จากรายงานข่าวประเด็นรัฐบาลเล็งปรับโครงสร้างภาษีครั้งใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น การลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก การทยอยขึ้น VAT เป็นต้น ซึ่งหากมาตรการเหล่านี้เกิดขึ้นจริง จะส่งบวกดี และผลลบด้านไหนบ้าง Share2Trade หาคำตอบมาให้แล้ว
ความเห็นนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด ระบุว่า แนวคิดเรื่องปรับโครงสร้างภาษี หลังวานนี้ รมว. คลัง เผยแนวทางในการปรับปรุงการจัดเก็บภาษี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ได้แก่
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิม 20%) เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนต่างชาติ ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อภาคธุรกิจมีกำไรเพิ่มขึ้น และการจ้างงานอาจเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม รัฐบาลอาจ จัดเก็บภาษีได้น้อยลง ทำให้รายได้ลดลง
2. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อาจพิจารณาปรับลดการจัดเก็บภาษีเหลือ 15% (เดิมเป็นอัตราก้าวหน้าของภาษีเงินได้ สูงสุด 35%) หวังดึงดูดแรงงานมี ฝีมือกลับไทย ฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อกลุ่มผู้มีรายได้สูง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อเพิ่มขึ้น ขณะที่รัฐบาลจะจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้น จากกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แต่ ในทางกลับกัน รัฐบาลก็ต้องแลกมาด้วยการจัดเก็บภาษีของผู้มีรายได้สูง ลดลง อีกทั้งโอกาสกระทบต่อกำลังซื้อของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ด้านแหล่งข่าวระดับสูงเปิดเผยกับ THE STANDARD WEALTH ว่า เบื้องต้นรัฐบาลวางแผนปรับขึ้นภาษีเป็น 8% (เดิม 7%) ขณะที่ทั่วโลกมีการเก็บระหว่าง 15-25% เพื่อนำรายได้ภาษีช่วยผู้ มีรายได้น้อย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ผ่านการสร้าง โครงสร้างพื้นฐาน โดยฝ่ายวิจัยฯ มองเป็นบวกต่อการเพิ่มรายได้ของภาครัฐ ซึ่งจะลดขนาดการขาดดุล และลดความเสี่ยงต่อการถูกปรับลด CREDIT RATING แต่ในอีกแง่มุมหนึ่งอาจกระทบโดยตรงต่อเงินเฟ้อเสี่ยงสูงขึ้น ซึ่งจะลดกำลังซื้อของผู้มีรายได้น้อย การบริโภคน้อยลง
เมื่อพิจารณาแหล่งรายได้ของรัฐบาลในงบประมาณปี 2567 (ต.ค.66 - ก.ย.67) ส่วนใหญ่มาจากภาษีมูล่าเพิ่ม (VAT) คิดเป็นสัดส่วน 28% และหากมีการปรับโครงสร้าง ภาษีให้มาอยู่ที่ฐาน 15% เบื้องต้น ฝ่ายวิจัยฯ ประเมินว่าจะทำให้รัฐบาลสามารถ จัดเก็บรายได้มากกว่าที่สูญเสียไป
เบื้องต้นฝ่ายวิจัยฯ ประเมินประเด็นการปรับลดภาษีนิติบุคคลจาก 20% เหลือ 15% ช่วยหนุนตลาด และแนวโน้มกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นได้ดังนี้
หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเพิ่มขึ้นราว 6.25% หรือเพิ่ม EPS 6 บาทต่อหุ้น เพิ่ม UPSIDE ให้ SET INDEX เพิ่มขึ้นราว 100 จุด (อิง EPS 97 บาท/หุ้น และ PE 16.5 เท่า) จูงใจให้ FUND FLOW ไหลเข้ามาลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมเพิ่มขึ้น
สรุปประเด็นการปรับโครงสร้างภาษีนิติบุคคล มีโอกาสหนุน EPS ตลาดเพิ่มขึ้นได้ 6% พร้อมกับจูงใจเห็นการลงทุนทั้งทางตรง และทางอ้อมขึ้นได้