ธุรกิจสื่อดั้งเดิม “ทีวีดิจิทัล” ยังคงต้องฮึด! ในการสร้างรายได้จากการขายโฆษณา ท่ามกลางพฤติกรรมผู้บริโภคเสพสื่อที่เปลี่ยนไป ดูจอแก้วน้อยลง ส่วน “ลูกค้า” ที่เป็นนักการตลาด แบรนด์ เจ้าของสินค้าต่างๆ หันไปเปย์งบผ่านสื่อใหม่ที่วัดผลได้ และทรงพลังมากขึ้น
“เวิร์คพอยท์” เป็นอีกค่ายทีวีดิจิทัล ที่มุ่งมั่นปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโต ทว่า ผลประกอบการยังมีความท้าทาย เพราะไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 509.7 ล้านบาท “ลดลง 17%” จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ “ขาดทุน” 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 218 ล้านบาท ทำให้ 9 เดือน มีรายได้รวม 1,612.4 ล้านบาท “ลดลง 13%” มี “กำไรสุทธิ” 41.2 ล้านบาท “ลดลง 55%”
สุรการ ศิริโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินการลงทุน และ ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ให้มุมมองว่า ช่วงไตรมาส 4 สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาทางทีวีมีการปรับตัว “ลดลงมาก” เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดการณ์ภาพดังกล่าว จะส่งผลต่อเนื่องถึงปี 2568
เม็ดเงินโฆษณาทางทีวีที่ลดลงยังเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ด้วย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายเงินของลูกค้าที่ซื้อโฆษณาเกิดจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว
“ไตรมาส 4 เป็นช่วงโลว์ซีซั่นของการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณา เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 และตัวเลขของการใช้จ่ายเงินลูกค้าไตรมาส 4 น้อยลงมาก”
จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้เวิร์คพอยท์ คาดการณ์รายได้จากการขายโฆษณาปี 2568 จะอยู่ที่ 1,100-1,150 ล้านบาท ลดลง 5-10% จากปีนี้คาดจะปิดตัวเลขที่ 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทต้องเดินหน้าปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโตธุรกิจ และหารายได้เพื่อ “ชดชยรายได้โฆษณา” ที่จะลดลง โดยกลยุทธ์สำคัญมีดังนี้ 1.“ยุติ” การผลิตละคร ทำให้ต้องปิดแผนกธุรกิจละคร และ “เลิกจ้างพนักงาน” ในส่วนนี้ไป แผนนี้จะทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายราว 100-150 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันโค้งสุดท้ายปี 2567 จะเดินหน้านำละครในสต๊อกมาออกอากาศให้หมดจำนวน 2 เรื่องครึ่ง ส่งผลให้ “ต้นทุนเพิ่ม” ในไตรมาส 4 ราว 30-40 ล้านบาท
จากผลิตละครป้อนช่องเวิร์คพอยท์ บริษัทยังคงเดินหน้ารับจ้างผลิตละครหรือเป็นคอนเทนต์โปรวายเดอร์ให้กับลูกค้าต่างๆ
“แผนงานในอนาคต ปีหน้าจะไม่มีคอนเทนต์ละครในช่องเวิร์คพอยท์ เราเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นผลิตรายการวาไรตี้ รายการเทเลอร์เมด พ่วงกิจกรรมออนกราวด์ การจัดอีเวนต์ต่าง ซึ่งทำให้รักษาฐานลูกค้าเดิมเพิ่มลูกค้าใหม่ เพราะลูกค้าแบรนด์ต่างๆต้องการใกล้ชิด พบเจอผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย”
2.รุกปั้นศิลปินที-ป๊อป(T-Pop) เสริมแกร่งธุรกิจบริหารจัดการศิลปินภายใต้ค่าย XOXO ENTERTAINMEN ขณะนี้ยังมีเด็กฝึกในสังกัด 24 ชีวิต คาดว่าจะปลุกปั้นเป็นศิลปินเดี่ยว ศิลปินกลุ่มทั้งบอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปได้ประมาณ 2-3 กลุ่ม นอจากนี้ ศิลปินในสังกัด ไม่ว่าจะเป็น 4EVE(โฟร์อีฟ) และ ATLAS(แอทลาส) ฯ ผนึกกับพันธมิตร เพื่อหาทางลุยตลาดต่างประเทศ และยัง “ร่วมทุน” กับ “เบิ้ล ปทุมราช” ตั้งบริษัท ดับเบิ้ลพอยท์ 98 จำกัด เพื่อปั้นศิลปินแนวเพลงอิสระหรืออินดี้ เพื่อรุกตลาด
