Talk of The Town

แก๊งหุ้นใหญ่โดนรวบ! หลังครม.เห็นชอบจัดเก็บภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ คาดฉุดกำไรปี 68 ดิ่งหนักสุดกว่า 15%


13 ธันวาคม 2567

คณะรัฐมนตรีแสดงความเห็นชอบต่อการกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำที่ 15% ตามแผนภาษีขั้นต่ำสากลของ OECD นักวิเคราะห์คาด DELTA, TU, GULF, BGRIM และ GPSC มีความเสี่ยง ซึ่ง BGRIM หนักสุด กดดันกำไรปี 68 สูงถึง 15%

แก๊งหุ้นใหญ่โดนรวบ!_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด เปิดเผยว่า ในการประชุมเมื่อวานนี้ คณะรัฐมนตรีแสดงความเห็นชอบต่อการกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำที่ 15% ตามแผนภาษีขั้นต่ำสากลของ OECD (GMT) โดยตามร่างกฎหมาย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำ 15% จะถูกนำมาใช้กับบริษัทข้ามชาติที่มีรายได้สูงกว่า 750 ล้านยูโร (27,000 ล้านบาท) โดยมีผลบังคับใช้ในปีหน้า (2568)

ทั้งนี้ประเมินว่า  1. บริษัทที่ได้รับผลกระทบจะเป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากโครงการลงทุน เช่น โครงการของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

2.ในกรณีนี้ ตลาดควรจับตามองบริษัทข้ามชาติที่มีรายได้มากกว่า 750 ล้านยูโร และมีอัตราภาษีที่แท้จริงต่ำกว่า 15% (สำหรับบริษัทที่มีสิทธิประโยชน์จาก BOI แต่มีอัตราภาษีรวมเกิน 15% จะได้รับผลกระทบต่อกำไรเพียงเล็กน้อย) ตามหลักเกณฑ์ของแผนนี้ 

โดยเห็นว่า DELTA, TU, GULF, BGRIM และ GPSC มีความเสี่ยง บริษัทสาธารณูปโภคยังมีการดำเนินงานในหลายประเทศและอาจอยู่ภายใต้แผนนี้แล้ว ฝ่ายวิจัยได้นำเสนอประมาณการอัตราภาษีที่แท้จริงสำหรับปีงบประมาณ 2568 และการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของกำไรหากอัตราภาษีถูกปรับเป็น 15%

3.บริษัทอื่นที่อาจได้รับผลกระทบรวมถึง BJC, EGCO และ RATCH แต่ฝ่ายวิจัยมีการคาดการณ์อัตราภาษีเกิน 15% สำหรับปีหน้าอยู่แล้ว TTB มีอัตราภาษีที่แท้จริงต่ำกว่า 15% แต่ธนาคารไม่ควรจัดอยู่ในประเภทบริษัทข้ามชาติ (MNC)

4.อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลจะออกมาตรการเพื่อลดผลกระทบทางลบต่อบริษัทที่ได้รับผลกระทบ (เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีอื่นๆ ที่ไม่ขัดต่อแนวปฏิบัติของ OECD) ดังนั้น ผลกระทบสุดท้ายน่าจะต่ำกว่าที่การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของฝ่ายวิจัยบ่งชี้

สำหรับผลกระทบต่อกำไรในปี 2568 ประกอบด้วย BGRIM ราว 15% ส่วน GULF ราว 12% ขณะที่ TU ราว 9% DELTA ราว 6%  และ GPSC ราว 1%

ส่วนนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกำหนด 2 ฉบับเกี่ยวกับการปฏิรูปภาษีนิติบุคคลในไทย เพื่อให้สอดคล้องกับเกณฑ์ขององค์กรเพื่อความร่วมมือ และการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ (OECD) ด้วยมาตรการ PILLAR 2 จัดเก็บภาษีเพิ่มเติมจากบริษัทที่ เข้าเกณฑ์ตามมาตรการต้องเสียภาษีขั้นต่ำ (GLOBAL MINIMUM TAX) ในอัตรา 15% เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยคาดจะประกาศใช้ในทัน กับกำหนดที่จะเริ่มเก็บปี 2568

OECD (THE ORGANIZATION FOR ECONOMIC COOPERATION AND DEVELOPMENT) คือเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ส่งเสริมการประสานงานด้าน นโยบายและเสรีภาพทางเศรษฐกิจในหมู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และสร้างความเท่าเทียม ในการแข่งขันระดับโลก มีประเทศที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกว่า 130 ประเทศ และไทยเป็น หนึ่งในนั้น โดย OECD กำหนด 2 แนวทางในการจัดเก็บภาษีรูปแบบใหม่ คือ

แนวทางแรก (PILLAR 1) สร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับประเทศที่เป็นแหล่ง รายได้ของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ (MNES) ไม่ว่าบริษัทจะตั้งถิ่นฐานในประเทศนั้น ๆ หรือไม่ก็ตาม โดย MNES ที่เข้าเกณฑ์ คือ 1. มีรายได้ทั่วโลกมากกว่า 20,000 ล้านยูโรต่อปี 2. มีผลกำไรมากกว่า 10% ของรายได้ในประเทศนั้น และ 3. มีรายได้ในประเทศ นั้นอย่างน้อย 1 ล้านยูโรต่อปี หรือราว 38 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้องปันผลกำไรให้กับประเทศนั้นด้วย

แนวทางที่สอง (PILLAR 2) มีจุดประสงค์เพื่อหยุดการแข่งขันทางด้านภาษีเพื่อดึงดูด การลงทุน และป้องกันการเลี่ยงภาษีของ MNES ที่อาจย้ายกำไรไปยังบริษัทในเครือที่ตั้งอยู่ในประเทศที่มีภาษีต่ำ โดยกำหนดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก หรือ GLOBAL MINIMUM TAX (GMT) ที่ 15% สำหรับ MNES ที่มีรายได้รวมเกิน 750 ล้านยูโรต่อปี GMT

สำหรับผลกระทบต่อหุ้นในกลุ่มเกษตรและอาหารภายใต้ COVERAGE 4 บริษัท คือ CPF, TU, ITC และ GFPT ดังนี้ TU (แนะนำ ถือ ราคาเป้าหมาย 18.60 บาท) คาดมีโอกาสได้รับผลกระทบมากสุด เนื่องจาก เข้าข่ายเงื่อนไข PILLAR 2 มีฐานรายได้เกิน 750 ล้านยูโรต่อปี หรือ 2.6 หมื่นล้านบาทต่อปี (ปี 2566 รายได้ทั้งกลุ่มอยู่ที่ 1.36 แสนล้านบาท และ 9 เดือนปี 67 รวม 1.03 แสนล้าน บาท)