Talk of The Town

วิเคราะห์ “ทรัมป์” เริ่มจุดไฟสงครามการค้า ฉุดหุ้นไทยผันผวน หวั่นทวีความรุนแรง โบรกฯชี้มีลุ้นรับเม็ดเงินลงทุน-ย้ายฐานผลิต


03 กุมภาพันธ์ 2568

จากประเด็นที่ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ยืนยันว่าจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโกในอัตรา 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ. 68 และจีน ในอัตรา 10% ขณะที่จีนประกาศขึ้นภาษีตอบโต้ในระดับเดียวกันที่ 10% และเตรียมฟ้อง WTO ทันที รวมถึงแคนาดา เม็กซิโก ที่ประกาศตอบโต้เก็บภาษีสหรัฐฯในระดับเดียวกันทันทีเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจุบันยอดการค้า การส่งออกระหว่างกัน สรุปได้ดังนี้

วิเคราะห์ ทรัมป์_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

โดยแคนาดา เม็กซิโก จีน ส่งออกไปสหรัฐฯราว 75%, 80% และ 15% ของยอดส่งออกรวม สินค้าหลักที่แคนาดาส่งไปสหรัฐฯ คือ สินค้าพลังงาน ยานยนต์ และเครื่องจักร สินค้าหลักที่เม็กซิโกส่งออกไปสหรัฐฯ คือ ยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ และเครื่องจักร นอกจากนี้ ปัจจุบัน แคนาดาและเม็กซิโกส่งออก PET ~220ktpa (4-5% ของการบริโภคในสหรัฐฯ ส่วนจีนสินค้าส่งออกหลักไปสหรัฐฯ คือ ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ของเล่น เสื้อผ้า และเฟอร์นิเจอร์

ส่วนสหรัฐฯ ส่งออกไปแคนาดา เม็กซิโก จีนราว 18%, 16% และ 8% ของยอดส่งออกรวม สินค้าหลักที่ส่งไปแคนาดา คือ ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องจักร และพลังงาน สินค้าหลักที่ส่งออกไปเม็กซิโก คือ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน อุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ สินค้าหลักที่ส่งออกไปจีน คือ สินค้าเกษตร (ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์) เครื่องจักร+อุปกรณ์อุตสาหกรรม

ส่วนไทยส่งออกไปแคนาดา เม็กซิโกต่ำกว่า 2% ของยอดส่งออก ขณะที่ส่งออกไปจีน 14% สหรัฐฯ 12%

ประเมินกระแส Trade War จะกลับมามีน้ำหนักจิตวิทยาลบตลาด เพราะสร้างความเสี่ยงเงินเฟ้อจากราคาสินค้าแพงขึ้นและผลกระทบเศรษฐกิจ 

อย่างไรก็ตาม การใช้นโยบายค่อยเป็นค่อยไป แม้อาจสร้างแรงกดดัน Bond Yield ปรับขึ้นได้บ้าง แต่ไม่น่าจะสูงกว่ากรอบ 4.8-4.9% ซึ่งเป็นจุดที่ตลาดกังวลคุณ Trump จะใช้นโยบายเร่ง+หว่านแหตามที่หาเสียงไว้ 

ทั้งนี้ เนื่องจากลดความเสี่ยงกระทบต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจในช่วงที่สหรัฐฯยังไม่มีมาตรการทางบวกหนุน คาดคุณ Trump จะเน้น Selective ประเทศที่ได้ดุลการค้าเพิ่มจากสหรัฐฯสูง vs Trump 1.0 อาทิ ยุโรป, เวียดนาม 

ส่วนกลุ่มสินค้าหลักที่จะเห็นการใช้นโยบายกีดกันในระลอกแรก แม้ยังต้องรอความชัดเจน แต่คาดอยู่ที่ฝั่งภาคผลิตเป็นหลัก โดยน่าจะอยู่ในกลุ่มสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์/ยานยนต์ รวมถึงชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์

