Fund / Insurance
คปภ.คาดเบี้ยประกันภัยปี68แตะ 9.7-9.8 แสนลบ.ย้ำCopaymentดีต่อผู้ทำประกันภัย
05 กุมภาพันธ์ 2568
เลขาธิการ คปภ. คาดปี 68 เบี้ยประกันภัยทั้งระบบแตะ 9.7-9.8 แสนล้านบาท เติบโตสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ย้ำ Copayment ผู้เอาประกันภัยได้ประโยชน์ ยืดระยะเวลาปรับค่าเบี้ยประกันภัย
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ในปี 2568 การเติบโตของธุรกิจประกันภัยและวินาศภัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยจะอยู่ที่ 9.7-9.8 แสนล้านบาท และภายใน 2 ปีนี้มีโอกาสที่เบี้ยประกันภัยจะแตะที่ 1 ล้านล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยเป็นไปตามอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ
ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักงาน คปภ. โดยด้านและสายงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ประจำปี 2568 โดยแบ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ส่วนที่ 1 ประชาชน สามารถใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและการบริการที่ได้มาตรฐาน
ส่วนที่ 2 ธุรกิจประกันภัย มีเสถียรภาพความมั่นคง ปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่
ส่วนที่ 3 ขับเคลื่อนสำนักงาน คปภ. เป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง อาทิ ปรับกระบวนการทำงาน Team-based / Project-based เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น และมุ่งสู่ AI Driven Organization โดยขับเคลื่อนการดำเนินการผ่าน AI Champion และนำ AI เข้ามาใช้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์การให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ของสัญญาประกันภัยสุขภาพ เลขาธิการ คปภ.ย้ำว่า เป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยชะลอค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพไม่ให้เพิ่มขึ้นไวเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสมดุลในระบบประกันภัยสุขภาพ และลดผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิตามความจำเป็น รวมทั้งยังช่วยให้ระบบประกันภัยสุขภาพของประเทศไทยมีความยั่งยืนในระยะยาว
นายชูฉัตร ประมูลผล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ในปี 2568 การเติบโตของธุรกิจประกันภัยและวินาศภัยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่ามูลค่าเบี้ยประกันภัยจะอยู่ที่ 9.7-9.8 แสนล้านบาท และภายใน 2 ปีนี้มีโอกาสที่เบี้ยประกันภัยจะแตะที่ 1 ล้านล้านบาท เนื่องจากการเติบโตของเบี้ยประกันภัยเป็นไปตามอัตราเติบโตของเศรษฐกิจ
ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว สำนักงาน คปภ. โดยด้านและสายงานต่าง ๆ ได้ร่วมกันกำหนดนโยบายและทิศทางการดำเนินงานของสำนักงาน คปภ. ประจำปี 2568 โดยแบ่งการขับเคลื่อนการดำเนินงานออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ
ส่วนที่ 1 ประชาชน สามารถใช้ระบบประกันภัยเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการความเสี่ยงโดยได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นธรรมและการบริการที่ได้มาตรฐาน
ส่วนที่ 2 ธุรกิจประกันภัย มีเสถียรภาพความมั่นคง ปรับตัวได้เท่าทันความเสี่ยงและสภาพแวดล้อมที่
ส่วนที่ 3 ขับเคลื่อนสำนักงาน คปภ. เป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูง อาทิ ปรับกระบวนการทำงาน Team-based / Project-based เพื่อให้การบริหารงานมีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวเพิ่มมากขึ้น และมุ่งสู่ AI Driven Organization โดยขับเคลื่อนการดำเนินการผ่าน AI Champion และนำ AI เข้ามาใช้ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ
ส่วนการกำหนดหลักเกณฑ์การให้มีค่าใช้จ่ายร่วม (Copayment) ของสัญญาประกันภัยสุขภาพ เลขาธิการ คปภ.ย้ำว่า เป็นแนวทางหนึ่งในการช่วยชะลอค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพไม่ให้เพิ่มขึ้นไวเกินไปเมื่อเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ทำให้ผู้เอาประกันภัยได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความสมดุลในระบบประกันภัยสุขภาพ และลดผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยที่ใช้สิทธิตามความจำเป็น รวมทั้งยังช่วยให้ระบบประกันภัยสุขภาพของประเทศไทยมีความยั่งยืนในระยะยาว