Wealth Sharing

สุดช็อก! กอง LTF ผลงาน 7 ปี ติดลบเกือบยกแผง พบมีแค่ 10 กองที่รอด ส่วนที่เหลือร่วง


15 มกราคม 2568

มอร์นิ่งตาร์ เปิดเผยว่า ปี 2568 เป็นปีที่หน่วยลงทุนล็อตสุดท้ายของกองทุน LTF ที่ลงทุนในปี 2562 จะครบกำหนดถือครองตามเงื่อนไขการลงทุน 7 ปีปฎิทิน หรือหมายความว่า นักลงทุนที่ยังมีหน่วยลงทุนในกองทุน LTF อยู่ ไม่ว่าจะเริ่มลงทุนในปีใดก็ตาม จะสามารถขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดที่มีอยู่ได้ในปีนี้โดยไม่ผิดเงื่อนไขการลงทุน ทำให้ตลาดบางส่วนอาจมีความกังวลว่าการไถ่ถอนหน่วยลงทุนของกองทุน LTF จะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยได้ 

สุดช็อก! กอง LTF_WS (เว็บ) copy_0.jpg

โดยในวันที่ 2 มกราคม 2568 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรกของปี ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวลดลงกว่า 20.36 จุด หรือดัชนีปิดตลาดที่ 1,379.85 จุด ซึ่งส่วนหนึ่งคาดการณ์ว่าเป็นผลมาจากแรงเทขายของนักลงทุนจากเงินลงทุนในกองทุน LTF ที่ครบกำหนด

อย่างไรก็ตาม หากดูตัวเลขที่เกิดขึ้นจริงจากยอดเงินไหลเข้า-ออกสุทธิ พบว่าในวันแรกของปี 2568 กองทุน LTF มียอดเงินไหลออกประมาณ 2.1 พันล้านบาท นับว่าเป็นระดับที่ต่ำกว่าปี 2567 ที่มีเงินไหลออกในวันแรกราว 4.3 พันล้านบาท และหากนับในช่วง 5 วันทำการแรกของปี 2568 จะมีเงินไหลออกสุทธิราว 6.2 พันล้านบาท 

7 ทั้งนี้ ปฎิเสธไม่ได้ว่าเงินลงทุนในกองทุน LTF ถูกทยอยไถ่ถอนอย่างต่อเนื่องตลอดช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา โดยมีเฉพาะในปี 2567 ที่มีเงินไหลออกปรับตัวสูงสุดในรอบ 5 ปีเกือบ -3.8 หมื่นล้านบาท

โดยปัจจัยหนึ่งที่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าเงินกองทุน LTF ที่ครบกำหนดอาจไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดมากอย่างที่นักลงทุนบางส่วนกังวลนั้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากผลตอบแทนของเงินลงทุนที่โดยเฉลี่ยยังคงอยู่ในระดับติดลบไม่ว่าจะเป็นในช่วง 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี หรือ 7 ปี โดยค่าเฉลี่ยผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน LTF ในช่วง 7 ปียังคงปรับตัวติดลบ 2.18% ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปีปรับตัวติดลบ 1.06%

และในอีกมุมหนึ่ง หากเปรียบเทียบผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุน LTF กับผลตอบแทนของดัชนี SET TR Index ซึ่งรวมผลตอบแทนจากเงินปันผลแล้ว พบว่ากองทุน LTF โดยเฉลี่ยมีผลตอบแทนที่ต่ำกว่าตลาดอย่างต่อเนื่องเกือบทุกปีตลอดทั้งในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าตลาดจะอยู่ในช่วงการปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลง 

ยกเว้นเพียงในปี 2564 ที่ค่าเฉลี่ยผลตอบแทนของกองทุน LTF สามารถเอาชนะตลาดได้ ในขณะที่ปี 2567 เป็นปีที่ผลตอบแทนเฉลี่ยของกองทุน LTF ปรับตัวติดลบ แม้ว่าตลาดโดยรวมจะปรับตัวเพิ่มขึ้น จากภาพดังกล่าวส่งผลให้ผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยทั้งช่วงเวลา 1 ปี, 3 ปี, 5 ปี และ 7 ปี ของกองทุน LTF อยู่ในระดับต่ำกว่าตลาดโดยรวมทุกช่วงเวลา

นอกจากนี้ หากเปรียบเทียบผลตอบแทนรายกองทุนกับดัชนี SET TR Index จะพบว่าสัดส่วนกองทุนที่มีผลตอบแทนเหนือกว่าดัชนีตลาดหุ้นไทย นั้นมีความแตกต่างกันไปในแต่ละปี แต่โดยส่วนใหญ่แล้วกองทุนที่สร้างผลตอบแทนได้ต่ำกว่าดัชนีจะมีสัดส่วนสูงกว่า โดยมีสัดส่วนประมาณ 3ใน4 ของกองทุนทั้งหมด 

โดยหากพิจารณาผลตอบแทนเฉลี่ยสะสมในระยะยาว จะพบว่ามีเพียง 12% ที่สามารถสร้างผลตอบแทนเหนือดัชนีได้จากผลตอบแทนสะสมเฉลี่ยในรอบ 7 ปี ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในปีใดที่ตลาดหุ้นมีผลตอบแทนในระดับ 10% ขึ้นไป กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดจะมีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในปี 2564 ที่ตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบ 18% หรือในปี 2566 ที่ตลาดปรับตัวลดลง -13% แต่โดยเฉลี่ย

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าทุกกองทุน LTF จะมีผลการดำเนินงานที่ไม่ดีทั้งหมด โดยหากพิจารณาผลตอบแทนในระดับกองทุนในช่วงย้อนหลัง 7 ปี พบว่าแม้ว่าตลาดจะมีผลตอบแทนติดลบ แต่ยังมี 10 กองทุน (นับแยกชนิดหน่วยลงทุน) จาก 84 กองทุนที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้เป็นบวก หรือคิดเป็นสัดส่วนเพียงประมาณ 12% ซึ่งประกอบด้วยกองทุนที่มีกลยุทธ์การลงทุนหลากหลายรูปแบบ ทั้งกองทุนหุ้นขนาดใหญ่และขนาดกลาง-เล็ก

ในขณะที่ผลตอบแทนเฉลี่ย 5 ปี มีจำนวนกองทุนที่มีผลตอบแทนเป็นบวกเพิ่มขึ้นเป็น 23 กองทุน จากกองทุนทั้งหมดกว่า 90 กองทุน หรือประมาณ 26% และสำหรับในปีที่ผ่านมา สัดส่วนกองทุนที่มีผลตอบแทนเป็นบวกได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 35 กองทุน หรือคิดเป็นสัดส่วน 37% โดยกองทุนที่มีผลตอบแทนสูงสุด 10 อันดับแรกในปีที่ผ่านมาล้วนเป็นกองทุนใน Morningstar category ประเภท Equity Large cap ทั้งหมด