ขณะที่การดึงคอนเสิร์ตจากต่างประเทศมาจัด ภายใต้บริษัท กรุงเทพ เอ็กซิบิชั่น จำกัด จะปรับกลยุทธ์ “ลดจำนวนงาน” เพราะตลาดดังกล่าวกลายเป็น “สงครามเดือด” หรือ Red Ocean ไปแล้ว มีศิลปินตบเท้ามาเปิดคอนเสิร์ต จัดอีเวนต์ แฟนมีทในไทยแน่นขนัด โดยบริษัทจะให้ความสำคัญกับการจัดคอนเสิร์ต T-Pop ศิลปินในสังกัดแทน ยังมีการจัดแสดงละครเวทีอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม โจทย์การจัดอีเวนต์เองและรับจ้าง คือการ “ทำกำไรให้ได้ 20-25%” จากเดิมจัดงานเองกำไรอยู่ราว 10% ถึง 20% ปลายๆ โดยภาพรวมการจัดอีเวนต์ ปี 2568 จะมีราว 50 งาน
3.เดินหน้าผลิตภาพยนตร์ปีละ 2-3 เรื่อง ผ่าน “จังก้า” เบื้องต้นวางงบลงทุน 100-120 ล้านบาท 4.การผลิตรายการตามลูกค้าต้องการ(Tailar made) ซึ่งปัจจุบันมี 2 รายการ ได้แก่ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ ของ “บางจาก” และ The MIX Master ของ “เนสกาแฟ” 4.ผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์(OTT) ผลิตรายการป้อนคนดูเพิ่ม จาก 2 รายการ โอ้ละหนอ I Love เมืองไทย และ The MARK Soulmate ออกอากาศบน “เน็ตฟลิกซ์”
5.ผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ ทั้งจาก “โคตรคูล” และจากบริษัทร่วมทุนกับ “เบิ้ล ปทุมราช” และ 6.จับมือพาร์ทเนอร์ใช้เวลาออกอากาศทางทีวี(Airtime) พัฒนาสินค้ามาจำหน่ายอีก 2 หมวด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหาร จากปัจจุบันมี 2 สินค้า คือน้ำหวาน HELLO BOY และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาเซีย
“เหล่านี้เป็นกลยุทธ์การเคลื่อนธุรกิจช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ทว่า จากแผนข้างต้นจะส่งผลให้รายได้ปี 2568 อยู่ที่ 2,500 ล้านบาท และทำกำไรสัดส่วน 2-3% เพราะยังมีการใส่เงินลงทุนฝึกศิลปิน 24 คนในปีหน้า เป็นต้น”
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1157265
“เวิร์คพอยท์” เป็นอีกค่ายทีวีดิจิทัล ที่มุ่งมั่นปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโต ทว่า ผลประกอบการยังมีความท้าทาย เพราะไตรมาส 3 ที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้รวม 509.7 ล้านบาท “ลดลง 17%” จากช่วงเดียวกันปีก่อน และ “ขาดทุน” 17.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 218 ล้านบาท ทำให้ 9 เดือน มีรายได้รวม 1,612.4 ล้านบาท “ลดลง 13%” มี “กำไรสุทธิ” 41.2 ล้านบาท “ลดลง 55%”
สุรการ ศิริโมทย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายการเงินการลงทุน และ ชลากรณ์ ปัญญาโฉม ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายงานดิจิทัล บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด(มหาชน) ให้มุมมองว่า ช่วงไตรมาส 4 สถานการณ์ของเม็ดเงินโฆษณาทางทีวีมีการปรับตัว “ลดลงมาก” เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดการณ์ภาพดังกล่าว จะส่งผลต่อเนื่องถึงปี 2568
เม็ดเงินโฆษณาทางทีวีที่ลดลงยังเกิดขึ้นในไตรมาส 3 ด้วย ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายเงินของลูกค้าที่ซื้อโฆษณาเกิดจากภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัว
“ไตรมาส 4 เป็นช่วงโลว์ซีซั่นของการใช้จ่ายเม็ดเงินโฆษณา เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 และตัวเลขของการใช้จ่ายเงินลูกค้าไตรมาส 4 น้อยลงมาก”
