จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TPS รับอานิสงส์ภัยไซเบอร์พุ่ง พฤติกรรมใช้อินเตอร์เน็ตโตต่อเนื่อง
13 มีนาคม 2566
แม้การระบาดของโควิด19 จะปรับตัวดีขึ้นแต่พฤติกรรมการใช้อินเตอร์เน็ตยังเติบโต คาดปี 2025 มูลค่าเศรษฐกิจอินเตอร์เน็ตในภูมิภาคแตะ 330 พันล้านดอลลาร์ หนุนการโจมตีทางไซเบอร์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่ส่งผลดีต่อธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ของบมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS)
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลับมาเดินทางและท่องเที่ยวอีกครั้งหลังจากปิดประเทศมากกว่าสองปี อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมดิจิทัลที่เกิดขึ้นระหว่างการแพร่ของโรคระบาดยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคนี้จะสูงถึง 330 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025
ขณะที่นายวิทาลี คามลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ คาดการณ์แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับปี 2022 ได้แก่ การโจมตีของแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมายลดลงการหลอกลวงขั้นสูงและวิศวกรรมทางสังคมการละเมิดข้อมูลมากขึ้น โดยผู้โจมตีที่ไม่ปรากฏชื่อการโจมตีอุตสาหกรรมเงินคริปโต และ NFT
การโจมตีเงินคริปโตยังคงดำเนินต่อเนื่อง Binance ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีมูลค่า 570 ล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม และ NFT มูลค่า 1.7 ล้านดอลลาร์ก็ถูกแฮ็กจากผู้ใช้ Opensea
การโจมตีความเป็นส่วนตัวและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ จากการศึกษาของ Harvard Kennedy School สิงคโปร์อยู่ใน 20 อันดับแรกใน National Cyber Power Index เป็นประเทศที่เล็กที่สุดเมื่อพิจารณาจากเขตแดนและจำนวนประชากรที่รวมอยู่ใน 20 อันดับแรก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสิงคโปร์ แต่ก็ยังทำให้สิงคโปร์เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ เนื่องจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลอย่างลึกซึ้ง
"ปี 2022 เป็นปีแห่งความสำเร็จสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศต่าง ๆ ยกระดับกฎระเบียบเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ก็เป็นปีแห่งการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในภาคส่วนใดหรืออุตสาหกรรมใด ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องรู้ว่านักฉวยโอกาสคอยตามล่าข้อมูลของคุณอยู่ และจะพยายามแทรกซึมเครือข่ายของคุณด้วยทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ การป้องกันที่ครอบคลุมโดยอิงจากข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึกที่ดำเนินการได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น" นายวิทาลีกล่าวเสริม
เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากอีเมลฟิชชิ่ง แคสเปอร์สกี้จึงแนะนำให้บริษัทต่างๆ ลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ใช้อย่างละเอียดมากขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกิจของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Solutions Provider : ITP ) โดย “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) เปิดเผยแผนการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทยังเน้นขยายธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างครบวงจร โดยเป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิม และเป็นการเพิ่มการบริการติดตั้งระบบป้องกันการแฮ็กข้อมูลทางธุรกิจและตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์
โดยบริษัททำธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ภายใต้บริษัท เอ็กซ์-ซีเคียว จำกัด (X-Secure Co.,Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย โดยเฉพาะลูกค้าจากภาคเอกชน และเริ่มทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกัน ยังมองหาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมทั้ง การขยายธุรกิจ โดยเน้นการทำ M&A กับบริษัทที่มีผลงานการดำเนินงานที่ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้
ขณะเดียวกันบริษัทยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานของภาครัฐขนาดใหญ่ โดยมีการเข้าประมูลงานทั้งของ TPS และในส่วนของบริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลงานและรอประกาศผลอีกหลายโครงการ
"ปีนี้ TPS ยังมุ่งมั่นในการทำผลงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลงานใหม่ โดยเฉพาะงานภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงการด้านสาธารณูปโภค และงานวางระบบภายใน ที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว รวมถึงการต่อยอดจากธุรกิจเดิม อย่าง ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รองรับความต้องการของลูกค้าในระบบไอทีและความปลอดภัยอย่างครบวงจร และด้วยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 1,369 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จึงมั่นใจว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนผลงานของปี 66 ให้เติบโตที่ 50% จากปีก่อน ได้อย่างแน่นอน" นายบุญสม กล่าว
