จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TFG ธุรกิจกำลังติดปีก เมื่อ “ไก่แปรรูป” เป็นสินค้าเกษตรส่งออกสุดเด่น ช่วยหนุนผลประกอบการเติบโตตามเป้า
06 มกราคม 2568
สศก.ระบุ “ไก่แปรรูป” 1 ใน 5 อับดับสินค้าเกษตรส่งออกของไทย 10 เดือนแรกของปี67 สร้างรายได้กว่า 8.7 หมื่นล้านบาท หนุนผลงาน บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ผู้บริหารมั่นใจรายได้ปี 67 โต 10-15%
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานภาพรวมสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-ต.ค.) พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร (พิกัด 01-24 รวมยางพารา) รวมทั้งสิ้น 2,146,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 1,536,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.24% การนำเข้ามูลค่า 610,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.15% ส่งผลให้ไทยมีดุลการค้าสินค้าเกษตรเกินดุลถึง 926,663 ล้านบาท
สินค้าเกษตรที่มูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. ข้าว มูลค่า 168,685 ล้านบาท ขยายตัว 39.24%
2. ทุเรียนสด มูลค่า 130,352 ล้านบาท หดตัว 4.57%
3. ยางธรรมชาติ มูลค่า 95,927 ล้านบาท ขยายตัว 54.33%
4. ไก่แปรรูป มูลค่า 87,009 ล้านบาท ขยายตัว 10.75%
5. อาหารสุนัขหรือแมว มูลค่า 79,071 ล้านบาท ขยายตัว 35.45%
ทั้งนี้ แนวโน้มการค้าสินค้าเกษตรของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 67 ในภาพรวมถือว่าสินค้าเกษตรยังคงมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ประกอบกับไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยทุกประเทศข้างต้น
ถึงแม้ว่า สถานการณ์การค้าโลกในช่วงนี้ยังคงเผชิญความท้าทายหลากหลายด้าน อาทิ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลก ความตึงเครียดและความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ นโยบายสีเขียวและความยั่งยืน รวมถึงสภาพอากาศในยุคโลกเดือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ดี จากสถิติการค้าสินค้าเกษตรของไทยในหลายปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่โดดเด่นในระดับโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าสินค้าเกษตรของไทย ได้แก่ ความหลากหลายของสินค้าเกษตรที่ผลิตและส่งออก การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน ทำให้สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากในภูมิภาคเอเชียและตลาดโลก
แต่หลังจากการกลับมาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงนโยบาย "Make America Great Again" สานต่อ "American First" ที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐ โดยประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 60% และจากประเทศอื่น ๆ 10-20% เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและลดการพึ่งพาการผลิตจากต่างประเทศนั้น
ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) หลายฉบับ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและช่วยส่งเสริมการเติบโตของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก
การส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะเนื้อไก่ ยังเติบโตได้ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด สนับสนุนผลงานของ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ซึ่ง “เพชร นันทวิสัย” ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ TFG มั่นใจว่ารายได้ปี 2567 จะเติบโตตามเป้าหมาย 10 - 15% ผลจากอานิสงส์ราคาไก่-สุกรที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และบริษัทยังคงเดินหน้านโยบายขยายสาขาร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" ให้ครบ 400 สาขา ภายในปี2567 เพื่อเพิ่มมาร์จิ้นและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับนักลงทุน
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานภาพรวมสถานการณ์การค้าสินค้าเกษตรของไทยกับโลกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 67 (ม.ค.-ต.ค.) พบว่า ไทยมีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตร (พิกัด 01-24 รวมยางพารา) รวมทั้งสิ้น 2,146,745 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 6.49% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น การส่งออกมูลค่า 1,536,704 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.24% การนำเข้ามูลค่า 610,041 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.15% ส่งผลให้ไทยมีดุลการค้าสินค้าเกษตรเกินดุลถึง 926,663 ล้านบาท
สินค้าเกษตรที่มูลค่าส่งออกสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่
1. ข้าว มูลค่า 168,685 ล้านบาท ขยายตัว 39.24%
2. ทุเรียนสด มูลค่า 130,352 ล้านบาท หดตัว 4.57%
3. ยางธรรมชาติ มูลค่า 95,927 ล้านบาท ขยายตัว 54.33%
4. ไก่แปรรูป มูลค่า 87,009 ล้านบาท ขยายตัว 10.75%
5. อาหารสุนัขหรือแมว มูลค่า 79,071 ล้านบาท ขยายตัว 35.45%
ทั้งนี้ แนวโน้มการค้าสินค้าเกษตรของไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปี 67 ในภาพรวมถือว่าสินค้าเกษตรยังคงมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก ประกอบกับไทยยังคงได้เปรียบดุลการค้าสินค้าเกษตรกับประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยทุกประเทศข้างต้น
ถึงแม้ว่า สถานการณ์การค้าโลกในช่วงนี้ยังคงเผชิญความท้าทายหลากหลายด้าน อาทิ การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของโลก ความตึงเครียดและความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ นโยบายสีเขียวและความยั่งยืน รวมถึงสภาพอากาศในยุคโลกเดือด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตและการค้าสินค้าเกษตรของไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อย่างไรก็ดี จากสถิติการค้าสินค้าเกษตรของไทยในหลายปีที่ผ่านมา ได้แสดงให้เห็นถึงการเติบโตที่โดดเด่นในระดับโลก โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการค้าสินค้าเกษตรของไทย ได้แก่ ความหลากหลายของสินค้าเกษตรที่ผลิตและส่งออก การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตและการแปรรูปสินค้าเกษตร ตลอดจนการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐาน ทำให้สินค้าไทยเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมอย่างมากในภูมิภาคเอเชียและตลาดโลก
แต่หลังจากการกลับมาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงนโยบาย "Make America Great Again" สานต่อ "American First" ที่ให้ความสำคัญกับการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของสหรัฐ โดยประกาศขึ้นภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 60% และจากประเทศอื่น ๆ 10-20% เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศและลดการพึ่งพาการผลิตจากต่างประเทศนั้น
ซึ่งไทยอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) หลายฉบับ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและช่วยส่งเสริมการเติบโตของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก
การส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์แปรรูป โดยเฉพาะเนื้อไก่ ยังเติบโตได้ดีและเป็นที่ต้องการของตลาด สนับสนุนผลงานของ บมจ.ไทยฟู้ดส์ กรุ๊ป (TFG) ซึ่ง “เพชร นันทวิสัย” ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ TFG มั่นใจว่ารายได้ปี 2567 จะเติบโตตามเป้าหมาย 10 - 15% ผลจากอานิสงส์ราคาไก่-สุกรที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง และบริษัทยังคงเดินหน้านโยบายขยายสาขาร้านค้าปลีก "ไทยฟู้ดส์ เฟรซ มาร์เก็ต" ให้ครบ 400 สาขา ภายในปี2567 เพื่อเพิ่มมาร์จิ้นและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับนักลงทุน