงขึ้น เช่น ลดปัญหาการนอนไม่หลับ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จะเห็นว่าผู้ประกอบการหลายราย ทั้งที่อยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และนอกธุรกิจ อาทิ โรงพยาบาล อาหาร เคมีภัณฑ์ เป็นต้น หันมาทำตลาดหรือแตกไลน์สินค้าใหม่ๆ ในเครื่องดื่มประเภทนี้มากขึ้น เพราะเห็นโอกาสของตลาดที่เติบโตสูงกว่าเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้ปี 2568 คาดว่า ไทยส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 2.1% จากการฟื้นตัวของตลาดหลัก CLMV ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดศักยภาพใหม่ๆ เช่น มาเลเซีย สหรัฐฯ คาดว่าจะโตต่อเนื่อง จากการเข้าไปลงทุนหรือทำการตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้า เช่น ในมาเลเซีย ผู้ประกอบการไทยร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ขยายช่องทางการจำหน่าย ขณะที่สหรัฐฯ ความต้องการเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์คาดว่าจะโตเฉลี่ย 4.9% ต่อปี (CAGR ปี 2565-2573) ส่งผลให้ยังมีโอกาสส่งออกได้เพิ่ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ อาทิ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากผลไม้
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยบางส่วนได้ขยายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้คาดว่า ระยะต่อไปมูลค่าการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จากฐานการผลิตไทยอาจทยอยลดลง แต่ไปเพิ่มยอดขายจากฐานการผลิตในต่างประเทศ สะท้อนจาก สัดส่วนการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยไปกลุ่มประเทศ CLMV ที่ทยอยลดลงจาก 76% ในปี 2561 ปรับลงมาอยู่ที่ 67% ในปี 2567
แนวโน้มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าว สอดคล้องกับการเติบโตของ บมจ.ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ (TACC) ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ และสินค้าไลฟสไตล์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ บล.พาย ระบุว่า แนวโน้ม 4Q24 คาดว่าผลประกอบการจะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกครั้งจากการเข้าสู่ช่วง High Season ของการท่องเที่ยว รวมกับการขยายสาขาที่ยังมีอย่างต่อเนื่องทั้งของ 7-11 และร้านกาแฟพันธุ์ไทย นอกจากนี้ยังได้รับผลดีจากลิขสิทธิ์ตัวละครใหม่จากทางวิธิตา แอนิเมชั่น เพิ่มทำให้มีโอกาสขยายตลาดได้อีกทาง
และจากกำไรสุทธิในช่วง 9M24 ที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 81% ของกำไรทั้งปีที่ 237 ล้านบาท ที่เราคาดไว้ ขณะที่แนวโน้มช่วง 4Q24 ยังคงดูดีจากเหตุผลข้างต้น ทำให้เราปรับกำไรทั้งปีขึ้นจากเดิม8% มาอยู่ที่ระดับ 256 ล้านบาท ทั้งนี้ความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ ต้นทุนกาแฟว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
สำหรับคำแนะนำลงทุน ด้วยการที่ผลประกอบการของ TACC ได้รับผลดีจากการเปิดสาขาใหม่ของ CPALL และพันธุ์ไทย รวมกับภาคการท่องเที่ยวที่เติบโต จะเป็นปัจจัยบวกให้กับ TACC อีกทางด้วย จึงยังคงแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 7.58 บาท (18XPER’24E)
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย วิเคราะห์แนวโน้มตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศ ปี 2568 คาดว่า ยอดขายของธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์อยู่ที่ 2.29 แสนล้านบาท ขยายตัว 3.3% แต่เป็นอัตราการเติบโตที่ชะลอลงเมื่อเทียบกับช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (CAGR ปี 2565-2567) ที่โตเฉลี่ย 4.7% ต่อปี จากการบริโภคของผู้บริโภคที่ยังได้รับแรงกดดันจากกำลังซื้อที่ยังฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่และค่าครองชีพยังสูง โดยแนวโน้มตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในปี 2568 มีกลุ่มสินค้าที่น่าสนใจ ได้แก่
ยอดขายน้ำอัดลมและน้ำดื่มบรรจุขวด คาดว่าจะขยายตัว 2.6% และ 4.8% ในปี 2568 ชะลอตัวลงจากปี 2567 โดยตลาดน้ำอัดลมและน้ำดื่มบรรจุขวด มีส่วนแบ่งตลาดรวมกันกว่า 55% ของยอดขายธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมด ซึ่งปัจจัยที่หนุนให้ตลาดโต ส่วนหนึ่งมาจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น สะท้อนจากปี 2566 ที่อุณหภูมิสูงสุดพุ่งไปถึง 44.6 องศาเซลเซียส สอดคล้องกับผู้ประกอบการในธุรกิจที่ระบุว่า สภาพอากาศร้อนเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มยอดขายสินค้าในกลุ่มนี้
