Talk of The Town

Trade War 2.0 ภัยคุกคาม หรือแค่ขู่? สร้างอำนาจต่อรองให้กับสหรัฐฯ


01 เมษายน 2568

จับตา Trade War 2.0 เป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลก หรืออาจเป็นเพียงการสร้างอำนาจต่อรองให้กับสหรัฐฯ โดยล่าสุด Donald Trump ได้ประกาศว่าอาจมีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางชนิดจากจีน เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการเจรจาต่อรองในการซื้อ Tiktok

Trade War 2.0_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า Trade War 2.0 เป็นหนึ่งในความเสี่ยงสำคัญที่นักลงทุนทั่วโลกให้ความสำคัญในตอนนี้ เนื่องจากการที่สหรัฐฯจัดเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศคู่ค้าจะส่งผลให้ต้นทุนในการบริโภคสินค้าของประชาชนในประเทศเพิ่มสูงขึ้น

นอกจากนี้ประเทศผู้ส่งออกก็จะได้รับผลกระทบจากจำนวนคำสั่งซื้อจากสหรัฐฯที่จะมีแนวโน้มที่ลดลง หรือผู้ส่งออกจำเป็นต้องลดราคาเพื่อชดเชยส่วนต่างภาษีที่เพิ่มขึ้น และผลกระทบต่อมาคือผู้ผลิตและส่งออกมีแนวโน้มที่จะต้องลดกำลังการผลิตลง ซึ่งอาจส่งผลให้ GDP ของประเทศผู้ผลิตและส่งออกเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง หรือในกรณีที่แย่ที่สุดอาจจะส่งผลให้ GDP ของประเทศนั้นๆติดลบ

ความไม่ชัดเจนของการดำเนินนโยบายของคุณ Donald Trump ส่งผลให้แผนการเพิ่มกำลังการผลิตของบริษัทฯต่างๆต้องชะงักตัวลง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลง ซึ่งเประเมินว่า Trade War 2.0 จะมีความชัดเจนมากขึ้นตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. 2568 เป็นต้นไป และได้รวบรวมรายละเอียดการประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าของ Donald Trump โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.ทุกประเทศ –เหล็ก และ อลูมิเนียม บนอัตราภาษี 25% มีผลบังคับใช้วันที่ 12 มี.ค. 2568

2.ทุกประเทศ –ชิ้นส่วนยานยนต์, รถยนต์ บนอัตราภาษี 25% และ อาหาร, ยาและสินค้าเกษตร (ยังไม่กำหนดอัตราภาษี) มีผลบังคับใช้วันที่ 2เม.ย. 2568

3.ยุโรป –สินค้าทุกชนิด บนอัตราภาษี 25% มีผลบังคับใช้วันที่ 2เม.ย. 2568

4.จีน –สินค้าทุกชนิด ปรับอัตราภาษีขึ้น 10% มีผลบังคับใช้วันที่ 4 มี.ค. 2025 และปรับขึ้นอีก 10% มีผลบังคับใช้วันที่ 2เม.ย. 2568

5.แคนาดา และ เม็กซิโก –สินค้าทุกชนิดที่ไม่อยู่ในพันธสัญญา USMCA โดยมีอัตราภาษี 25% ยกเว้น พลังงานของแคนาดาและโพแทซ (10%)โดยจะมีผลบังคับใช้วันที่ 4 มี.ค. 2025 ขณะที่สินค้าที่อยู่ภายใต้ USMCA จะเรียกเก็บภาษีที่ระดับ 25% ในวันที่ 22พ.ย. 2568

รวมถึงมีแผนที่จะประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าเกษตร, รถยนต์, ยา และ ชิ้นส่วน Electronic ในวันที่ 2 เม.ย. 68 และมีแผนที่จะประกาศขึ้นภาษีนำเข้าที่ยังไม่มีกำหนดการ อาทิ ทองแดงและไม้, ภาษีเท่าเทียม (Reciprocal Tariffs)และ ภาษีนำเข้าสินค้าทุกชนิดจากยุโรป 25%

อย่างไรก็ดี แคนาดา จีน และยุโรปมีมาตรการตอบโต้สหรัฐฯ โดยมีรายละเอียดดังนี้

แคนาดา ได้กำหนดภาษี 25% สำหรับสินค้าสหรัฐฯ มูลค่าประมาณ 100พันล้านดอลลาร์ ขณะนี้แคนาดาและเม็กซิโกอยู่ระหว่างการเจรจากับสหรัฐฯ และมีแนวโน้มว่าจะมีการบรรลุข้อตกลงประนีประนอมกับทั้งสองประเทศในเร็วๆ นี้ ซึ่งอาจเป็นการปูทางไปสู่การทบทวนข้อตกลง USMCA ในปี 2569 และการเจรจาใหม่

จีนกำหนดภาษีตอบโต้ 10-15% สำหรับสินค้าเกษตรของสหรัฐฯ ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 มีนาคม รวมทั้งควบคุมการส่งออกและจำกัดการเข้าถึงตลาดสาหรับบริษัทสหรัฐฯ กว่า 20 แห่ง ประกอบกับยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ต่อภาษีเพิ่มเติมของสหรัฐฯ และกาหนดภาษี 15% สำหรับการนำเข้าพลังงานจากสหรัฐฯ และ 10% สำหรับน้ำมันและอุปกรณ์การเกษตรของอเมริกา และควบคุมการส่งออก Rare Earth