ทั้งนี้ ในส่วนผลกระทบทางเศรษฐกิจ Krungsri Research ประเมิน ในกรณีที่สหรัฐฯปรับเพิ่มฝั่งเดียว คาดกระทบ GDP สหรัฐฯและจีน -0.34% และ -0.08% ทำให้กรณีตอบโต้น่าจะเสี่ยงกระทบเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดี ประเมินจะผลบวกต่อ GDP ไทย +0.05% (หากไม่ปรับเพิ่มภาษีไทย) โดยเราประเมินไทยมีโอกาสจะได้ยอดส่งออกทดแทนจากการทำสงครามการค้าในกลุ่มประเทศกรณีเม็กซิโก สหรัฐฯ อาทิ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์+ปิโตรเคมี ยกเว้นชิ้นส่วนที่อาจจะได้รับผลกระทบทั้งห่วงโซ่ผลิตประเทศหลักๆ ที่เชื่อมโยงจีนและสหรัฐฯสูง ทั้งนี้ เนื่องจากเราประเมินความตึงเครียดของจีน - สหรัฐฯ มีโอกาสก่อให้ภาพความกังวลเหมือนรอบ Trump 1.0 โดยประเทศที่มีความเสี่ยงน่าจะอยู่ฝั่งเอเชียเหนือ อาทิ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลีใต้ ที่บจ.ในตลาดมีรายได้เชื่อมโยงสหรัฐฯ - จีนสูง ส่วนไทยอยู่ในกลุ่มประเทศกระทบจำกัดเช่นเดียวหลายประเทศในอาเซียน เพราะยอดรายได้ บจ. ในดัชนี MSCI ไปยังสหรัฐฯและจีนต่ำกว่า 5%

ขณะที่ผลกระทบเศรษฐกิจไทยโดยรวมที่น่าจะเกิดขึ้นยอดส่งออกภาพรวมตามปริมาณการค้าโลกวงกว้างที่ลดลง แต่ชดเชยจากยอดลงทุนทางตรงเพิ่มขึ้นจาก การย้ายฐานการผลิตสู่ไทยในฐานะที่มีความเป็นกลางโดยรวม 

ทั้งนี้ประเมินการทำสงครามการค้า Trump 2.0 ระลอกแรกมีน้ำหนัก SET ผันผวนสั้นๆ จาก Bond Yield ที่สลับมาแกว่งขึ้น ก่อนฟื้นตัวจากผลต่อเศรษฐกิจเป็นกลาง – บวกอ่อนๆต่อไทย ขณะที่ในกลุ่มสินค้าที่ได้ประโยชน์คาดได้จิตวิทยาบวก คือ ยานยนต์ ส่วนเคมีภัณฑ์+ปิโตรเคมี เป็นบวกต่อ IVL ส่วนการย้ายฐานที่มีโอกาสเกิดขึ้นหนุนหุ้นนิคม WHA AMATA เด่น

โดยระยะสั้น วันนี้มองตลาดหุ้นไทยวันนี้ “ผันผวน” แม้การปรับเพิ่มภาษีนำเข้าสหรัฐฯ กับ แคนาดา เม็กซิโก ที่ 25% เท่าๆ กัน และจีนที่ 10% แต่การตอบโต้ของทุกประเทศที่ส่งสัญญาณทันที ทำให้ตลาดกังวลการทวีความรุนแรงของสงครามการค้าเพิ่มขึ้น ทิศทางดังกล่าวถือเป็นบวกต่อหุ้นในกลุ่มนิคม ที่ลุ้น Upside ของ FDI ที่เร่งขึ้น 

รวมถึงกลุ่มธนาคารที่มีโอกาสได้ประโยชน์และเม็ดเงินลงทุนที่เร่งขึ้น และกลุ่มที่มีโอกาสได้ประโยชน์ยอดขายดีขึ้น อาทิ IVL ฝั่งปิโตรเคมี ส่วนภายในกลุ่มที่ประคองตัวได้ดีน่าจะต้องปัจจัยหนุนชัดเจน อาทิ ท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยว ม.ค. 25 กลับสู่ระดับ Pre-COVID แล้ว นอกจากนี้ น่าจะอยู่ฝั่งหุ้น Defensive อาทิ สื่อสาร