Talk of The Town

PTT ปี 67 กำไรวูบหายกว่า 2.1 หมื่นลบ. เซ่นพิษโรงกลั่นมาร์จิ้นทรุด-ขาดทุนสต็อก บุ๊กขาดทุนส่วนแบ่งธุรกิจปิโตรฯ กว่า 8.93 พันลบ.


21 กุมภาพันธ์ 2568

ในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจำนวน 3,090,453 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 จำนวน 54,431 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 โดยกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีรายได้จากการขายลดลงจากราคาขายผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง ตามราคาน้ำมันที่อ้างอิงแม้ว่าปริมาณขายเพิ่มขึ้น โดยหลักจากปริมาณการค้าน้ำมันสำเร็จรูปและ LNG ระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้น 

PTT ปี 67_S2T (เว็บ) copy_0.jpg

กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีรายได้จากการขายลดลง โดยหลักจากธุรกิจจัดหาและค้าส่งก๊าซฯ จากราคาขายเฉลี่ยปรับลดลงตามราคา Pool Gas รวมทั้งปริมาณขายก๊าซฯ เฉลี่ยที่ลดลง ขณะที่ธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายและราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 

นอกจากนี้ ธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีรายได้เพิ่มขึ้น ตามปริมาณการจองใช้ท่อฯ ของลูกค้าโรงแยกก๊าซฯ และโรงไฟฟ้าที่ เพิ่มขึ้น กลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีรายได้จากการขายลดลงจากทั้งราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายที่ปรับลดลง อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้น จากปริมาณขายเฉลี่ยที่ปรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าราคาขายเฉลี่ยปรับลดลง

โดยในปี 2567 EBITDA มีจำนวน 396,234 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 จำนวน 30,661 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.2 โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น โดยธุรกิจการกลั่นมีผลการดำเนินงานลดลง จาก Market GRM ที่ลดลง ประกอบกับมี ผลขาดทุนสต๊อกน้ำมันสุทธิกับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับของสินค้าคงเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีผลขาดทุน ประมาณ 13,000 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2566 เป็นขาดทุนประมาณ 2,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธุรกิจปิโตรเคมีมีผลการดำเนินงาน เพิ่มขึ้นตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่กับวัตถุดิบ และปริมาณขายที่ปรับตัวสูงขึ้น

นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานลดลงจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ จากต้นทุนขายที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากการเริ่มใช้นโยบาย Single Pool แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยและ ปริมาณขายปรับเพิ่มขึ้น 

ขณะที่ธุรกิจจัดหาและค้าส่งก๊าซฯ รวมถึงธุรกิจ NGV มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจากต้นทุนค่าเนื้อก๊าซฯ ปรับลดลงตามราคา Pool Gas รวมทั้งธุรกิจระบบท่อส่งก๊าซฯ มีผลการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน จากปริมาณการจองใช้ท่อส่งก๊าซฯ ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า 

ประกอบกับกลุ่มธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกมีผลการดำเนินงานลดลง จากกำไรขั้นต้นเฉลี่ยต่อ ลิตรและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลงโดยหลักจากน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซิน อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม มีผลการด าเนินงานเพิ่มขึ้นตามรายได้จากการขายที่เพิ่มขึ้นตามที่กล่าวข้างต้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นเนื่องจาก ค่าใช้จ่ายจากกิจกรรมซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้น

ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่าย จำนวน 185,918 ล้านบาท ในปี 2567 เพิ่มขึ้น 12,853 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.4 โดยหลักจาก PTTEP จากโครงการ G1/61 ตามปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น รวมถึงโครงการซอติก้าและโครงการ S1 ที่มีสินทรัพย์พร้อมใช้งานเพิ่มขึ้น

ในปี 2567 มีส่วนแบ่งขาดทุนจากการร่วมค้าและบริษัทร่วมจำนวน 6,668 ล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 9,681 ล้านบาท หรือ มากกว่าร้อยละ 100.0 โดยหลักจากผลการดำเนินงานของการร่วมค้าในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้น จาก PTTAC จากส่วนแบ่งผลขาดทุนจากการด้อยค่า 8,937 ล้านบาท ในปี 2567

ขณะเดียวกันในปี 2567 มีผลขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์จำนวน 6,933 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 6,261 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.5 โดยหลักจากก าไรจากตราสารอนุพันธ์เพื่อป้องกันความเสี่ยงราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นของ TOP และก าไรจากตราสารอนุพันธ์เพื่อ ป้องกันความเสี่ยงทางการเงินที่เพิ่มขึ้นของ PTTEP

รวมถึงมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในปี 2567 จำนวน 15,235 ล้านบาท ลดลง 7,050 ล้านบาท หรือร้อยละ 31.6 โดยหลักจาก ผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดขึ้นจริงลดลง (ในปี2567 เงินบาทแข็งค่า 0.24 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ขณะที่ในปี2566 เงินบาท แข็งค่า 0.34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ)

อีกทั้งในปี 2567 มีการรับรู้Non-recurring Items สุทธิภาษีตามสัดส่วนของ ปตท. เป็นขาดทุน ประมาณ 4,500 ล้านบาท ขณะที่ ในปี 2566 รับรู้กำไรประมาณ 300 ล้านบาท

สำหรับต้นทุนทางการเงินในปี 2567 มีจำนวน 46,821 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,438 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.2 จากปี 2566 โดยหลักจาก PTTEP 

ขณะที่ภาษีเงินได้ในปี 2567 จำนวน 67,210 ล้านบาท ลดลง 14,103 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.3 โดยหลักจาก PTTEP จาก โครงการในประเทศไทยและประเทศมาเลเซียตามกำไรที่ลดลง รวมถึง GC TOP และ PTT ตามกำไรที่ลดลง 

ดังนั้นจากที่กล่าวข้างต้นส่งผลให้ในปี 2567 ปตท. และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 90,072 ล้านบาท ลดลง 21,952 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.6จากปี 2566 ที่มีกำไรสุทธิ จำนวน 112,024 ล้านบาท

เคาะจ่ายปันผลอีก 1.30 บาท

นอกจากนี้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทเห็นสมควรเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาดังต่อไปนี้ 1. อนุมัติการจัดสรรกําไรสุทธิ และการจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 2.10 บาท จำนวน 28,562,996,250 หุ้น รวมเป็นจำนวน 59,983 ล้านบาท ซึ่งเมื่อหักเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลประกอบการครึ่งแรกของปี 2567 ในอัตราหุ้นละ 0.80 บาท ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงิน 22,851 ล้านบาท คงเหลือเงินปันผลที่จะจ่ายสำหรับผลประกอบการครึ่งหลังของปี 2567 อีกในอัตราหุ้นละ 1.30 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 37,132 ล้านบาท โดยกำหนดขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 6 มี.ค.2568 และจ่ายปันผลวันที่ 29 เม.ย. 2568

PTT