รายงานพิเศษ : SSP ลุยขยายพอร์ตพลังงานสีเขียวทุกรูปแบบ ทยอย COD โรงไฟฟ้าตั้งแต่ปี 68 เพิ่ม 400 เมกะวัตต์ ปักธงปี 2575 พอร์ตเติบโตต่อเนื่องสู่ 1 กิ๊กกะวัตต์
บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP)ผู้ผลิตพลังงานสะอาดชั้นนำของไทย เพียบพร้อมจากการเป็นหุ้นที่อยู่ในกระแสการเป็นพลังงานสะอาดและยังเน้นการเติบโตที่ยั่งยืนจาก ESG Rating ระดับ AA
ความต้องการพลังงานสะอาดในประเทศยังเติบโตได้ดี แม้สหรัฐฯจะกลับไปเน้นการผลิตพลังงานจะฟอสซิส โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองในปี 2568 แนวโน้มธุรกิจไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในไทยมีความต้องการรับซื้อเพิ่มสูงขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ผู้ประกอบการจำหน่ายมากที่สุด ได้แก่ ไฟฟ้าชีวมวลและแสงอาทิตย์ มีสัดส่วนรวมกันเป็น 78% ของไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ภาครัฐ และ 96% ของไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ภาคเอกชน
โดยปริมาณไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ขายให้ภาครัฐคาดว่าจะอยู่ที่ 23,555 GWh เพิ่มขึ้น 2% จากการส่งเสริมทางด้านนโยบายภาครัฐ โดยจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่เริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบเพิ่มเติมรวมเป็นจำนวน 226.9 MW จากปริมาณขายตามสัญญา ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 8 แห่ง และโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ 3 แห่ง
ส่วนปริมาณไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ขายให้ภาคเอกชนคาดว่าจะอยู่ที่ 4,177 GWh เพิ่มขึ้น 15% เติบโตจากกฎระเบียบทางการค้าที่เข้มงวดมากขึ้น เช่น มาตรการเก็บภาษีคาร์บอนข้ามพรมแดนจากยุโรป (CBAM1) ทำให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปรับตัวมาใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น นอกจากนี้การลงทุนที่เพิ่มมากขึ้นจากองค์กรเอกชนในโครงการ RE1002 ซึ่งรวมถึงธุรกิจศูนย์ข้อมูล (Data Center) ก็มีส่วนผลักดันให้การใช้พลังงานสะอาดเติบโตอย่างต่อเนื่อง
ปีนี้คาดว่าโรงไฟฟ้าชีวมวลจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งจากการขายให้ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอัตรากำไรขั้นต้นก็มีแนวโน้มเติบโต ขณะเดียวกันธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รายได้ต่อหน่วยในการขายไฟให้ภาครัฐจะขึ้นอยู่กับราคารับซื้อซึ่งมีแนวโน้มลดลง ขณะที่รายได้รวมจากการขายไฟให้ภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น
นายวรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) กลุ่มเสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น ผู้ประกอบการพลังงานทดแทนชั้นนำของไทยที่มีศักยภาพและมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยมีโครงการในมือที่ดำเนินการอยู่กว่า 283 เมกะวัตต์ ทั้งในและต่างประเทศ และยังมีโครงการใหม่ที่จะทยอย COD ตั้งแต่ปี 2568 ในประเทศไทย 170.5 เมกะวัตต์ จากการชนะการประมูลโครงการพลังงานทดแทน PDP 1 รวมไปถึงโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม 150 เมกะวัตต์ ในประเทศฟิลิปปินส์ ที่บอร์ดได้อนุมัติการลงทุนไปล่าสุด และโครงการอื่นๆ รวมกว่า 400 เมกะวัตต์
"ตลอดปี 2567 ถือเป็นปีที่บริษัทฯ มีพัฒนาการการการเติบโตตามเป้าหมาย ตั้งแต่การเข้าซื้อสัดส่วนการลงทุนในโครงการร่มเกล้าวินฟาร์ม ขนาด 45 เมกะวัตต์ ครบ 100% ในเดือนมีนาคม ช่วยสนับสนุนรายได้และช่วยทดแทนการอ่อนตัวลงของรายได้โครงการโซล่าร์ฟาร์ม SPN ที่อยู่ระหว่างการ Repowering ส่วนปี 2568 บริษัทฯ จะทยอย COD เริ่มด้วยโซล่าร์ฟาร์มในญี่ปุ่น Leo 2 ขนาด 22 เมกะวัตต์ มั่นใจพอร์ตเติบโตต่อเนื่องมุ่งสู่ 1 GW ภายในปี 2575 "นายวรุตม์ กล่าว
ความแข็งแกร่งของบริษัทยังสะท้อนได้จาก ผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Rating ระดับ AA (คะแนนรวม 80-89) ในกลุ่มอุตสาหกรรมทรัพยากร (Resources) จากการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานของบริษัทที่ให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ยกระดับการดำเนินงานภายใต้กรอบ ESG ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจและการกำกับดูแลกิจการ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน และแสดงให้เห็นถึงศักยภาพการเติบโตขององค์กรในระยะยาว มุ่งเน้นการลงทุนในพลังงานสีเขียวทุกรูปแบบ ตอกย้ำความพร้อมด้านความยั่งยืน เพื่อการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคง