กระดานข่าว

P2P: โอกาสของอนาคตการเงิน หรือกับดักที่แฝงมากับตลาดคริปโต?


07 กุมภาพันธ์ 2568

P2P: โอกาสของอนาคตการเงิน หรือกับดักที่แฝงมากับตลาดคริปโต?

โดย ดร.กร พูนศิริวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์และผู้อำนวยการโครงการ BINANCE TH Academy 
บริษัท กัลฟ์ ไบแนนซ์ จำกัด

ในช่วงที่ตลาดคริปโตกำลังเฟื่องฟู การซื้อขายแบบ P2P (Peer-to-Peer) กลายเป็นประเด็นร้อนที่ได้รับความสนใจอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อภาครัฐประกาศมาตรการควบคุมที่มีผลบังคับในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ทว่าการควบคุม P2P ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย หลายประเทศในเอเชียเองก็มีแนวทางการจัดการที่แตกต่างกัน อย่างญี่ปุ่นเลือกที่จะห้าม P2P โดยสิ้นเชิง และเน้นการซื้อขายผ่าน Exchange ที่ได้รับอนุญาต ขณะที่สิงคโปร์อนุญาตแต่มีการควบคุมที่เข้มงวด ส่วนเกาหลีใต้ก็กำหนดว่าการเทรดประเภทนี้ต้องผ่านระบบธนาคารที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น

Dr.Korn_BINANCE TH Academy_re_11zon.jpg

ความเข้าใจกลไกและบทบาท P2P ในตลาดคริปโต 

P2P เป็นการทำธุรกรรมการเงินโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ที่อาศัย “ความเชื่อใจกัน” มีความคล้ายคลึงกับ ‘การซื้อขายสินค้าโดยตรงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย’ โดยเริ่มจากการตกลงราคา และเลือกวิธีการชำระเงินโดยมีการจ่ายเป็นสกุลเงินบนใช้คริปโต ต่อมา P2P ได้รับความนิยมอย่างมากในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล เนื่องจากมีความสะดวกและยืดหยุ่น ซึ่งการซื้อ-ขายประเภทนี้ ทำให้ผู้คนสามารถเลือกทำธุรกรรมกับใครก็ได้ และกำหนดราคาที่พอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย และยังสามารถทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินข้ามประเทศสามารถเกิดได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

นอกจากการแลกเปลี่ยนระหว่างบุคคล P2P ยังสามารถทำธุรกรรมผ่านแพลตฟอร์มตัวกลาง ซึ่งแต่ละรูปแบบมีความเสี่ยงต่างกัน อย่างไรก็ตามการแลกเปลี่ยน P2P กลับถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำผิดกฎหมาย ถูกใช้ในการหลอกลวง หรือหาประโยชน์ของผู้ไม่หวังดีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วง Bull Market เช่น การใช้สลิปปลอม การสวมรอยบัญชี และการใช้บัญชีม้าเพื่อฟอกเงิน นำไปสู่การอายัดบัญชีผู้ใช้งาน ซึ่งแท้จริงแล้วแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการต่างมีมาตรการป้องกันให้กับผู้ใช้ แต่บางรายเลือกที่จะทำธุรกรรมแบบ P2P นอกกระดานเทรด

รูปแบบการหลอกลวง P2P ที่ต้อง “พึงระวัง”

การหลอกลวงที่มิจฉาชีพพยายามโน้มน้าวเหยื่อให้ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลโดยตรงนอกแพลตฟอร์ม Exchange ผ่านระบบ P2P นั้น อาจมีหลายรูปแบบ แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกัน ดังนี้: 

•    เริ่มต้นติดต่อเข้ามาในช่องทางออนไลน์: มิจฉาชีพจะติดต่อกับเหยื่อผ่านแพลตฟอร์มการส่งข้อความ (chat) หรือออนไลน์คอมมูนิตี้ ผ่านการโฆษณาชวนเชื่อบนโซเชียลมีเดีย โดยแอบอ้างเป็นผู้ค้าหรือบริษัทที่ถูกกฎหมายที่เสนออัตรา P2P ที่น่าดึงดูด พร้อมอ้างว่ามีประวัติการทำธุรกรรมที่ขาวสะอาด และจำนวนการทำธุรกรรมสูง 

•    สร้างความไว้วางใจ: มิจฉาชีพจะทุ่มเวลาสร้างความสัมพันธ์กับเหยื่อ โดยมักจะแชร์เอกสารปลอม ประวัติการทำธุรกรรมปลอม นอกจากนี้มิจฉาชีพยังทำธุรกรรมสำเร็จหลาย ๆ ครั้งกับเหยื่อก่อนเพื่อล่อให้ตายใจ จนสุดท้ายเหยื่อสูญเงินก่อนโตในที่สุด  

•    ชวนไปเทรดนอกกระดาน: หลังเหยื่อไว้วางใจแล้ว มิจฉาชีพจะเสนอให้ทำธุรกรรมนอกแพลตฟอร์ม และโน้มน้าวให้เหยื่อปล่อยเหรียญคริปโตโดยตรง  

•    ขั้นหลอกลวง: มิจฉาชีพจะเสนอให้เหยื่อทำธุรกรรมด้วยอัตราแลกเปลี่ยนที่จูงใจ เมื่อเหยื่อตกหลุมพลางจนโอนสกุลเงินดิจิทัลไปยังกระเป๋าเงินของมิจฉาชีพ ก็จะไม่สามารถติดต่อได้อีกต่อไป ส่งผลให้เหยื่อสูญเหรียญคริปโตและไม่มีทางกู้คืนได้

วิธีหลีกเลี่ยงการหลอกลวงผ่าน P2P

•    เลือกเทรดกับผู้ให้บริการผ่านแพลตฟอร์ม และผู้ประกอบการที่ ก.ล.ต รับรองเท่านั้น : ดำเนินธุรกรรมผ่านผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องจาก ก.ล.ต. (สามารถคลิกดูรายชื่อได้ที่ https://market.sec.or.th/LicenseCheck/views/DABusiness?dealer) 

•    ระวังข้อเสนอที่ดูดีเกินจริง: หากข้อเสนอ P2P ที่คุณได้รับดูดีเกินจริง ให้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น

•    หมั่นเรียนรู้ด้วยตัวเอง (DYOR): ขยันติดตามและศึกษาข้อมูลข่าวสารเพื่อให้รู้เท่าทันกับกลลวงที่มีการอัปเดตตลอด เพราะ  “ความรู้” เป็นเกราะป้องกันที่ดีที่สุด ไม่หลงไปพัวพันกับมิจฉาชีพ และขบวนการฉ้อโกง  

BINANCE TH ในฐานะผู้ให้บริการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลจาก สำนักงาน ก.ล.ต. มองว่าการกำกับดูแล P2P เป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล และบริษัทฯ พร้อมให้ความร่วมมือกับภาครัฐเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับตลาด และเพิ่มการคุ้มครองให้กับนักลงทุนรายย่อย อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาระบบการเงินที่ยั่งยืน พร้อมย้ำแนวทางที่ BINANCE TH ปกป้องผู้ใช้บริการในไทย ดังนี้

1.    การยืนยันตัวตน

•    การยืนยันตัวตนแบบ Know-Your-Customer: BINANCE TH กำหนดให้ผู้ใช้ทุกคนต้องทำการยืนยันตัวตน (KYC) ก่อน จึงจะสามารถซื้อขายบนแพลตฟอร์มได้ วิธีนี้ช่วยให้มั่นใจได้ว่าทั้งผู้ซื้อและผู้ขายนั้นปฏิบัติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

•    ระบบ Reputation: ระบบนี้จะเปิดให้ผู้ใช้มอบคะแนนและวิจารณ์คู่ค้าในการซื้อขายได้ ช่วยให้สามารถระบุผู้ซื้อขายที่น่าเชื่อถือ และหลีกเลี่ยงการหลอกลวงได้

2.    มอบความรู้และสร้างความเข้าใจ

•    มอบความรู้แก่ผู้ใช้งาน : BINANCE TH Academy เป็นแหล่งข้อมูลเพื่ออัปเดตความรู้และสร้างความเข้าใจให้กับคนไทย รวมถึงประเด็นการหลอกลวงและวิธีหลีกเลี่ยง เพื่อเป็นแนวทางการซื้อขายที่ปลอดภัย

•    การแจ้งเตือนการหลอกลวง (Scam Alerts): มีการอัปเดตผู้ใช้งานเป็นประจำเพื่อให้รู้เท่าทันกับกลลวงประเภทใหม่ ๆ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับมาตรการป้องกัน การแจ้งเตือนนี้ยังช่วยให้ผู้ใช้ตื่นตัวและรับทราบข้อมูลภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นตลอดเวลาในโลกคริปโต

3.    ช่องทางการสื่อสารที่ปลอดภัย

•    แชทในแอป (Chat Support): แพลตฟอร์ม BINANCE TH  มีฟีเจอร์แชทในแอปที่พร้อมให้ความช่วยเหลือ กับผู้ใช้งานตลอด 24 ชั่วโมง

4.    ใช้เทคโนโลยีล้ำสมัยตรวจจับ

•    การตรวจจับการฉ้อโกงด้วย AI: ใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่ขั้นสูง (LLM) เพื่อตรวจสอบการแชท P2P เพื่อหาสัญญาณพฤติกรรมฉ้อโกง และช่วยเหลือผู้ใช้

•    การประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์เพื่อการตรวจสอบ POP (Computer Vision for POP Verification)ใช้โมเดลการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์ด้วย AI เพื่อประเมินเอกสารหลักฐานการชำระเงินโดยอัตโนมัติ และตรวจจับกรณีที่เอกสารถูกดัดแปลง ซึ่งเป็นสัญญาณทั่วไปของการพยายามหลอกลวง

การเปลี่ยนแปลงนี้จะนำไปสู่ระบบนิเวศทางการเงินที่แข็งแรงในระยะยาว BINANCE TH พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาอุตสาหกรรมคริปโตไทยให้เติบโตอย่างมั่นคง เพื่อสร้างอนาคตทางการเงินที่ปลอดภัยและเป็นธรรมสำหรับทุกคน

คำเตือน: คริปโทเคอร์เรนซีและโทเคนดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง ท่านอาจสูญเสียเงินลงทุนได้ทั้งจำนวน โปรดศึกษาข้อมูลและลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้