Binance TH เตือนภัยคนไทย เฝ้าระวังแก๊งมิจฉาชีพหลอกลงทุนคริปโต พร้อมแนะเกราะป้องกันไม่ตกเป็นเหยื่อ
ตัวเลขแนวโน้มสำคัญในวงการ “คริปโต” และ “SCAM” จากสหรัฐฯ สะท้อนความเสี่ยงตลาดไทย
-
มูลค่าความเสียหายจากการหลอกลวงคริปโตอาจสูงถึง 1.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2025
-
ความเสียหายเฉลี่ยต่อเหยื่อในสหรัฐฯ สามารถสูงถึง 39,000 ดอลลาร์สหรัฐ
-
หากจำแนกมูลค่าความเสียหายจากการหลอกลวงประเภทต่าง ๆ สามารถแบ่งเป็น วิธีการแอบอ้างตัวตน คาดว่าจะสร้างมูลค่าค่าความเสียหายอยู่ที่ 154 ล้านดอลลาร์สหรัฐ, วิธีการ romance scam คาดว่าจะสร้างมูลค่าความเสียหายประมาณ 167 ล้านดอลลาร์, และวิธีการหลอกลงทุน คาดว่าจะสร้างความเสียหายสูงสุดถึง 888 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025
(source: VPNRanks, Oct 2024)
ตลาดคริปโทเคอร์เรนซีในประเทศไทยเติบโตมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะใน Cycle นี้ที่จะเพิ่มจำนวนนักลงทุนหน้าใหม่ในตลาด โดยตั้งแต่ต้นปีมีจำนวนบัญชีเปิดใหม่มากถึง 120,000 บัญชี (Statista, Jan 2024) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ไบแนนซ์ ทีเอช บาย กัลฟ์ ไบแนนซ์ (Binance TH by Gulf Binance) แพลตฟอร์มสินทรัพย์ดิจิทัลโดยได้รับใบอนุญาตภายใต้ชื่อบริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด เล็งเห็นถึงความเสี่ยงจากเหล่ามิจฉาชีพที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากนักลงทุน จึงขอหยิบยกรูปแบบกลโกงเพื่อป้องกันให้ไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพและสามารถลงทุนได้อย่างปลอดภัย3 วิธีการหลอกลวง
-
เสนอบริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรง ระวังการติดต่อจากบุคคลที่เสนอตัวเป็น "คนกลาง" ในการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล หรืออาจ แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยมักเสนอผลตอบแทนสูงเกินจริง สุดท้ายจะหลอกลวงให้โอนเงินไปให้โดยไม่ได้รับสินทรัพย์จริง
-
หลอกรักผ่านแอปหาคู่ มิจฉาชีพจะสร้างโปรไฟล์ที่น่าสนใจเพื่อให้หลงเชื่อ จากนั้นจะชักชวนให้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล พึงระวังคนที่เพิ่งรู้จักในแอปหาคู่มาชวนลงทุนคริปโตที่จะหลอกให้รักแล้วหลอกให้สูญเงินในที่สุด
-
แอปปลอม ระวังแอปพลิเคชันปลอมที่เลียนแบบแอปพลิเคชันของบริษัทซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ก่อนดาวน์โหลดแอปใด ๆ ให้ตรวจสอบที่มาของแอปให้ดี
DYOR กุญแจสำคัญสู่การลงทุนสกุลเงินดิจิทัล
การลงทุนในสกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซี กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับหลายคน แต่ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนไปกับเหรียญใดเหรียญหนึ่ง การศึกษาข้อมูลด้วยตนเอง (DYOR) นั้นสำคัญมาก
ทำไมต้อง DYOR (Do Your Own Research)? เพราะในโลกของคริปโตเต็มไปด้วยข้อมูลมากมาย บางส่วนเป็นข้อมูลที่ถูกต้อง แต่บางส่วนก็อาจเป็นเพียงการโพรโมตหรือข่าวปลอมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อหลอกล่อให้นักลงทุนตัดสินใจผิดพลาด หากไม่ทำการศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ อาจนำไปสู่การสูญเสียเงินลงทุนได้ และสิ่งที่นักลงทุนทั้งเก่าและใหม่ต้องตระหนักไว้เสมอคือ "อย่าไว้ใจใครง่าย ๆ! ต้องหมั่นศึกษาข้อมูลก่อนลงทุนในโลกคริปโต"
หากพลาดท่าตกเป็นเหยื่อ
-
แจ้งความทันที รวบรวมหลักฐานทั้งหมด เช่น หลักฐานการโอนเงิน ข้อความสนทนา และแจ้งความต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่เกิดเหตุ หรือแจ้งความออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือติดต่อกองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ได้ที่สายด่วน 1441 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
-
แจ้งผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม ที่โดนแอบอ้างชื่อให้ทราบ เพื่อดำเนินการตามมาตรการ และป้องกันไม่ให้ผู้อื่นตกเป็นเหยื่อรายต่อไป
-
ระวังการโดนหลอกซ้ำจากบริการติดตามทวงคืนเงิน มิจฉาชีพมักใช้โอกาสนี้หลอกลวงซ้ำซ้อนในช่วงเวลาที่เหยื่อขาดสติจากการสูญเงินก้อนแรก ดังนั้นต้องระมัดระวังบริการที่อ้างว่าสามารถช่วยติดตามเงินคืน เพราะอาจเป็นการหลอกลวงซ้ำสองได้
Binance TH ปกป้องคุณอย่างไร?
