Wealth Sharing

ชำแหละ! งบ “คิง เพาเวอร์” ปี 65 เคยกำไรสูงถึง 3,751 ล้านบาท ก่อนพลิกขาดทุน 651 ล้านบาทในปี 66


17 กุมภาพันธ์ 2568

เกาะติดสถานการณ์บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT โดยล่าสุด AOT ชี้แจงว่า มิได้ทำการแก้ไขสัญญาสัมปทานที่มีกับกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ดิวตี้ฟรี จำกัด หรือ คิง เพาเวอร์ และยังคงดำเนินการตามสัญญาอย่างต่อเนื่อง

ชำแหละ! งบ “คิง เพาเวอร์”_WS (เว็บ).png

หากเข้าไปสำรวจผลประกอบการย้อนหลังของ คิง เพาเวอร์ พบว่า น่าสนใจอย่างมาก ในรายละเอียดรายงานของ AOT ระบุว่า คิง เพาเวอร์ ประสบกับปัญหาขาดทุน โดยในปี 2566 ขาดทุนถึงจำนวน 651,512,785 บาท ซึ่งได้พยายามดำเนินการในหลากหลายรูปแบบเพื่อให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น แต่นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 จนถึงปัจจุบัน คิง เพาเวอร์ ก็ยังคงประสบภาวะขาดทุนมาโดยตลอด

ขณะที่ข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า ในช่วงก่อนเกิดการระบาดของ โควิด-19 หรือปี 2562 มีกำไรสุทธิ 756 ล้านบาท หลังจากนั้นปี 2563 พลิกขาดทุนสุทธิ 1,833 ล้านบาท ขณะที่ปี 2564 ผลประกอบการยังขาดทุนต่อสูงถึง 2,814 ล้านบาท 

อย่างไรก็ตามในปี 2565 คิง เพาเวอร์ สามารถพลิกฟื้นฟอร์มได้อย่างโดดเด่น โดยมีกำไรสุทธิสูงถึง 3,751 ล้านบาท แต่พลิกกลับมาขาดทุนในปี 2566 ที่ระดับ 651 ล้านบาท 

ในรายละเอียดการชี้แจงต่อตลาดของ AOT ที่มีเรื่องของ คิง เพาเวอร์ ระบุว่า เมื่อสถานการณ์ของโรคโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย แต่คิง เพาเวอร์ ยังคงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง และไม่สามารถฟื้นคืนธุรกิจได้อย่างเต็มที่ตามที่เคยประเมินไว้ รวมถึงความจําเป็นที่ต้องลงทุนเป็นจำนวนมากเพื่อการปรับปรุง ก่อสร้าง ติดตั้งระบบต่าง ๆภายในอาคารผู้โดยสาร ทสภ., ทภก. และ ทดม. เป็นผลให้ คิง เพาเวอร์ ประสบปัญหาสภาพคล่องตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นอกเหนือจากนั้น การที่สถาบันการเงินมีนโยบายไม่ปล่อยสินเชื่อเพิ่มเติม 

รวมถึงการทยอยครบกำหนดชำระหนี้ต่าง ๆกับสถาบันการเงิน และค่าผลประโยชน์ตอบแทนที่ครบกำหนดชำระให้แก่ ทอท. (งวดปกติและงวดที่ถึงกำหนดชําระจากการเลื่อนชําระ) และการชําระค่าสินค้าที่ได้สั่งซื้อไว้กับ Supplier (ซึ่งเป็นหัวใจหลักเพื่อให้มีสินค้าไว้จําหน่าย) ทำให้สถานะทางการเงินของ คิง เพาเวอร์ ที่มีภาระต้องชําระค่าภาระต่าง ๆ เกิดการกระจุกตัวในช่วงที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก

ชำแหละ!-งบ-“คิง-เพาเวอร์”.jpg

AOT