Talk of The Town

THG อ่วม! Q4 เสี่ยงขาดทุนอีก! มีแววตั้งสำรองหนี้ UCEP COVID โบรกฯ ชี้รอแก้ไขปัญหา CG จบ


12 ธันวาคม 2567

น่าจับตา! สำหรับบริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG ล่าสุดนักวิเคราะห์มองไตรมาส 4/67 มีความเสี่ยงตั้งสำรอง อาจทำให้มีผลขาดทุนสุทธิต่ออีก แถมยังไม่ให้คำแนะนำ ชี้จุดที่ควรกลับมาสนใจ THG คือหลังจากบริษัทจัดการปัญหา CG จบ และมีความชัดเจนเรื่องตั้งสำรองหนี้/ด้อยค่าเงินลงทุนในปี 2567

THG อ่วม! Q4 เสี่ยงขาดทุนอีก!_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า  มีมุมมอง Slightly negative ต่อข้อมูลจากการประชุมกับ THG เนื่องจาก 1. แนวโน้มรายได้รวมปี 2567 จะต่ำกว่าประมาณการรายได้ของฝ่ายวิจัยราว -5%

2. มีความเสี่ยงจากการตั้งสำรองหนี้เพิ่มเติมที่ยังไม่รวมในประมาณการปัจจุบัน และ 3.ผลการดำเนินงานไตรมาส 4/67มีแนวโน้มขาดทุนสุทธิ หากตั้งสำรองหนี้ UCEP COVID ที่เหลือทั้งหมด

โดยยังไม่ให้คำแนะนำสำหรับ THG (เดิม Reduce) เนื่องจากอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการ และรวมความเสี่ยงต้องตั้งสำรองหนี้เพิ่มเติม

รวมทั้งรอฟังมุมมองและการกำหนดทิศทางดำเนินธุรกิจของผู้บริหารชุดใหม่ ซึ่งมองว่าจุดที่ควรกลับมาสนใจ THG คือหลังจากบริษัทจัดการปัญหา CG จบ และมีความชัดเจนเรื่องตั้งสำรองหนี้/ด้อยค่าเงินลงทุนในปี 2567

ทั้งนี้ทีมผู้บริหารชุดใหม่ยังให้ความสำคัญกับ Core Business ของ THG รวมทั้งการปรับโครงสร้างเงินทุน เพื่อลดความเสี่ยงสภาพคล่องของบริษัท ปัจจุบันอยู่ระหว่างให้ที่ปรึกษาการเงินอิสระศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างเงินทุน ส่วน Non-Core Business มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท (ที่ดิน, หุ้นที่ถือใน RJH,RPH) มีโอกาสขายให้นักลงทุนที่สนใจ

ขณะที่คณะกรรมการตรวจสอบของบริษัทขยายขอบข่ายรายการตรวจสอบเพิ่มเติมจากที่เคยแจ้งข่าวตลาดหลักทรัพย์ โดยตรวจสอบข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (2565-2567) ซึ่งจะจบภายในปีนี้ ส่วนรายได้ค้างรับ COVID มียอดคงเหลือราว 83 ล้านบาท อยู่ระหว่างพิจารณาจะตั้งสำรองหนี้ที่เหลือทั้งหมดหรือไม่

ส่วนผลการดำเนินงานรพ. ธนบุรี บำรุงเมือง (THB) ในไตรมาส 3/67 มีรายได้เฉลี่ย 95 ล้านบาท/เดือน ดีขึ้นจากครึ่งปีแรกของปี 2567 และ EBITDA เริ่มเป็นบวกเล็กน้อย (ครึ่งปีแรกของปี 2567  รายได้เฉลี่ย 80-85 ลบ/เดือน และ EBITDA ขาดทุน 70 ล้านบาท)

โดยเนื่องจากมีการใช้บริการเพิ่มขึ้นในศูนย์ใหม่ๆ เพื่อทำการตลาดในประเทศ เช่น ศูนย์เด็ก, ศูนย์ทางเดินอาหาร, ศูนย์เลสิก ผู้บริหารคาดว่าสิ้นปีนี้จะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านบาท และปี 2568 ตั้งเป้าหมายรายได้ราว 1,250-1,300 ล้านบาท หรือเติบโตไม่ต่ำกว่า 20% จากปีก่อนหน้า

ทั้งนี้คงแผนการเพิ่มศักยภาพให้บริการของรพ.ในเครือ 7 แห่ง โดยครึ่งปีแรกของปี 2568 จะมีห้องตรวจ OPD เพิ่ม 129 ห้องตรวจ จาก รพ.ธนบุรี 1 (80 ห้อง), รพ.ธนบุรี ทวีวัฒนา (45 ห้อง) และ รพ.ธนบุรี ตรัง (4 ห้อง) ทำให้ห้องตรวจ OPD รวมของ รพ.ในเครือ เพิ่มจาก 292 ห้อง เป็น 421 ห้อง หรือเพิ่มขึ้น 44%

ส่วนเตียง IPD เพิ่มอีก 23 เตียง จาก รพ.ธนบุรี ทวีวัฒนา ทำให้จานวนเตียงรวมเพิ่มจาก 1,158 เตียง เป็น 1,181 เตียง หรือเพิ่มขึ้น 2% ส่วน รพ.ธนบุรี รังสิต ขนาด 250 เตียง ชะลอการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารคาดว่าในปีนี้ THG จะมีรายได้รวม 9,500-9,600 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 2% จากปีก่อน ส่วนปี 2568 ตั้งเป้าหมายรายได้รวมเติบโตในอัตราเลขหลักเดียวฐานสูง (High-single digit growth) มีปัจจัยสนับสนุนจากความพร้อมให้บริการของ รพ.ในเครือ และรพ.ธนบุรี 1, รพ.ธนบุรี บารุงเมือง มีการบริหารจัดการภายในดีขึ้น

THG