จากปัจจัยดังกล่าว ทำให้เวิร์คพอยท์ คาดการณ์รายได้จากการขายโฆษณาปี 2568 จะอยู่ที่ 1,100-1,150 ล้านบาท ลดลง 5-10% จากปีนี้คาดจะปิดตัวเลขที่ 1,200 ล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทต้องเดินหน้าปรับตัว เพื่อสร้างการเติบโตธุรกิจ และหารายได้เพื่อ “ชดชยรายได้โฆษณา” ที่จะลดลง โดยกลยุทธ์สำคัญมีดังนี้ 1.“ยุติ” การผลิตละคร ทำให้ต้องปิดแผนกธุรกิจละคร และ “เลิกจ้างพนักงาน” ในส่วนนี้ไป แผนนี้จะทำให้บริษัทประหยัดค่าใช้จ่ายราว 100-150 ล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันโค้งสุดท้ายปี 2567 จะเดินหน้านำละครในสต๊อกมาออกอากาศให้หมดจำนวน 2 เรื่องครึ่ง ส่งผลให้ “ต้นทุนเพิ่ม” ในไตรมาส 4 ราว 30-40 ล้านบาท
จากผลิตละครป้อนช่องเวิร์คพอยท์ บริษัทยังคงเดินหน้ารับจ้างผลิตละครหรือเป็นคอนเทนต์โปรวายเดอร์ให้กับลูกค้าต่างๆ
“แผนงานในอนาคต ปีหน้าจะไม่มีคอนเทนต์ละครในช่องเวิร์คพอยท์ เราเปลี่ยนกลยุทธ์เน้นผลิตรายการวาไรตี้ รายการเทเลอร์เมด พ่วงกิจกรรมออนกราวด์ การจัดอีเวนต์ต่าง ซึ่งทำให้รักษาฐานลูกค้าเดิมเพิ่มลูกค้าใหม่ เพราะลูกค้าแบรนด์ต่างๆต้องการใกล้ชิด พบเจอผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย”
2.รุกปั้นศิลปินที-ป๊อป(T-Pop) เสริมแกร่งธุรกิจบริหารจัดการศิลปินภายใต้ค่าย XOXO ENTERTAINMEN ขณะนี้ยังมีเด็กฝึกในสังกัด 24 ชีวิต คาดว่าจะปลุกปั้นเป็นศิลปินเดี่ยว ศิลปินกลุ่มทั้งบอยแบนด์และเกิร์ลกรุ๊ปได้ประมาณ 2-3 กลุ่ม นอจากนี้ ศิลปินในสังกัด ไม่ว่าจะเป็น 4EVE(โฟร์อีฟ) และ ATLAS(แอทลาส) ฯ ผนึกกับพันธมิตร เพื่อหาทางลุยตลาดต่างประเทศ และยัง “ร่วมทุน” กับ “เบิ้ล ปทุมราช” ตั้งบริษัท ดับเบิ้ลพอยท์ 98 จำกัด เพื่อปั้นศิลปินแนวเพลงอิสระหรืออินดี้ เพื่อรุกตลาด
ขณะที่การดึงคอนเสิร์ตจากต่างประเทศมาจัด ภายใต้บริษัท กรุงเทพ เอ็กซิบิชั่น จำกัด จะปรับกลยุทธ์ “ลดจำนวนงาน” เพราะตลาดดังกล่าวกลายเป็น “สงครามเดือด” หรือ Red Ocean ไปแล้ว มีศิลปินตบเท้ามาเปิดคอนเสิร์ต จัดอีเวนต์ แฟนมีทในไทยแน่นขนัด โดยบริษัทจะให้ความสำคัญกับการจัดคอนเสิร์ต T-Pop ศิลปินในสังกัดแทน ยังมีการจัดแสดงละครเวทีอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม โจทย์การจัดอีเวนต์เองและรับจ้าง คือการ “ทำกำไรให้ได้ 20-25%” จากเดิมจัดงานเองกำไรอยู่ราว 10% ถึง 20% ปลายๆ โดยภาพรวมการจัดอีเวนต์ ปี 2568 จะมีราว 50 งาน
3.เดินหน้าผลิตภาพยนตร์ปีละ 2-3 เรื่อง ผ่าน “จังก้า” เบื้องต้นวางงบลงทุน 100-120 ล้านบาท 4.การผลิตรายการตามลูกค้าต้องการ(Tailar made) ซึ่งปัจจุบันมี 2 รายการ ได้แก่ Genwit อัจฉริยะพันธุ์ใหม่ ของ “บางจาก” และ The MIX Master ของ “เนสกาแฟ” 4.ผนึกพันธมิตรแพลตฟอร์มวิดีโอออนไลน์(OTT) ผลิตรายการป้อนคนดูเพิ่ม จาก 2 รายการ โอ้ละหนอ I Love เมืองไทย และ The MARK Soulmate ออกอากาศบน “เน็ตฟลิกซ์”
5.ผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ ทั้งจาก “โคตรคูล” และจากบริษัทร่วมทุนกับ “เบิ้ล ปทุมราช” และ 6.จับมือพาร์ทเนอร์ใช้เวลาออกอากาศทางทีวี(Airtime) พัฒนาสินค้ามาจำหน่ายอีก 2 หมวด ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหาร จากปัจจุบันมี 2 สินค้า คือน้ำหวาน HELLO BOY และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแอสตาเซีย
“เหล่านี้เป็นกลยุทธ์การเคลื่อนธุรกิจช่วง 2-3 ปีข้างหน้า ทว่า จากแผนข้างต้นจะส่งผลให้รายได้ปี 2568 อยู่ที่ 2,500 ล้านบาท และทำกำไรสัดส่วน 2-3% เพราะยังมีการใส่เงินลงทุนฝึกศิลปิน 24 คนในปีหน้า เป็นต้น”
อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1157265