ยุโรป ประกาศเตรียมเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯมูลค่า 2.6 หมื่นล้านยูโรฯ แต่ได้มีการชะลอการเก็บภาษีดังกล่าวไปจนถึงกลางเดือน เม.ย. เพื่อเปิดช่องทางในการเจรจากับสหรัฐฯ

นอกจากนี้ทีมงานของประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศว่าจะมีการเก็บภาษีนำเข้าจาก 15 ประเทศ ที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ แทนการประกาศทุกประเทศทั่วโลกพร้อมกัน โดยรัฐมนตรีคลัง Scott Bessent เรียกกลุ่มประเทศเหล่านี้ว่า “Dirty 15” แม้ว่าทางการสหรัฐฯจะยังไม่ได้เผยแพร่รายชื่ออย่างเป็นทางการ แต่คาดว่าประเทศที่อยู่ในเป้าหมายนั้นจะใกล้เคียงกับรายชื่อที่สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ระบุไว้ในประกาศ Federal Register ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่าจะประกาศรายละเอียดที่ชัดเจนในวันที่ 2เม.ย. 2568

อย่างไรก็ดี การประกาศนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าของ Donald Trump อาจเป็นเพียงการสร้างอำนาจต่อรองให้กับสหรัฐฯ โดยล่าสุด Donald Trump ได้ประกาศว่าอาจมีการยกเว้นการเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าบางชนิดจากจีน เพื่อเป็นข้อแลกเปลี่ยนสำหรับการเจรจาต่อรองในการซื้อ Tiktok และต้องการขยายเวลาที่จะสิ้นสุดในวันที่ 5 เม.ย. ที่ทางการสหรัฐฯจะแบน Tiktokออกไป เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการซื้อขาย Tiktokในสหรัฐฯให้กับบุคคลที่ไม่ใช่ชาวจีนได้สำเร็จ ซึ่งอาจเห็นการนำนโยบายภาษีที่ Donald Trump เรียกเก็บจากประเทศต่างๆมาใช้ในการเจรจาต่อรองเพื่อแลกเปลี่ยนกับผลประโยชน์บางอย่างที่ Donald Trump ต้องการได้

การดำเนินนโยบายที่มีความไม่แน่นอน และส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้างของ Donald Trump รวมถึงสร้างความกังวลให้กับประชาชนและนักลงทุนทั่วโลกสูงเป็นประวัติการณ์สะท้อนจาก Global Economic Policy Uncertainty Index ทำระดับสูงสุดใหม่

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดาเนินนโยบายการเงินทั่วโลก โดยเฉพาะธนาคารกลางญี่ปุ่น (BoJ) ที่เป็นธนาคารกลางของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่เพียงประเทศเดียวที่ยังคงดาเนินนโยบายแบบการเงินแบบตึงตัว (ขึ้นอัตราดอกเบี้ย) ที่จาเป็นต้องพิจารณาถึงผลกระทบของ Trade War ให้ดีก่อนการตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ย โดยเฉพาะล่าสุดที่ Donald Trump ได้ประกาศขึ้นภาษีนาเข้ารถยนต์, รถบรรทุกขนาดเล็ก และชิ้นส่วนจากทุกประเทศทั่วโลก โดยผู้ที่จะได้รับผลกระทบสูงสุดได้แก่ เม็กซิโก ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และเยอรมัน

นอกจากนี้การดำเนินนโยบายของ Donald Trump (Trade War 2.0, การควบคุมผู้อพยพ, การลดจำนวนข้าราชการ,ฯลฯ) กำลังกดดันภาคการบริโภคในสหรัฐฯ สะท้อนจาก

1.ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (U.S. CB Consumer Confidence) ทำระดับต่ำสุดตั้งแต่ ม.ค. 2564 และดัชนีความคาดหวัง (Expectation Index) ทาระดับต่าสุดในรอบ 12 ปี อยู่ที่ระดับ 65.2 จุด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ที่ 80 จุด และมักบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

2.Wealth Effect -ปัจจุบันประชากรสหรัฐฯมีสัดส่วนสินทรัพย์อยู่ในตลาดหุ้นสูงถึง 65% ของสินทรัพย์ทั้งหมด เป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่ตลาดหุ้นสหรัฐฯกาลังปรับตัวลง ปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลให้ประชาชนมีความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยน้อยลง (Wealth Effect)

3.GDPNow–ล่าสุด GDP Now ประเมินอัตราการเติบโตของ GDP ไตรมาส 1/2568 ของสหรัฐฯไว้ที่ -1.8% แต่หากหักการนาเข้า-ส่งออกทองคำ GDP ไตรมาส 1/2568 ของสหรัฐฯจะอยู่ที่ 0.2% โดยภาคการบริโภค (PCE) จะขยายตัวเพียง 0.5%

4.ยอดค้าปลีก –ยอดค้าปลีกเดือน ก.พ. 2568 เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนก่อน ซึ่งเป็นการฟื้นตัวจากการหดตัว -1.2% ในเดือน ม.ค. 2568 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 0.6% ซึ่งแม้ว่า Core Retail Sales จะรายงานออกมาที่ขยายตัว 1%MoM ดีกว่าที่ตลาดคาด แต่สินค้ากลุ่มอาหารมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว อาทิ ผักผลไม้จากเม็กซิโก ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น