ตามที่นักลงทุนไทยได้ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับตลาดทุนไทย โดยกระทรวงการคลังได้หาแนวทางและมาตรการยกระดับตลาดทุนไทยเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ซึ่งล่าสุดในวันที่ 27 มี.ค. 68 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ก็ได้มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
โดยรายละเอียดการแก้ไขเพิ่มเติมพ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ในครั้งนี้ จะเป็นการเพิ่มอำนาจให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือก.ล.ต. ในการทำคดีของ ก.ล.ต.และเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินงาน ซึ่งรายละเอียดจะมีอะไรบ้างรับชมได้ดังต่อไปนี้
1.การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบและการกำกับดูแลการขายหลักทรัพย์โดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์อยู่ในครอบครอง (การขายชอร์ต) โดยกำหนดห้ามผู้ลงทุนขายหลักทรัพย์จดทะเบียนโดยที่ยังไม่มีหลักทรัพย์นั้นอยู่ในครอบครอง (ขายชอร์ต) เว้นแต่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ต.ท. ประกาศกำหนดและกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืน พร้อมกับกำหนดหน้าที่ให้ Custodian และ Nominee Service รายงานข้อมูลผู้รับประโยชน์ที่แท้จริง ต่อ ก.ล.ต. และกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืน
2.การยกระดับการทำหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพในตลาดทุน เพิ่มความเข้มแข็งของบริษัทที่ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน เพิ่มอำนาจให้ ก.ล.ต. กำกับดูแลผู้ให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับตลาดทุน เช่น ผู้สอบบัญชี สำนักงานสอบบัญบัญชี ที่ปรึกษาทางการเงิน ผู้ประเมินมูลค่าทรัพย์สิน และบริษัทจัดอันดับเครดิต
3.การกำหนดสิทธิของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ให้ครอบคลุมมีอำนาจหน้าที่ให้ครอบคลุมถึงการดำเนินการแทนผู้ถือหุ้นกู้ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการ หรือล้มละลาย ในการับชำระหนี้และการดำเนินการอื่นใดที่จำเป็น โดยไม่ตัดสิทธิผู้ถือหุ้นกู้ที่จะดำเนินการเอง และกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ของผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ในการดำเนินการในคดีฟื้นฟูกิจการหรือล้มละลายให้ชัดเจน
4.การรายงานข้อมูลการก่อภาระผูกพันในหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. กำหนดหน้าที่ในการรายงานข้อมูลการก่อภาระผูกพันในหลักทรัพย์ในจำนวนที่มีนัยสำคัญ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการ ก.ต.ท.ประกาศกำหนด และกำหนดโทษหากมีการฝ่าฝืน และกำหนดให้ ก.ล.ต. เปิดเผยรายงานการก่อภาระผูกพันต่อประชาชนเป็นการทั่วไป
5.การเพิ่มมาตรการทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการกระทำความผิดและยับยั้งความเสียหายและการมอบหมายบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินที่ยึดอายัด เพิ่มมาตรการระงับยับยั้งการทำธุรกรรมของบริษัทจดทะเบียนที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าจะยักย้ายถ่ายเททรัพย์สิน เช่น การยับยั้งธุรกรรม ตั้งแต่ขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูลการกระทำความผิด หากพบข้อบ่งชี้ว่าบริษัทจดทะเบียนอาจร่วมทุจริตโครงการขนาดใหญ่หรือการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มผู้บริหาร เป็นต้น
6.ให้เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่อาจมีผลกระทบอย่างรุนแรง(high impact) ต่อความเชื่อมั่นในระบบตลาดทุนหรืออาจมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ, ให้พนักงานสอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือพนักงานสอบสวนคดีพิเศษหรือเจ้าหน้าที่คดีพิเศษมาสอบสวนคดี high impact ร่วมกับพนักงานสอบสวนของ ก.ล.ต. ได้ และให้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติงานที่ ก.ล.ต. เป็นการชั่วคราว (Secondment) เพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนคดี high impact
ยอดนิยม
_0.jpg)
โบรกฯ ชี้หุ้นไทยวันนี้ดิ่ง 3% คาดอสังหาฯ ประกัน โดนหนัก เตือนอย่าแพนิค รัฐฯ มีแผนฟื้นฟู
_0.jpg)
ผลกระทบจากแผ่นดินไหว เคราะห์ซ้ำหุ้นกลุ่มอสังหาฯ อาจลามไปสู่การโอน-ยกเลิกการจอง
%20copy_0.jpg)
ITD สาหัส! ราคาดิ่งฟลอร์ เซ่นพิษสำนักงาน สตง. ถล่ม กระทบความเชื่อมั่น แนะเลี่ยงลงทุน
%20copy_0.jpg)
หุ้นไทยเปิดดิ่ง 20 จุด ก่อนรีบาวด์ แบงก์ชาติ-ก.ล.ต.-ตลท.แถลงฟื้นความชื่อมั่น ส่วนโบรกฯ มองแผ่นดินไหวกระทบระยะสั้น
%20copy_0.jpg)