นอกจากนี้ การท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัว น่าจะหนุนการบริโภคเครื่องดื่มกลุ่มนี้มากขึ้น จะเห็นว่า สัดส่วนมูลค่าการใช้จ่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2568 คาดว่าจะอยู่ที่ 8% เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ที่ 6% ของมูลค่าการใช้จ่ายเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ทั้งหมด
ส่วนยอดขายเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลในปี 2568 คาดว่าขยายตัว 7% ซึ่งสูงกว่าภาพรวมการเติบโตของตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ แม้ว่ายอดขายเครื่องดื่มฟังก์ชันนัลจะยังมีส่วนแบ่งตลาดที่น้อย แต่ก็มีทิศทางการเติบโตที่เพิ่มขึ้น จาก 5% ในปี 2563 เพิ่มเป็น 7% ในปี 2568 โดยมีปัจจัยหนุนจากการใส่ใจสุขภาพของผู้บริโภคและความต้องการเครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เจาะจงขึ้น เช่น ลดปัญหาการนอนไม่หลับ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จะเห็นว่าผู้ประกอบการหลายราย ทั้งที่อยู่ในธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และนอกธุรกิจ อาทิ โรงพยาบาล อาหาร เคมีภัณฑ์ เป็นต้น หันมาทำตลาดหรือแตกไลน์สินค้าใหม่ๆ ในเครื่องดื่มประเภทนี้มากขึ้น เพราะเห็นโอกาสของตลาดที่เติบโตสูงกว่าเครื่องดื่มประเภทอื่นๆ
ทั้งนี้ปี 2568 คาดว่า ไทยส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ 1,705 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 2.1% จากการฟื้นตัวของตลาดหลัก CLMV ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดศักยภาพใหม่ๆ เช่น มาเลเซีย สหรัฐฯ คาดว่าจะโตต่อเนื่อง จากการเข้าไปลงทุนหรือทำการตลาดเพิ่มเพื่อขยายฐานลูกค้า เช่น ในมาเลเซีย ผู้ประกอบการไทยร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ขยายช่องทางการจำหน่าย ขณะที่สหรัฐฯ ความต้องการเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์คาดว่าจะโตเฉลี่ย 4.9% ต่อปี (CAGR ปี 2565-2573) ส่งผลให้ยังมีโอกาสส่งออกได้เพิ่ม โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไทยมีความได้เปรียบด้านวัตถุดิบ อาทิ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมจากผลไม้
อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการไทยบางส่วนได้ขยายฐานการผลิตไปยังกลุ่มประเทศ CLMV มากขึ้น ทำให้คาดว่า ระยะต่อไปมูลค่าการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์จากฐานการผลิตไทยอาจทยอยลดลง แต่ไปเพิ่มยอดขายจากฐานการผลิตในต่างประเทศ สะท้อนจาก สัดส่วนการส่งออกเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ของไทยไปกลุ่มประเทศ CLMV ที่ทยอยลดลงจาก 76% ในปี 2561 ปรับลงมาอยู่ที่ 67% ในปี 2567
แนวโน้มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ดังกล่าว สอดคล้องกับการเติบโตของ บมจ.ที.เอ.ซี. คอนซูเมอร์ (TACC) ประกอบธุรกิจจัดหา ผลิต และจำหน่ายเครื่องดื่มประเภทชาและกาแฟ และสินค้าไลฟสไตล์ ซึ่งจากการวิเคราะห์ของ บล.พาย ระบุว่า แนวโน้ม 4Q24 คาดว่าผลประกอบการจะกลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกครั้งจากการเข้าสู่ช่วง High Season ของการท่องเที่ยว รวมกับการขยายสาขาที่ยังมีอย่างต่อเนื่องทั้งของ 7-11 และร้านกาแฟพันธุ์ไทย นอกจากนี้ยังได้รับผลดีจากลิขสิทธิ์ตัวละครใหม่จากทางวิธิตา แอนิเมชั่น เพิ่มทำให้มีโอกาสขยายตลาดได้อีกทาง
และจากกำไรสุทธิในช่วง 9M24 ที่คิดเป็นสัดส่วนกว่า 81% ของกำไรทั้งปีที่ 237 ล้านบาท ที่เราคาดไว้ ขณะที่แนวโน้มช่วง 4Q24 ยังคงดูดีจากเหตุผลข้างต้น ทำให้เราปรับกำไรทั้งปีขึ้นจากเดิม8% มาอยู่ที่ระดับ 256 ล้านบาท ทั้งนี้ความเสี่ยงที่ต้องติดตามคือ ต้นทุนกาแฟว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
สำหรับคำแนะนำลงทุน ด้วยการที่ผลประกอบการของ TACC ได้รับผลดีจากการเปิดสาขาใหม่ของ CPALL และพันธุ์ไทย รวมกับภาคการท่องเที่ยวที่เติบโต จะเป็นปัจจัยบวกให้กับ TACC อีกทางด้วย จึงยังคงแนะนำ “ซื้อ” ด้วยมูลค่าพื้นฐาน 7.58 บาท (18XPER’24E)