Binance TH ให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้ใช้อย่างสูงสุด ช่วงครึ่งแรกของปี 2024 Binance สามารถป้องกันความเสียหายจากการถูกหลอกลวงได้กว่า 2.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของ Binance ในการปกป้องผู้ใช้งานจากภัยมิจฉาชีพ และหนึ่งในวิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือการให้ความรู้เรื่องภัยคุกคามที่เกิดขึ้นใหม่ในโลกคริปโตอยู่เสมอ เพราะภัยคุกคามเหล่านี้มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา การที่ลูกค้าตระหนักถึงวิธีการหลอกลวงต่าง ๆ จะช่วยให้สามารถป้องกันตัวเองและสินทรัพย์ดิจิทัลได้ และยังเป็นการช่วยปกป้องชุมชนคริปโตโดยรวมอีกด้วย โดยระบบป้องกันภัยไซเบอร์แบบมัลติเลเยอร์ของ Binance คอยดูแลผู้ใช้ตั้งแต่การแจ้งเตือนภัยเล็กน้อยไปจนถึงการช่วยเหลือฉุกเฉินในสถานการณ์เสี่ยง ครอบคลุมทุกมิติ เพื่อปกป้องผู้ใช้จากภัยคุกคามทางไซเบอร์และการหลอกลวงทางการเงิน โดยมีกลยุทธ์หลักดังนี้
-
ระบบแจ้งเตือนภัยส่วนบุคคล ผู้ใช้จะได้รับการแจ้งเตือนทันทีผ่านแอปพลิเคชันเมื่อระบบตรวจพบพฤติกรรมที่น่าสงสัย เช่น การโอนเงินไปยังกระเป๋าเงินที่ไม่น่าเชื่อถือ
-
แบบสอบถามประเมินความเสี่ยง Binance จะส่งแบบสอบถามไปยังผู้ใช้ที่มีความเสี่ยงสูง เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถระบุภัยคุกคามและป้องกันตัวเอง
-
ฐานข้อมูลที่อยู่กระเป๋าเงินที่เป็นอันตราย: Binance ร่วมมือกับบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ชั้นนำ เพื่อระบุและเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับการโอนเงินไปยังที่อยู่กระเป๋าเงินที่ไม่ปลอดภัย
-
การแช่แข็งการโอนเงินที่ผิดปกติ: Binance สามารถแช่แข็งการโอนเงินที่น่าสงสัย เช่น การโอนเงินไปยังการหลอกลวงประเภทแผนชวนลงทุน (Ponzi schemes)
-
พักการถอนเงินกรณีฉุกเฉิน: กรณีที่พบพฤติกรรมการทำธุรกรรมที่ผิดปกติหรือมีความเสี่ยงสูง เช่น การทำธุรกรรมจำนวนมากในเวลาอันสั้น Binance อาจจำเป็นต้องระงับการถอนเงินชั่วคราว เป็นระยะเวลาสูงสุด 24 ชั่วโมง เพื่อป้องกันการตัดสินใจที่ผิดพลาด
-
ความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย: Binance ร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายทั่วโลก เพื่อติดตามและจับกุมกลุ่มอาชญากรไซเบอร์
-
ติดต่อ Chat Support เมื่อพบปัญหาหรือมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชัน Binance ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการยืนยันตัวตนไม่ผ่าน การทำธุรกรรมต่าง ๆ หรือคำถามเกี่ยวกับเหรียญ หรือเรื่องอื่น ๆ ทีมงาน Binance TH by Gulf Binance พร้อมให้ความช่วยเหลือ สามารถติดต่อเราได้ที่ https://www.binance.th/en/chat หรือหากต้องการหาคำตอบด้วยตนเอง สามารถอ่าน FAQ ได้ที่ https://www.binance.th/en/faq
มุ่งมั่นสร้างสภาพแวดล้อมทางการเงินที่ปลอดภัยและน่าเชื่อถือ
Binance TH จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกระดานเทรดสินทรัพย์ดิจิทัลระดับโลกสำหรับคนไทย โดยเฉพาะการมีใบอนุญาตที่ได้รับจากทาง ก.ล.ต. ทั้ง 2 แบบ ไม่ว่าจะเป็น Digital Asset Exchange และ Digital Asset Broker อีกนัยหนึ่งคือความรับผิดชอบต่อผู้ใช้งานไทย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสามารถเชื่อมการทำงานร่วมกับธนาคารไทยได้ ขณะเดียวกันผู้ใช้งานจะสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีพื้นฐานแบบเดียวกับของ Binance
คำเตือน : คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้