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้กลับมาเดินทางและท่องเที่ยวอีกครั้งหลังจากปิดประเทศมากกว่าสองปี อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมดิจิทัลที่เกิดขึ้นระหว่างการแพร่ของโรคระบาดยังคงอยู่ไม่เปลี่ยนแปลง โดยคาดว่าเศรษฐกิจอินเทอร์เน็ตของภูมิภาคนี้จะสูงถึง 330 พันล้านดอลลาร์ในปี 2025
ขณะที่นายวิทาลี คามลัก ผู้อำนวยการทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก แคสเปอร์สกี้ คาดการณ์แนวโน้มความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับปี 2022 ได้แก่ การโจมตีของแรนซัมแวร์แบบกำหนดเป้าหมายลดลงการหลอกลวงขั้นสูงและวิศวกรรมทางสังคมการละเมิดข้อมูลมากขึ้น โดยผู้โจมตีที่ไม่ปรากฏชื่อการโจมตีอุตสาหกรรมเงินคริปโต และ NFT
การโจมตีเงินคริปโตยังคงดำเนินต่อเนื่อง Binance ตกเป็นเหยื่อของการโจมตีมูลค่า 570 ล้านดอลลาร์ในเดือนตุลาคม และ NFT มูลค่า 1.7 ล้านดอลลาร์ก็ถูกแฮ็กจากผู้ใช้ Opensea
การโจมตีความเป็นส่วนตัวและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์ จากการศึกษาของ Harvard Kennedy School สิงคโปร์อยู่ใน 20 อันดับแรกใน National Cyber Power Index เป็นประเทศที่เล็กที่สุดเมื่อพิจารณาจากเขตแดนและจำนวนประชากรที่รวมอยู่ใน 20 อันดับแรก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของสิงคโปร์ แต่ก็ยังทำให้สิงคโปร์เป็นเป้าหมายที่น่าสนใจ เนื่องจากการปรับโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นดิจิทัลอย่างลึกซึ้ง
"ปี 2022 เป็นปีแห่งความสำเร็จสำหรับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ประเทศต่าง ๆ ยกระดับกฎระเบียบเพื่อปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ก็เป็นปีแห่งการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่เช่นกัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในภาคส่วนใดหรืออุตสาหกรรมใด ธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องรู้ว่านักฉวยโอกาสคอยตามล่าข้อมูลของคุณอยู่ และจะพยายามแทรกซึมเครือข่ายของคุณด้วยทุกวิถีทางที่เป็นไปได้ การป้องกันที่ครอบคลุมโดยอิงจากข้อมูลภัยคุกคามเชิงลึกที่ดำเนินการได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น" นายวิทาลีกล่าวเสริม
เนื่องจากการโจมตีทางไซเบอร์ส่วนใหญ่เริ่มต้นจากอีเมลฟิชชิ่ง แคสเปอร์สกี้จึงแนะนำให้บริษัทต่างๆ ลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการให้ความรู้แก่ผู้ใช้อย่างละเอียดมากขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์
สอดคล้องกับทิศทางการทำธุรกิจของ บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ในฐานะเป็นผู้ให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology Solutions Provider : ITP ) โดย “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) เปิดเผยแผนการดำเนินธุรกิจในปี 66 บริษัทยังเน้นขยายธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างครบวงจร โดยเป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิม และเป็นการเพิ่มการบริการติดตั้งระบบป้องกันการแฮ็กข้อมูลทางธุรกิจและตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์
โดยบริษัททำธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ภายใต้บริษัท เอ็กซ์-ซีเคียว จำกัด (X-Secure Co.,Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย โดยเฉพาะลูกค้าจากภาคเอกชน และเริ่มทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกัน ยังมองหาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมทั้ง การขยายธุรกิจ โดยเน้นการทำ M&A กับบริษัทที่มีผลงานการดำเนินงานที่ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้
ขณะเดียวกันบริษัทยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานของภาครัฐขนาดใหญ่ โดยมีการเข้าประมูลงานทั้งของ TPS และในส่วนของบริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลงานและรอประกาศผลอีกหลายโครงการ
"ปีนี้ TPS ยังมุ่งมั่นในการทำผลงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลงานใหม่ โดยเฉพาะงานภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงการด้านสาธารณูปโภค และงานวางระบบภายใน ที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว รวมถึงการต่อยอดจากธุรกิจเดิม อย่าง ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รองรับความต้องการของลูกค้าในระบบไอทีและความปลอดภัยอย่างครบวงจร และด้วยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 1,369 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จึงมั่นใจว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนผลงานของปี 66 ให้เติบโตที่ 50% จากปีก่อน ได้อย่างแน่นอน" นายบุญสม กล่าว